ที่มา: phyathai.com

ภาวะหนังตาตกในเด็ก เป็นภาวะที่ทำให้พัฒนาการการมองเห็นลดลง เป็นเหตุให้เกิดภาวะสายตาขี้เกียจตามมาได้

ภาวะหนังตาตกในเด็ก
                                                         ภาพจาก willandadrifindbabies

 

สาเหตุที่พบบ่อย
ความผิดปกติในการสร้างชั้นหนังตาตั้งแต่แรกเกิด (Congenital ptosis)
เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด สามารถเป็น 1 หรือ 2 ข้างก็ได้ ในกลุ่มนี้ นอกจากหนังตาตกแล้ว จะไม่มีชั้นของหนังตา หรือไม่มีตา 2 ชั้นนั่นเอง
ความผิดปกติของสารสื่อประสาท (Myasthenia gravis)
ลักษณะของหนังตาตกในกลุ่มนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา หากได้พักผ่อน เช่น หนังตามักตกในช่วงบ่าย หลังจากที่เด็กได้ใช้ตาเป็นเวลานาน และเมื่อได้นอนหลับตาพักผ่อน ตื่นมาหนังตาตกก็จะดีขึ้น

ภาวะหนังตาตกในเด็ก
                                                        ภาพจาก debrajshome.com


หนังตาตกเนื่องจากเส้นประสาทคู่ที่ 3 ผิดปกติ (Oculomotor nerve palsy)
พบได้ไม่บ่อยในเด็ก มักมีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลูกตา หรือตาเขร่วมด้วย และอาจมีความผิดปกติ ของระบบประสาทตำแหน่งอื่นด้วยเช่นกัน
หนังตาตกเนื่องจากเส้นประสาทที่ควบคุมผิดตำแหน่ง (Aberrant Jaw-winking ptosis)
ในกลุ่มนี้ มักมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น หนังตาตกจะดีขึ้นเวลาที่เด็กดูดนม ซึ่งเป็นภาวะที่พบไม่บ่อย

ภาวะหนังตาตกในเด็ก
                                                        ภาพจาก deskgram.org


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้
– การมองเห็นที่ผิดปกติ
– อาจบุคลิกภาพที่ผิดปกติ เช่น การแหงนหน้าเวลามองตลอดเวลา
– ภาวะตาเข
– ภาวะสายตาขี้เกียจในเด็ก

ภาวะหนังตาตกในเด็ก
                                                       ภาพจาก deyeryhttp://deyery.blogspot.com/


แนวทางการรักษา
รักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหนังตาตกนั้นๆ โดยจะประเมินตามอาการ, อายุ, ภาวะแทรกซ้อนในขณะนั้นร่วมด้วย ซึ่งการรักษาโรคหนังตาตกตั้งแต่กำเนิดมีดังนี้

  • รักษาโดยการไม่ผ่าตัด ใช้ในกรณีอาการเป็นไม่มาก เนื่องจากอาการดีขึ้นได้เอง โดยใช้การสังเกตอาการการปิดตาการวัดแว่นช่ว
  • รักษาโดยการผ่าตัด หากอาการเป็นมากจนบังการมองเห็นหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้นจะต้องใช้การรักษาโดยการผ่าตัดโดยการเย็บกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตาไว้กับกล้ามเนื้อบริเวณคิ้ว

อายุที่เหมาะสมในการผ่าตัด สามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป และการผ่าตัดสามารถทำซ้ำได้ หากมีหนังตาตกเพิ่มเติมในอนาคตค่ะ

เรื่องน่าสนใจ