ที่มา: doctor

เรียบเรียงข่าวโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพ rakbankerd

หลายคนนิยมซื้อ ลิ้นจี่ เป็นของฝาก ให้เพื่อนหรือญาติพี่น้อง ฯลฯ ซึ่งลิ้นจี่มีคุณประโยชน์มาก มีคุณค่าที่เหมาะสำหรับผู้รับ

โดยเฉพาะหากเราได้รู้จักลิ้นจี่ดีขึ้น เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม ( www.dodeden.com ) ระบุว่า ลิ้นจี่เป็นไม้เขตร้อนมีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนตอนใต้ ไปถึงทางใต้ของประเทศอินโดนีเซียและทางตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์  ปัจจุบันมีการปลูกลิ้นจี่ทางตอนใต้ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย

ทั้งนี้ เมื่อราวๆ ร้อยกว่าปีมาแล้วประเทศจีนดองลิ้นจี่ทั้งเปลือก ในน้ำเกลือบรรจุไหส่งเป็นสินค้าออกไปกับเรือเดินสมุทร มาขายในประเทศไทย กว่าจะมาถึงก็เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว

3606_1

ประเทศไทยกินลิ้นจี่สด ลิ้นจี่กระป๋อง นำลิ้นจี่มาทำเป็นเครื่องดื่ม ไอศกรีม และใช้ประกอบอาหารคาวบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ซีกโลกตะวันตกและสหรัฐอเมริกากินลิ้นจี่เป็นส่วนประกอบของอาหารจานเนื้อสัตว์ ลิ้นจี่เป็นผลไม้มีรสอ่อนจึงเข้าได้กับทั้งเป็ด ไก่ หมู แฮม ปลา และอาหารทะเลอื่นๆ ปรุงเป็นเครื่องดื่ม กวนแยม ใส่ใน     สลัด ทำไอศกรีม ปรุงอาหารเบเกอรี่ เข้าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เช่น ลิ้นจี่มาร์ตินี่ ปรุงเป็นลูกกวาดและ ขนมหวานต่างๆ นอกจากนี้ ที่จีนยังใช้ลิ้นจี่แห้งเพิ่มความหวานให้ชาแทนการเติมน้ำตาล

ส่วน คุณค่าทางอาหาร ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมหวานชวนกิน คนไทยกินผลสด และนำลิ้นจี่มาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายน้ำ  รสชาติหอมหวานชื่นฉ่ำใจ

SAVE0410

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามิน  บี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงานช่วยระบบย่อยอาหาร

นอกจากนี้ ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับการรักษารูปร่าง ลิ้นจี่ 1 ถ้วย (6 ผล ไม่แกะเมล็ดออก) ให้พลังงานเพียง 125  แคลอรี มีไขมันน้อยกว่า 1 กรัม

ลิ้นจี่มีวิตามินบี 2 โพแทสเซียม และมีวิตามินซีสูงมาก กินลิ้นจี่เพียงวันละ 3 ผลก็ได้วิตามินซีครบถ้วนตามความต้องการใน 1 วัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยบำรุงหลอดเลือด กระดูกและฟัน ในฤดูลิ้นจี่จึงควรกินลิ้นจี่แทนวิตามินซีสังเคราะห์สักระยะหนึ่ง 

เนื้อในผล  กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน  ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร

ประเทศจีนใช้ชาเปลือกลิ้นจี่บรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส เมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดบวม

โดยใช้บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้พอกบริเวณมีอาการ ชาต้มรากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลิ้นจี่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณพลังงานต่ำ

และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันจึงมีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณลิ้นจี่ในผลิตภัณฑ์ช่วยควบคุมอาหารและลดน้ำหนัก แต่ไม่พบที่มาของสรรพคุณในการเผาผลาญสารอาหารดังกล่าว

ส่วน ลิ้นจี่ต้านมะเร็งเต้านมได้จริงหรือไม่นั้น เนื้อลิ้นจี่และเปลือกลิ้นจี่มีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด งานวิจัยจากประเทศจีน 2 ชิ้นพบว่าส่วนเพอริคาร์พ (เปลือกและเนื้อผล) ของลิ้นจี่มีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญคือ โพรไซยาไนดินบี 4 ไพรไซยา-  ไนดินบี 2  และอีพิคาเทชิน

ส่วนแอนโทไซยานินที่สำคัญคือ ไซยาไนดิน3-  รูตินโนไซด์ ไซยาไนดิน-3กลูโคไซด์ เควอเซทิน-3- รูติโนไซด์ และเควอเซทิน-3-กลูโคไซด์ สารเหล่านี้แสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นที่ดี โดยในกลุ่มฟลาโวนอลพบว่าโพรไซยาไนดินบี 2 กำจัดไฮดรอกซี่เรดิคัลและซูปเปอร์-ออกไซด์แอนอิออนได้ดีที่สุด

ส่วนโพรไซยาไนดินบี 4 โปรไซยาไนดินบี 2 และอีพิคาเทชินมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ อีก และมีพิษต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาพาซิทาเซลที่ใช้ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ มีรายงานว่าสารสกัดเพอริคาร์พของลิ้นจี่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม ทั้งในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง โดยยับยั้งการขยายจำนวนเซลล์ การควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง การสร้าง mRNA

และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งดังกล่าวแบบอะป๊อบโทซิสในระดับยีน และยับยั้งผลต่อเนื่องในการแทรกตัว การยึดเกาะพื้นผิวของเซลล์มะเร็ง

พบว่าขนาดของก้อนมะเร็งเต้านมในหนูทดลองลดลงร้อยละ 41 เมื่อได้รับสารสกัดเอทานอล ของเพอริคาร์พของลิ้นจี่ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาผลิตเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ป่วยมะเร็ง

งานวิจัยอีกชิ้นจากประเทศจีนรายงานว่า สารสกัดจากลิ้นจี่ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานจากสหรัฐอเมริกาพบว่าสารสกัดลิ้นจี่ลดขนาดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง

มีรายงานว่าสารสำคัญในลิ้นจี่ดูดซึมได้ยาก ที่ประเทศญี่ปุ่นจึงผลิตสารสำคัญให้มีขนาดเล็กลง (ความลับทางการค้า) เพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ แต่วันนี้จะขอแนะนำรายการเพิ่มการดูดซึมของสารสำคัญ ทำได้ง่ายๆ คือนำลิ้นจี่ไปปรุงอาหารกับอะไรที่มีไขมันนิดหน่อยจะทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น

ลองสูตรโคลล์สลอว์จากอินเทอร์เน็ตเผื่อเด็กในบ้านจะติดใจ ได้ทั้งผักได้ทั้งลิ้นจี่ค่ะ

SAVE0412

เรื่องน่าสนใจ