ที่มา: รัสมิ์ภูมิ สุเมธีวิทย์
ฟิลเลอร์เสริมสร้างกระดูกให้หนาขึ้น มองอีกมุม ซึ่งมีรายงานการศึกษา พูดถึงการฉีดฟิลเลอร์ที่ผิวกระดูก จะส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างกระดูกใหม่ ทำให้กระดูกหนาขึ้น กับผลลัพธ์อีกด้าน จากการฉีดฟิลเลอร์อยู่ได้ยาวนานมีทั้งที่ศึกษาในหนู และศึกษาในคนด้วย

ยกตัวอย่าง การศึกษาของมหาวิทยาลัย Marmara ที่ตุรกี โดยการฉีดฟิลเลอร์ HA ในหนู พบว่าฟิลเลอร์ HAทำให้กระดูกเกิดการเสริมสร้างหนาตัวขึ้น หรือเกิดการสร้างกระดูกใหม่ ซึ่งมีทฤษฎีอธิบายเอาไว้ชัดเจน

 

ฟิลเลอร์เสริมสร้างกระดูกให้หนาขึ้น จากผลงานการศึกษาของแพทย์ประเทศญี่ปุ่น

ส่วนการศึกษาในคนนั้น  มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศ โดย คุณหมอ Takanobu Mashiko และคณะ ทำการศึกษาการฉีดฟิลเลอร์ HA หรือ Hyaluronic acid สัมผัสที่กระดูก และทำ MRI ก่อนทำและหลังทำ และทำการติดตามผลยาวนาน 12-93เดือน โดยทำในคนทั้งหมด 63คน (ไม่ใช่แค่ 1 คน) และฉีดตามตำแหน่งต่างๆ บนใบหน้า ทั้งหน้าผาก จมูก โหนกแก้ม ใต้ตา คาง เป็นต้น จำนวนรวมกัน 97 ตำแหน่ง

ฟิลเลอร์เสริมสร้างกระดูกให้หนาขึ้น

พบว่าฟิลเลอร์สามารถแก้ปัญหาความบกพร่องบนใบหน้าได้ยาวนานมาก เป็นเวลาหลายปี หรืออย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป ก็ยังได้ผลดีอยู่ เพราะว่ามีการเสริมสร้างกระดูกตรงตำแหน่งที่ฉีดฟิลเลอร์ลงไป ทำให้กระดูกหนาขึ้น เพราะเกิดการสร้างกระดูกใหม่ ( ossification) มีรูปคนไข้ ก่อนฉีด, หลังฉีดทันที และรูปที่ติดตามผลไปอย่างน้อย 12 เดือนดังกล่าว รวมทั้งมีรูป MRI ชัดเจน ทั้งตอนก่อนฉีด , และหลังฉีดไปยาวนานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป ( มีรูปฟิล์ม MRI ครบทั้งก่อนฉีด และหลังฉีด) พบว่ามีการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นจริงที่ตำแหน่งที่ฉีดฟิลเลอร์ไป ทำให้ผลที่ดีจากการฉีดฟิลเลอร์เพื่อเติมเต็ม ยังส่งผลดีจากกระดูกที่สร้างใหม่ ทั้งที่ฟิลเลอร์สลายไปจนเกือบหมดแล้วก็ตาม

ฟิลเลอร์เสริมสร้างกระดูกให้หนาขึ้น

ในการศึกษา ยังได้อธิบายการฉีดฟิลเลอร์ที่ตำแหน่งขนกระดูก (อย่างที่เราทำการรักษาคนไข้อยู่โดยส่วนมาก) ส่งผลให้กระตุ้น stem cells ที่เยื่อหุ้มกระดูก จึงเสริมสร้างกระดูกใหม่ (สาเหตุหนึ่งที่หน้าเราตกลง เพราะกระดูกเราทรุดตัวลง ดังนั้นถ้าอะไรทำให้กระดูกเรากลับมาหนาขึ้น ก็น่าจะส่งผลดีกับการยกพยุงหน้าด้วย) แล้วทำไมถึงขัดแย้งกับ คำพูดของแพทย์ท่านหนึ่ง ที่ลงว่าเจอคนไข้รายนึงที่เคยฉีดฟิลเลอร์ไป 7 ปี ทำ CT พบว่ามีกระดูกที่คางบุ๋ม และใช้คำว่ากินกระดูก?

