มะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะผู้ชายเมื่อย่างเข้าสู่วัย 40 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกายที่อาจเริ่มลดระดับลงไป เรียกว่า แอนโดรพอส (Andropause) คล้ายกับเพศหญิงในวัยที่จะหมดประจําเดือน (Menopause) แม้ว่าจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่อาจส่งผลทําให้มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งมักจะเป็นความรู้สึกที่บกพร่องในคุณภาพชีวิตไป หากไม่มีทัศนะคติอื่นใด หรือพลังชีวิตใดที่ดีกว่าเข้ามาทดแทนได้ทัน
แนวโน้มของความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามที่พบบ่อยขึ้น คือเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) ซึ่งเป็นโรคฮิตติดอันดับหนึ่งของชาวอเมริกันและกลุ่ม ชาวยุโรป สแกนดิเนเวีย ผู้ชายในอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะกลุ่มผิวดํา) มีสถิติผู้ป่วยใหม่ต่อปีมากกว่า 200,000 คน และสูญเสียชีวิตประมาณปีละเกือบถึง 30,000 คน ในขณะที่มะเร็งต่อมลูกหมากแต่เดิม พบไม่มากนักในประเทศทางเอเชีย ในประเทศไทยมีตัวเลขที่พบได้ประมาณ 4.4 : 100,000 ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามจาก ในปัจจุบันก็ยังตรวจพบผู้ป่วยมากขึ้นกว่าเดิม คาดว่าไม่ต่ำกว่าหนึ่งถึงสองพันรายต่อปีในโรงพยาบาลใหญ่ทั่วประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการติดตามกันอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการตรวจวินิจฉัยและการรักษาให้เหมาะสม รวมทั้งเรื่องของการระวังรักษาสุขภาพในเชิงการป้องกันด้วย
ต่อมลูกหมากโต
พบได้ในเพศชายอายุตั้งแต่ 40 ปี โดยเฉพาะเข้าอายุ 50-60 ปี ต่อมลูกหมากที่โตขึ้นนี้ จะกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง ทําให้มีอาการปัสสาวะผิดปกติ เช่นปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะ ขัด ใช้เวลาปัสสาวะนาน ไม่พุ่ง หรือออกเป็นหยดๆ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
เป็นโรคซึ่งพบในเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการหรืออาจจะมีอาการคล้ายโรคต่อมลูกหมากโต รวมทั้งปัสสาวะหรือน้ำอสุจิมีเลือดปน มะเร็งในระยะต้นสามารถตรวจพบได้เมื่อแพทย์ตรวจร่างกาย โดยสวมถุงมือคลำต่อมลูกหมากผ่านทางช่องทวารหนัก เมื่อมีการตรวจเช็กสุขภาพประจําปีหรือตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาระดับของค่า พีเอสเอ (: PSA เอนไซม์ต่อมลูกหมาก)
ต่อมลูกหมากอักเสบ
เป็นภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียของเนื้อต่อมลูกหมาก รวมทั้งจากเชื้อหนองในเทียม การอักเสบมักจะผ่านเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ส่วนน้อยผ่านทางกระแสเลือด บ่อยครั้งที่ตรวจไม่พบเชื้อใดๆ พบในกลุ่มอายุระหว่าง 30-40 ปีเป็นส่วนใหญ่
รู้ได้อย่างไรว่ามีปัญหา ?
ปกติในการตรวจวินิจฉัยโรคของต่อมลูกหมาก แพทย์จะสอบถามประวัติและอาการเพื่อแยกแยะทั้งสามโรคนี้ไปด้วยพร้อมๆ กับการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดโดยเฉพาะ PSA พีเอสเอ (อนไซม์ต่อมลูกหมาก) เหล่านี้ถือว่าเป็นการตรวจขั้นพื้นฐานทั้งสิ้น แพทย์ก็จะนํามาวินิจฉัย และวางแผนการตรวจรักษาที่เหมาะสมได้ต่อไป
……………………………………………………………….
เพราะฉะนั้น ต่อมลูกหมากจึงเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะเฉพาะในเพศชาย ที่มีความสําคัญในการระวังรักษาสุขภาพ เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม แต่กลับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และน่าเรียนเพื่อรู้ จะได้แบ่งปันความเอาใจใส่กันได้ทั้งครอบครัว
เนื้อหาโดย Dodeden.com