ภาวะกระดูกพรุน โรคร้ายที่ส่งผลกระทบด้านลบทั้งร่างกาย จิตใจ และภาระทางสังคม เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สําคัญต่อประชากรในหลายประเทศ มีแนวโน้มจะเป็นปัญหามากขึ้นในอนาคต เนื่องจากประชากรของโลกมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น จากการสํารวจพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศทางทวีปยุโรป มีผู้ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนจํานวนมากถึง 75 ล้านคน ทําให้รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นจํานวนเงินมากกว่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และในประเทศไทย ได้มีการสํารวจผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน พบว่า อุบัติการณ์ของกระดูกสะโพกหัก จากโรคกระดูกพรุนในอายุมากกว่า 45 ปีมีจํานวน 7.05 คนต่อ ประชากร 100,000 คนเลยทีเดียว
ในคนปกติ ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในอายุระหว่าง 30 – 35 ปี โดย ร้อยละ 90 ของความหนาแน่นของเนื้อกระดูก จะมีค่าสูงสุด (Peak bone mass) ก่อนอายุ 20 ปีและอีก ร้อยละ 10 ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะเพิ่มสูงสุดในอายุระหว่าง 20-35 ปี หลังจากนั้น ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะเริ่มลดลงทั้งในหญิงและชาย โดยจะลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 6-8 ทุกๆ 10 ปี
แต่ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจําเดือน อัตราการลดลงของความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ช่วยพยุงความหนาแน่นของเนื้อกระดูกไว้ โดยที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกในหญิงวัยหมดประจําเดือน อาจลดลงถึงร้อยละ 5-10 ต่อปี
ผลของการเป็นโรคกระดูกพรุน ทําให้เราต้องประสบกับอาการปวดบริเวณกระดูกอย่างเรื้อรัง และทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา คือกระดูกหักได้ง่าย แม้ว่าจะถูกระทบเพียงเล็กน้อย ซึ่งเมื่อเกิดภาวะกระดูกพรุน ร่วมกับกระดูกหักนั้น จะทําให้เรามีความทุกข์ทรมาน จากอาการปวดมากขึ้น มีการเคลื่อนไหวลําบาก ทําให้ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เพิ่มภาระให้แก่สมาชิกในครอบครัว จะเห็นได้ว่า การป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และ ภาระทางสังคมด้วย
ภาวะกระดูกพรุน สามารถป้องกันได้ และเป็นสิ่งที่ผู้หญิงควรให้ความสนใจ โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการเกิดโรค กระดูกพรุน เช่น งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ชา กาแฟ ไม่ทานอาหารเค็มจัด หลีกเลี่ยงการใช้ ยาพวกสเตียรอยด์ ร่วมกับการทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลซียมสูง รวมทั้งการออกกําลังกายที่มีการลงน้ําหนักอย่างสม่ำเสมอ
โรคกระดูกพรุนในผู้หญิง เริ่มพบรายงานครั้งแรกในวารสารทางการแพทย์โดยอัลไบรท์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของกระดูก และได้บัญญัติคําว่า กระดูกพรุน (osteoporosis) ขึ้นมา โดยกล่าวถึงโรคกระดูกพรุนว่า เป็นผลมาจากการ เอสโตรเจนในร่างกายผู้หญิง ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะหมดประจําเดือน และพบว่าโรคนี้ตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่มีผลให้ผู้หญิง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ คือ
ผู้หญิงที่อายุมากขึ้น มวลกระดูกจะลดลง เนื่องจากร่างกายมีการสะสมความหนาแน่นของเนื้อกระดูกได้สูงสุดที่อายุประมาณ 30-35 ปี และจะมีการคงไว้ในช่วง 10-15ปี เมื่ออายุประมาณ 35 ปีขึ้นไป กระดูกจะเริ่มบาง และเนื้อกระดูกหรือมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆ เฉลี่ยกระดูกจะบางลงเมื่ออายุ 45-50 ปี ประมาณ 3-8% อายุ 51-65 ปี ประมาณ 20-30% อายุมากกว่า 65 ปี กระดูกหักและทรุดง่าย ความหนาแน่นของกระดูกที่บริเวณกระดูกสันหลังไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในเวลา 2 ปี แต่ความหนาแน่นของกระดูกที่บริเวณกระดูกสะโพก ลดลงประมาณร้อยละ 3.9 และในเวลา 2 ปี ไม่พบว่าน้ําหนักตัวมีความสัมพันธ์กับจํานวนปีที่หมดประจําเดือน หรือระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ยังเหลืออยู่หลังหมดประจําเดือนมี
พบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ เพราะผู้หญิงมีมวลกระดูกน้อยกว่า นอกจากนี้ เมื่อถึงวัยหมดประจําเดือน จะเกิดการขาดฮอร์โมนเพศคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทําให้เซลล์สลายกระดูกทํางานเพิ่มขึ้น จึงเพิ่มการทําลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก และพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนทั้งหมด จะเป็นผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจําเดือน ประมาณ 1 ใน 2 และเป็นชาย ประมาณ 1 ใน 8
ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทําให้ไม่มีประจําเดือน ซึ่งสาเหตุของการขาดประจําเดือน อาจเกิดจากการมีโรค บางอย่าง เช่น การขาดประจําเดือนชนิดปฐมภูมิ ส่วนการขาดประจําเดือนชนิดทุติยภูมิ เกิดจากการออกกําลังกาย หรือเล่นกีฬาอย่างหนัก หรือมีความผิดปกติในการทานอาหาร เช่น ภาวะแอนอรีเซีย เนอเวอซ่าร์ (anorexia nerversa) และ เบอรีเมีย เนอเวอซาร์ (buremia nerversa) นอกจากนี้ อาจเกิดจากภาวะที่รังไข่เสื่อมหน้าที่ตามธรรมชาติ หรือจากรังสีรักษา และการตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
เชื้อชาติ และรูปร่าง หรือโครงร่างของร่างกาย มีความสัมพันธ์กับโรคกระดูกพรุน พบว่าผู้หญิงที่มีรูปร่างผอม มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้หญิงที่มีรูปร่าง อ้วนเตี้ย ทั้งนี้ เนื่องจากมีมวลกระดูกน้อย และมีปริมาณไขมันน้อยกว่าคนอ้วน จึงมีอัตราการสูญเสียมวลกระดูกได้มากกว่าคนอ้วน ทําให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้มากกว่า
ที่มีผลให้ร่างกายขับแคลเซียม ไปใช้ในกระบวนการสร้างและสะสมความหนาแน่นของเนื้อกระดูกได้ลดลง ได้แก่ การได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อย เนื่องจากแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สําคัญของเนื้อกระดูก หากร่างกายได้รับแคลเซียมน้อย มีผลให้สมดุลของระดับแคลเซียมในกระแสเลือดเปลี่ยนแปลงไป ทําให้กระบวนการสร้างและสะสมความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงได้ นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา และกาแฟ จะมีผลให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเป็นประจํา จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมที่ลําไส้ และเป็นอันตรายต่อเซลล์ออสติโบลาส ที่ทําให้เกิดกระบวนการสร้างกระดูก รวมทั้งยังทําให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น
จะมีผลทําให้ร่างกายนําแคลเซียมไปใช้ได้ไม่เต็มที่
ที่เพิ่มอัตราการสลายเนื้อกระดูก และยาที่ลดการดูดซึมแคลเซียมในลําไส้เป็นประจํา เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ที่มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ ยากันชัก ในโรคลมบ้าหมู ยาปฏิชีวนะชนิดเตตราซัยคลิน ยารักษาโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ ยารักษาโรค เบาหวาน และยาเคมีบําบัดรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
……………………………………….
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และเลี่ยงพฤติกรรมที่ได้กล่าวมาข้างต้น อย่าลืมออกกําลังกายให้เหมาะสมตามวัย จะวิ่งเหยาะๆ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เล่นบาสเกตบอล เทนนิส กอล์ฟ โบว์ลิ่ง หรือเต้นรําก็ได้ เพราะสามารถช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อกระดูกได้ด้วยเช่นกัน และควรออกอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30-45 นาที
เนื้อหาโดย Dodeden.com
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่