ที่มา: matichon

นำเสนอข่าวโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพ มติชน

หลังจากมีผลงานวิจัยออกมาหลายๆ ฉบับว่าคนที่โฟมบรรจุอาหารบ่อยๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งนั้น ล่าสุด เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม ( www.dodeden.com ) รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคม นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

รณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย กับ 14 องค์กรภาคเอกชน

นพ.พรเทพกล่าวว่า ผู้ประกอบการค้าอาหารมักนิยมใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารปรุงสำเร็จ เช่น ข้าวผัด ผัดกะเพรา กระเพาะปลา ก๋วยเตี๋ยว เนื่องจากสะดวก ใช้ง่าย รวดเร็ว และราคาถูก

14255988961425598973l

แต่การนำภาชนะโฟมมาบรรจุอาหารร้อนต้องใช้อย่างระมัดระวัง หากโฟมสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นเวลานานจะทำให้เสียรูปทรง เกิดการหลอมละลาย ทำให้สารเคมีที่อยู่ในเนื้อโฟมซึ่งมองไม่เห็นปนเปื้อนออกมาอยู่ในอาหารจนเกิดการสะสมในร่างกาย

โดยสารเคมีอันตรายมี 3 ชนิด ได้แก่ 1.สารสไตรีน (Styrene) เป็นสารก่อมะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก

มีผลต่อสมองและเส้นประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ระบบฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ทำให้มีปัญหาต่อมไทรอยด์และประจำเดือนในสตรีผิดปกติ

2.สารเบนซิน (Benzene) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน สารชนิดนี้ละลายได้ดีในน้ำมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นแรง

หากได้รับสารชนิดนี้เป็นเวลานาน ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากสารเบนซินจะทำลายไขกระดูก ทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลง

และ 3. สารพทาเลท (Phthalate) เป็นสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ผู้ชายเป็นหมัน หากเป็นหญิงมีครรภ์ลูกอาจมีอาการดาวน์ซินโดรมและอายุสั้นได้

ทั้งนี้ การละลายของสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้จะมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ อุณหภูมิอาหาร ไขมันในอาหาร และระยะเวลาที่อาหารสัมผัสกับภาชนะโฟม

โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารประเภทผัด ทอด จะทำให้สารสไตรีนละลายออกมาได้มากกว่า

“รัฐบาลโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีนโยบายเร่งจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้สำหรับบรรจุอาหาร และได้มอบให้กรมอนามัยรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

โดยเริ่มในพื้นที่ สธ.ซึ่งสามารถเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารได้ 100% เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2557 และปีนี้ได้ขยายรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัด สธ.ทั่วประเทศ

เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ฯลฯ

อีกทั้งจะรณรงค์การใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัวห่อข้าวหรือขนมทดแทน และส่งเสริมให้ใช้ภาชนะที่ผลิตจากชานอ้อย ชานอ้อยผสมเยื่อไผ่ มันสำปะหลัง

เนื่องจากวัสดุเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์ ย่อยสลายตามธรรมชาติใน 45 วัน”

เรื่องน่าสนใจ