ภาวะหัวใจสลาย อันตรายที่มีอยู่จริง ไม่ได้อยู่แค่ในท่อนเพลง! แต่อ่านถึงตรงนี้ คงไม่มีใครอยาก “หัวใจสลาย” กันหรอก เจ็บขึ้นมาทีนี่ ร้าวจนชีวิตเสียศูนย์กันเลยล่ะ แถมยังไม่หมดแค่นั้น อาการหัวใจสลายอาจทำร้ายเราถึงชีวิตได้ ไม่ต่างกับโรคหัวใจล้มเหลวเลย
ใครที่หัวใจเปราะบาง ช็อคกับเรื่องสะเทือนอารมณ์ได้ง่าย อาจต้องเร่งเสริมใยเหล็กให้หัวใจซะเเล้ว ก่อนที่อยู่ๆ จะล้มจึงไม่ทันตั้งตัว
อาการ Broken Heart Syndrome หรือหัวใจสลายนั้น มักเกิดขึ้นกับคนวัยกลางคนและผู้หญิงสูงวัย (เฉลี่ย 60 ปี) โดยจะมีอาการแบบเดียวกับโรคหัวใจล้มเหลว ชื่อก็บอกอยู่เเล้วว่าเกิดมาจากอารมณ์มากกว่าสาเหตุทางร่างกายแน่ๆ
สาเหตุของโรค เกิดได้เมื่อเราตกอยู่ในภาวะเครียด ไม่ว่าจะทางอารมณ์หรือเกิดจากสภาพร่างกาย โดยร่างกายจะหลั่งสารสื่อนำประสาทคาเตโคลามีน (Catecholamine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่ทำให้เรารู้สึกตื่นตัว ถ้ามีมากไป ระบบร่างกายจะเข้าข่ายอันตราย ความดันเลือดเพิ่มขึ้น อัตราเต้นหัวใจพุ่งสูง และในเคสที่ร้ายเเรงมากๆ เราจะเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก และมีอาการเหมือนภาวะหัวใจล้มเหลวเลยทีเดียว
อาการแบบนี้ เรียกอีกอย่างว่า “กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากความเครียด” มักเกิดขึ้นชั่วคราว เวลาที่เครียดหรือสะเทือนใจมากๆ โดยหลอดเลือดจะหดเกร็ง กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้น้อย จากการวิจัยจะพบว่า ระดับของฮอร์โมนคาเตโลมีนในผู้ป่วยภาวะหัวใจสลายนั้น สูงกว่าที่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวถึง 2-3 เท่า และมีฮอร์โมนดังหล่าวมากกว่าคนสุขภาพปกติประมาณ 7-34 เท่าเลยทีเดียว
จริงๆ เเล้ว อาการหัวใจสลายก็เหมือนกับอาการอกหักนั่นแหล่ะค่ะ คือส่วนใหญ่เเล้วไม่เป็นอันตรายถึงตาย (แต่ในบางรายก็เสี่ยงต่อชีวิตอยู่เหมือนกัน) ไม่ทำให้หัวใจเสียหาย และมักไม่ค่อยเกิดขึ้นซ้ำๆ แต่ถึงจะพบได้ยาก ก็ไม่ควรเครียดจัดจนเกิดอาการนี้ขึ้น เพราะเท่ากับปล่อยให้หัวใจทำงานหนักจนเอื้อให้อาการหัวใจล้มเหลวมาเยือนเร็วกว่าเดิม ดังนั้น เลิกวิตกกังวลจนแตกตื่นกันได้เเล้ว หันมาเผชิญปัญหาอย่างสงบและมีสติ ท่องไว้ว่า “ชิลล์ๆ” ดีที่สุด
ถ้าไม่อยากให้หัวใจสลาย ก็ต้องอย่าคิดมากเหมือนเพลงปาล์มมี่ ลองผ่อนคลาย สงบจิตใจ ครั้งหน้าถ้ามีเรื่องอะไรมากระทบใจให้ช็อค ให้ทำตามดังนี้
ถ้าใครรู้ตัวว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทางที่ดีควรไปพบคุณหมอและทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องกังวล จะช่วยต่ออายุหัวใจได้ยาวนานขึ้นค่ะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com