ที่มา: dodeden

หากเอ่ยชื่อถึง สมุนไพร “เขยตายแม่ยายชักปรก”  หรือชื่ออื่นๆ ตามภูมิภาค เช่น  ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ, หญ้ายาง น้ำเข้า โรคน้ำเข้า (ใต้) กะรอกน้ำข้าว ละรอก กะรอกน้ำ (ชลบุรี) ส้มชื่น ศรีชมชื่น น้ำข้าวต้น พิษนาคราช พุทธรักษา(สุโขทัย) ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ) มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์)

หลายท่านอาจจะยังไม่รู้สรรพคุณอย่างละเอียดนัก โดยชื่อทางวิทยาศาสตร์ มีว่า Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-6 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้น

11850885_1165727820110404_1314154746_n

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชื่อจะแปลกไปหน่อย แต่ สรรพคุณตามตำรายาไทยอ้างอิงจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระบุว่า  กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม ฝนน้ำกินและทาแก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย ทาแผลที่อักเสบ แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ

แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด เปลือกต้น รสเมาร้อน แก้ฝีภายนอกและภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้ เนื้อไม้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม ดอกและผล รสเมาร้อน ทารักษาหิด ไม่ระบุส่วนที่ใช้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม

ขณะที่ ประเทศบังคลาเทศใช้ น้ำคั้นจากใบผสมน้ำตาล กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ แก้โรคตับ ใบบดผสมกับขิง รักษาผิวหนังอักเสบ ตุ่มพุพอง หรือคันแสบ ราก ใช้ลดไข้อีกด้วย

11853986_1165727806777072_1214121979_n

ถ่ายภาพโดย : เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม  

เรื่องน่าสนใจ