เนื่องด้วยจีนเป็นประเทศที่มีมีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม มีประชากรจำนวนมหาศาล ความแตกต่างระหว่างรายได้ และชนชั้นที่สูง ความแตกต่างด้านรายได้นี่เองที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นในกรณีของสิทธิความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์
อันเป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลเป็นเจ้าของในสินทรัพย์และที่ดินทั้งหมด โดยเฉพาะสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เหล็ก น้ำมัน และระบบการสื่อสารโทรคมนาคม รัฐบาลจีนมีสิทธิ์ในสินทรัพย์ดังกล่าวโดยชอบธรรม
[ บ้านบนถนนทางหลวงของเมือง Wenling ในปี 2012 ]
โดยชาวจีนที่ซื้อบ้านที่อยู่อาศัยหรือสินทรัพย์คงที่ต่างๆ จะเป็นในรูปแบบของการเช่าซื้อกับรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลกลางในระยะเวลา 70 ปี โดยในช่วงระยะเวลานี้เจ้าของมีสิทธิ์ในสินทรัพย์โดยชอบธรรม มีสิทธิ์ในการซื้อขาย
แต่หลังหมดสัญญา สินทรัพย์ดังกล่าวจะตกเป็นของรัฐบาลด้วยคำกล่าวอ้างที่ว่า บ้านที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป มีสภาพเก่าและเสื่อมโทรม ต้องทำการรื้อทิ้งเพื่อปลูกสร้างใหม่ โดยรัฐบาลจะทำการเวนคืนที่ดินให้กับผู้อยู่อาศัยแล้วทำการย้ายออก
ซึ่งในเขตเมือง รัฐบาลจะมีเงินช่วยเหลือให้เดือนละ 2,000 หยวน เป็นค่าเช่าบ้านในระหว่างที่รัฐสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ แต่สำหรับบางรายที่ไม่ต้องการย้ายออก เขามีสิทธิ์ในการคัดค้านเพื่อเรียกร้องสิทธิดังกล่าว โดยรัฐบาลอาจใช้วิธีในการดำเนินงานเป็น 2 วิธีหลัก ดังนี้
จ่ายเงินชดเชยเพิ่มเพื่อขอให้ย้ายออก ในกรณีนี้อาจมีปัญหาเกิดขึ้นกับพวกที่ย้ายออกไปแล้ว กลับมาเรียกร้องค่าชดเชยกับรัฐบาลกันเป็นขบวน
ใช้กำลังทหารหรือตำรวจเพื่อให้ย้ายออก โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาล
และเมื่อสร้างใหม่เสร็จแล้ว เจ้าของเดิมมีสิทธิ์เข้ามาซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดถึง 70-80% เลยทีเดียว
ดังนั้นจึงได้รวมภาพของบ้านชาวจีน ที่เจ้าของดื้อไม่ยอมย้ายออก แม้ว่าจะโดนเวนคืนที่ดินไปแล้วก็ตาม หรือที่เรียกกันว่า Nail house (钉子户) นั่นเอง
[ บ้านที่อยู่ตรงกลางระหว่างตึกสูง ณ เมือง Zaozhuang ซึ่งโดนตัดน้ำตัดไฟเป็นเวลา 4 ปี แล้ว ตั้งแต่ปี 2009-2013 ]
[ มหานครฉงชิ่ง ]
[ บ้านที่อยู่ติดกับทิศเหนือของสถานีรถไฟเซินเจิน แห่งเมืองเซินเจิน ]
ที่มา – IO9