ข้อสังเกตจากกรณีที่บอกว่าฉีดฟิลเลอร์แล้วกระดูกทรุดตัว

  • ไม่มีรูป MRI เมื่อ 7 ปีก่อนฉีด จึงไม่สามารถทราบได้เลยว่าเมื่อก่อนฉีดกระดูกคางไม่ได้เป็นแบบนี้แต่แรก
  • เคสนี้เกิดขึ้นกับคนไข้รายนี้ไม่สามารถบ่งบอกข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ คนทั่วโลกมีคนฉีดฟิลเลอร์น่าจะหลักหลายสิบล้านคน ในเมืองไทยก็น่าจะมีหลักแสนคน แต่ยังไม่เจอปัญหาแบบนี้ หากจะระบุให้ชัดเจนควรทำการศึกษาวิจัย กับคนที่เคยฉีดฟิลเลอร์ไปทำ CT ว่าเป็นแบบนี้จริงหรือไม่ ถ้ามีอย่างนี้จริง สักอย่างน้อย 10-30% จึงค่อยสรุปผล
  • ใช้คำว่ากินกระดูกนั้นอาจจะดูน่ากลัว ถ้ากินกระดูก cortex หรือผิวกระดูกต้องหายไปจนถึงเนื้อกลางกระดูกแล้ว แต่ในรูป Cortex ยังดีอยู่ 
  • คนไข้ที่คางเป็นแบบนั้น อาจจะเป็นจากสาเหตุอื่นๆได้เช่นกัน 
  • ข้อสังเกตุถ้ากระดูกคางที่บุ๋มไปเกิดจาก pressure effect จากฟิลเลอร์จริง แล้วการผ่าตัดใส่วัสดุเสริมคาง หน้าผากกัน ไม่ยิ่งกดกระดูกเดิมบุ๋มไปกว่าหรือเพราะแข็งกว่าฟิลเลอร์เยอะ

ฟิลเลอร์เสริมสร้างกระดูกให้หนาขึ้น

จากกรณีดังกล่าว การฉีดฟิลเลอร์นั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ที่จะรับบริการก็ต้องทราบข้อมูลทั้งสองด้าน ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาเสนอก็ควรมีหลักฐานชัดเจน เช่น มีคนไข้เป็นแบบนี้จำนวนมาก หรือมีการศึกษาที่ได้รับการยอมรับ อย่างเช่นกรณีนี้ของมหาวิทยาลัยโตเกียว มีรูปก่อนหลัง มีการศึกษาในกลุ่มคนจำนวนมากพอควร 

••••••••••••••••••••••••

ผู้คนยุคดิจิตอลได้รับข้อมูลข่าวสารตลอดเวลาผ่านหน้าจอ และด้วยปริมาณข้อมูลมหาศาลที่ล้นทะลักอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้หลายคนตั้งหลักรับข้อมูลข่าวสารไม่ทัน การไม่ได้ตั้งสติในการอ่านข้อมูลข่าวสาร ทำให้เราพลั้งเผลอเชื่อ และแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นเราต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจเชื่อ หรือแชร์อะไรใด ๆ ว่าส่วนไหนคือข้อเท็จจริง สิ่งที่เราควรเตือนตัวเองก่อนตัดสินใจก็คือ ข้อมูลย่อมมีมุมมองจากหลายด้านเสมอ ทั้งด้านของผู้กระทำ ด้านของผู้ถูกกระทำ และด้านของผู้เห็นเหตุการณ์นั่นเอง จากบทความนี้จึงขอฝากให้คนที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ทุกคนได้ศึกษาหาข้อมูลให้ดี ๆ เพราะการฉีดฟิลเลอร์เองนั้นก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย มีทั้งสวยงาม และผิดพลาด เหมือนเหรียญมีสองด้านนั่นเองค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก FB :  รัสมิ์ภูมิ สุเมธีวิทย์ 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

 

 

ป้ายกำกับ:

เรื่องน่าสนใจ