กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ หลังจากสมาชิกเฟซบุ๊คท่านหนึ่งได้โพสต์เรื่องราวที่แฟนสาวได้ไปทำศัลยกรรมทุบโหนกแก้มหรือวีไลน์กับคลินิกแห่งหนึ่ง แต่ต้องมาเสียชีวิตระหว่างการผ่าตัด ซึ่งผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า เมื่อคืนวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุทางการผ่าตัด

เนื่องด้วยระหว่างผ่าตัดหญิงหรือเฟิร์นอันเป็นที่รักของครอบครัวได้มีไข้ขึ้นสูง มีอาการความดันต่ำ จากภาวะ Malignant Hyperthermia เป็นภาวะที่ไม่พึงประสงค์

22

ทางแพทย์และพยาบาลได้พยายามยื้อชีวิตอย่างสุดความสามารถแล้ว แต่ไม่เป็นผล เฟิร์นได้จากไป ทั้งนี้จะมีการนำร่างไปบำเพ็ญกุศลที่บ้าน อ.แม่อาย หลังจากเรื่องราวถูกเผยแพร่มีผู้คนร่วมแสดงความเสียใจเป็นจำนวนมาก กับการจากไปของหญิงสาว

และสมาชิกเฟซบุ๊คท่านหนึ่งได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หญิงสาวคนนี้ได้เดินทางไปรอทำศัลยกรรมตั้งแต่วันอังคารที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อเอาคางที่เสริมออกแล้วทำวีไลน์และตัดโหนกแก้ม ซึ่งมีกำหนดการทำเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา แต่เธอได้เสียชีวิตระหว่างการผ่าตัด

12

ทั้งนี้ สื่อหลายแห่ง รวมทั้ง www.dodeden.com  ได้นำเสนอข่าว พร้อมทั้งขอแสดงความเสียใจกับทางครอบครัวในการจากไปของคุณเฟิร์น และขอให้กรณีนี้เป็นบทเรียนและเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่คิดจะทำศัลยกรรมต่อไป

ภาวะ Malignant Hyperthermia หรือ MH เป็นภาวะเกี่ยวข้องกับการชะงักลมหายใจ จากการวางยาสลบในขั้นตอนศัลยกรรมปฏิกิริยาสนองของร่างกายต่อโรคนี้ก็คือ การที่กล้ามเนื้อเกิดการหดรัดแน่น ที่มาจากเซลล์กล้ามเนื้อเกร็ง มีไข้สูง และกล้ามเนื้อหยุดทำงาน แม้ว่าจะเป็นภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ ในอีกทางหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่าต้องขึ้นอยู่กับความโชคร้ายของแต่ละบุคคล เพราะการที่กลไกในร่างกายหยุดทำงานนั้น ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ดังเช่นในรายงานเมื่อปี 1960 และ 1970 ที่มีประชากรร้อยละ 80 เสียชีวิตเพราะภาวะ MH แต่ปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 10 เนื่องจากมีการแพทย์พัฒนารุดหน้าไปมาก จึงสามารถรับมือกับความเสี่ยงของภาวะ MH ที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะ Malignant Hyperthermia คืออะไร

Malignant Hyperthermia (MH) หรือการแพ้ยาสลบ เป็นภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองผิดปกติกับยาสลบ ส่งผลต่อกลไกต่างๆ ในร่างกาย เช่น ร่างกายมีอุณหภูมิความร้อนสูงจัด กล้ามเนื้อเกร็งทั่วทั้งร่างกาย หรือมีภาวะเลือดเป็นกรดเป็นต้น ซึ่งผลจากความผิดปกติเหล่านี้ สามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ภาวะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงหากพบว่าคนในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกันกับ คนไข้มีประวัติการเกิดภาวะ MH มาก่อน

สำหรับกลุ่มยาระงับความรู้สึก ที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภาวะ MH คือ ยาในกลุ่ม Sevoflurane, Desflurane, Isoflurane, Halothane, Enflurane และ Methoxyflurane กลุ่มยาระงับความรู้สึกเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ซึ่งไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่มีประสาทสัมผัสไว เพราะฤทธิ์ของยาจะตรงเข้าชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อ ดังนั้น หากคนไข้มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะเกิดภาวะ MH ก็ควรใช้วิธีฉีดยาชาเฉพาะที่ฉีดยาชาบล็อกหลัง หรือใช้ยาชนิดหยดเข้าเส้นเลือด TIVA (Total Intravenous Anesthesia)

กระบวนการของภาวะ MH ที่นำไปสู่การเสียชีวิต

ตาม กระบวนการภายในร่างกายที่มีปฏิกิริยาภาวะ MH ถือว่าเป็นภาวะที่ร่างกายไวต่อการตอบสนองของการสร้างโปรตีนในเซลล์กล้าม เนื้อ เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายแคลเซียมที่ก่อให้เกิดการชะงัก การสร้างโปรตีนร่างกายต้องดึงแคลเซียมออกมาใช้ทดแทนโปรตีนที่สูญเสียไป มีการเร่งสูบฉีดเลือดเพื่อกระตุ้นระดับโปแตสเซียมและโปรตีนให้ร่างกายนำไป สร้างเป็นพลังงาน ปฏิกิริยาเร่งแบบนี้มีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ ดึงไปหล่อเลี้ยงสมองไม่ทัน เนื่องจากมีเลือดคั่งที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งอย่างรุนแรง เมื่อระบบไหลเวียนโลหิตที่มีปัญหา ย่อมส่งผลให้อวัยวะไตหยุดทำงานระบบต่างๆ ในร่างกายก็ชะงักลง ส่งผลให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อัตราเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคนไข้ศัลยกรรม

ใน ทฤษฎีทางการแพทย์ก็มีรายงานระบุว่าความผิดปกติทางพันธุกรรมที่นำไปสู่ภาวะ MH มีอย่างน้อย 80 รายการ แต่กลับมีเพียงผลเดียวที่จะนำมาเป็นข้อสรุปได้คือ มันมีอัตราเสี่ยงต่ำในการเกิดขึ้นกับคนไข้อีกทั้งไม่มีรูปแบบตายตัวแน่นอน และไม่มีรายงานที่บ่งชี้ถึงรูปแบบการตรวจหาภาวะ จากผลการวิจัยล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนปี 2008 ตีพิมพ์ลงในวารสาร Anesthesiology ของสหรัฐฯเผยว่า ภาวะ MH เกิดขึ้นจากการที่เซลล์กล้ามเนื้อหยุดทำงาน

แนวโน้มการรักษาเมื่อเกิดภาวะ Malignant Hyperthermia

หาก คนไข้มีอาการเข้าข่ายภาวะ Malignant Hyperthermia  ศัลยแพทย์สามารถทำการรักษาอาการเบื้องต้นได้ โดยการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยยา Dantrolene ที่มีคุณสมบัติทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว โดยการยับยั้งการปล่อย calcium จาก sarcoplasmic reticulum เป็นผลให้ลดความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวิสัญญีแพทย์ในประเทศไทย ทำให้ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในเรื่องการจัดหาและนำเข้าตัวยา Dantrolene อีกทั้งบางครั้งตัวยา Dantrolene ที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้ก็ขาดแคลน เนื่องจากยามีอายุเพียง 2 ปีเท่านั้น ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ก็เป็นผลมาจาก การที่วงการแพทย์ในประเทศไทยมองว่าภาวะ Malignant Hyperthermia เป็นภาวะที่มีโอกาสต่ำมากที่จะเกิดขั้นกับคนไข้ในรายหนึ่งๆ นั่นเอง

ที่มา: Mthai

 

เรื่องน่าสนใจ