ภาวะหนังตาตก จากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภาวะที่เป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพ และวิสัยทัศน์ในการมองเห็น เมื่อเป็นเเล้ว รักษาให้หายขาดได้ยาก เพราะเป็นโรคเรื้อรัง เพราะฉะนั้น เราจึงควรต้องศึกษาหาข้อมูล เพื่อที่จะสามารถดูแลตัวเองไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้ค่ะ
ภาวะหนังตาตก จากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นภาวะของภูมิคุ้มกันผิดปกติ ไปทําลายตัวรับสัญญาณประสาทที่อยู่บนกล้ามเนื้อของตัวเอง ทําให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากไม่สามารถรับสัญญาณประสาทที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ หากกล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรง ก็จะทําให้เกิดหนังตาตก หากกล้ามเนื้อตาที่ช่วยในการกลอกตาผิดปกติ ก็อาจจะทําให้เรามองเห็นภาพซ้อน อาการหนังตาตกและเห็นภาพซ้อนจะรุนแรงไม่เท่ากันในระหว่างวัน อาการจะแย่ลงในตอนเย็น หรือเมื่อเราอ่อนเพลีย
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้อย่างแน่ชัด มีการตั้งสมมติฐานว่า การกระตุ้นด้วยสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก เช่น ไวรัส อาจเป็นสาเหตุให้ระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง ไปทําลายตัวรับสัญญาณประสาทที่กล้ามเนื้อได้ อีกทั้งในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแต่ละมัด สมองต้องส่งสัญญาณประสาทไปตามเส้นประสาท และจะเกิดการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ สารสื่อประสาทนี้ จะไปส่งสัญญาณที่ตัวรับสัญญาณบริเวณกล้ามเนื้อแต่ละมัด เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว
คนที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) เมื่อปลายประสาทเกิดการหลั่งสารสื่อประสาทออกมา จะไม่สามารถส่งสัญญาณสู่ตัวรับบนกล้ามเนื้อได้ เนื่องจากร่างกายได้สร้างแอนติบอดี้มาขัดขวาง และทําลายตัวรับสัญญาณบนกล้ามเนื้อไป การออกแรงซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ จะทําให้อาการอ่อนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น กล้ามเนื้อที่ทํางานมาก ทํางานต่อเนื่องตลอดเวลา ก็จะแสดงอาการได้บ่อย เช่น กล้ามเนื้อเปลือกตา (ทําให้เกิดอาการหนังตาตก) และกล้ามเนื้อตา (ทําให้เกิดตาเหล่ เห็นภาพซ้อน) แต่อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายของเรา ก็สามารถเกิดความผิดปกติจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ทั้งหมดค่ะ
ในปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุของความผิดปกติ ของระบบภูมิคุ้มกันที่ไปทําลายตัวรับสัญญาณบนกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจน คนที่เป็นโรคนี้ ก็อาจพบความผิดปกติ และโรคจากภูมิคุ้มกันตัวเองชนิดอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น โรคตาจากไทรอยด์ (Thyroid-associated orbitopathy (TAO)) ซึ่งโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะสามารถดีขึ้นได้เอง แล้วอาจกลับเป็นซ้ำได้อีก คล้ายกับโรคภูมิคุ้มกันตัวเองชนิดอื่นๆ เมื่อเวลาผ่านไป บางคนก็อาจมีอาการดีขึ้น แต่บางคนก็อาจมีอาการอยู่หลายปี หรือตลอดไป
อาการแสดงที่ตรวจพบโดยจักษุแพทย์ได้บ่อยที่สุด คือ หนังตาตก และตาเหล่ การกลอกตาผิดปกติ บางคนก็อาจมีความผิดปกติของการกลอกตา นํามาก่อนการวินิจฉัยได้นานเป็นปี โดยที่ผลการตรวจร่างกายในการพบแพทย์ครั้งก่อนปกติได้
สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดทำศัลยกรรม และต้องทำกับศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น การทานยาที่มีฤทธิ์ลดการทําลายสารสื่อประสาทที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ก็สามารถช่วยลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่อาจช่วยลดอาการหนังตาตกและภาพซ้อนได้ไม่ดีนัก ส่วนการผ่าตัดต่อมไทมัส อาจมีประโยชน์สำหรับบางคนเท่านั้นค่ะ เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นมากที่จะต้องได้รับการตรวจหาภาวะต่อมไทมัสโตผิดปกติ ด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT chest) การใช้ยาสเตียรอยด์หรือยากลุ่มอื่นๆ ก็สามารถช่วยลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ แต่มักจําเป็นต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ระดับความรุนแรงของโรคที่เปลี่ยนไป ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์ที่จะได้รับ เปรียบเทียบกับผลข้างเคียงจากยา ก่อนตัดสินใจเริ่มยาเสมอด้วย
สิ่งสำคัญที่สุด คือเราต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากพบว่าหนังตาหรือชั้นตาเริ่มมีความปิดปกติ แตกต่างไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์เสมอ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาควบคุมโรคได้ผลดี จนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติค่ะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com