ที่มา: dodeden

นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นว่า อุตสาหกรรมวาระสุดท้ายของชีวิต หรือ Life Ending Industry เป็นธุรกิจบริการที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ

โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์  จากสถิติในปี 2543 ญี่ปุ่นมีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 1 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีผู้เสียชีวิตราว 1,430,000 คน ทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีศพมีแนวโน้มขยายตัวตามไปด้วย

24465826

สถาบันวิจัยยาโนะได้เคยสำรวจตลาดธุรกิจการจัดพิธีศพในญี่ปุ่นพบว่า ในปี 2556 มีมูลค่าตลาดประมาณ 5.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.3 ด้วยรูปแบบที่มีความหลากหลายมากขึ้นและการขยายตัวของตลาดในธุรกิจนี้ ทำให้มีผู้เข้ามาบุกตลาดนี้จากหลายวงการธุรกิจ

ไม่ว่าจะเป็นบริษัทค้าปลีกอย่าง อิออน หรือบริษัทผู้ให้บริการด้านการขนส่ง นอกจากนี้ยังขยายขอบเขตไปถึงงานศพสำหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งชาวญี่ปุ่นจำนวนมากรักสัตว์เลี้ยงและมีความผูกพันเสมือนเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะค่อนข้างสูง แต่เจ้าของก็เต็มใจที่จะจ่าย

“การบริการในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต ครอบคลุมถึงบริการก่อนการเสียชีวิต ได้แก่ การบริหารจัดการทรัพย์สิน การให้คำแนะนำเรื่องการสืบทอดมรดก การบริการด้านการแพทย์และพยาบาล การให้บริการด้านการทำพินัยกรรมและการเขียนสมุดบันทึกวาระสุดท้าย การจองสุสาน การเตรียมการจัดพิธีศพ

ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนบริการหลังการเสียชีวิต ได้แก่ การจัดพิธีศพ การจัดพิธีทำบุญครบรอบวันเสียชีวิต การบริการจัดพิธีหรือจัดตัวแทนไหว้สุสาน การเยียวยาจิตใจให้กับสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น โดยมีสนนราคาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 650,000 บาท” อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว รายงานว่า สินค้าไทยที่มีโอกาสในตลาดนี้ ได้แก่ เครื่องประดับสำหรับบรรจุอัฐิเพื่อใส่ติดตัว โถบรรจุอัฐิ แท่นบูชา ดอกไม้สด เครื่องแต่งกายและชุดเข้าร่วมพิธี รวมทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดงานศพสัตว์เลี้ยง เช่น โลงกระดาษ ชุดสำหรับสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อการรำลึกถึง

502603354

ทั้งนี้ คนญี่ปุ่นในปัจจุบันเปิดกว้างทางความคิดและมีทัศนคติเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้รูปแบบการจัดงานตามขนบธรรมเนียมกลายเป็นแบบฟรีสไตล์ไม่ยึดติดกับประเพณีที่เศร้าโศก  และมีจุดประสงค์ที่จะส่งคนรักครั้งสุดท้ายด้วยความสุข มีสีสันสดใส

ตกแต่งสถานที่ด้วยของรักของชอบของผู้เสียชีวิต ผู้ประกอบการไทยจึงควรมีไอเดียใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าเพื่ออุตสาหกรรมนี้และเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคญี่ปุ่นในอนาคตได้

Twenty-seven-year-old Sayuri Takahashi (top) performs her skills in "nokan" -- translated as "encoffinment", or the preparation dead bodies before cremation, during a contest at the Life Ending Industry EXPO 2015 in Tokyo on December 8, 2015. More than 200 companies doing businesses related to the end of life, such as funerals, are participating in the three-day exhibition. Takahashi, the competition winner who was awarded a trophy and an undisclosed sum, said she started her job three years ago after learning about the profession following a death in her own family where the body was attended to by a nokanshi, a specialist in the field. AFP PHOTO / TOSHIFUMI KITAMURA / AFP / TOSHIFUMI KITAMURA

ภาพจาก Life Ending Industry Expo , JAPAN BUSINESS OF DEATH

เรื่องน่าสนใจ