ที่มา: มติชน

“คิง แคร็บ” หรือปูยักษ์ หรือ ปูจักรพรรดิ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลในหลายพื้นที่ของโลก ที่ขึ้นชื่อมี อลาสกา คิง แคร็บ, ทาสมาเนีย คิง แคร็บ และทาราบะ คิง แคร็บ เป็นต้น แต่นักชีววิทยาทางทะเลเพิ่งค้นพบว่าปูจักรพรรดิสามารถเดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณที่น้ำทะเลเย็นจัดบริเวณพื้นลาดไหล่ทวีปแอนตาร์กติกได้และเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวันจนอาจคุกคามต่อสภาวะนิเวศในบริเวณดังกล่าว

14442190641444219221l

ริชาร์ด อารอนสัน หัวหน้าภาควิชาชีววิทยาศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งฟลอริดา ซึ่งศึกษาประชากรปูจักรพรรดิที่แอนตาร์กติกา พบว่ายังคงใช้ชีวิตอยู่บริเวณลาดไหล่ทวีป ไม่ได้ขึ้นไปสู่ไหล่ทวีปส่วนที่เป็นพื้นราบที่กระแสน้ำเย็นจัดกว่า แต่เนื่องจากอุณหภูมิของแอนตาร์กติกอุ่นขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะโลกร้อน ในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า

เมื่ออุณหภูมิในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกราว 1 องศาเซลเชียส น้ำจะอุ่นขึ้นพอที่จะทำให้คิงแคร็บไต่สูงขึ้นไปใช้ชีวิตอยู่บนพื้นราบไหล่ทวีปได้ และจะเริ่มจับสัตว์ในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ปลาดาวทะเล, เม่นทะเล, สัตว์ทะเลจำพวกหอยและปลาหมึก ในบริเวณนั้นเป็นอาหาร ซึ่งจะส่งผลทำให้ระบบนิเวศในบริเวณดังกล่าวที่ไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อสัตว์ด้วยกันทำนองนี้อยู่มานานหลายสิบล้านปีต้องเปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนั้นการมีคิงแคร็บอยู่จะส่งผลให้สัตว์ทะเลกินเนื้ออื่นๆ อย่างเช่น ปลาแอนตาร์กติกทูธฟิช และแมวน้ำบางสายพันธุ์ เช่น เซาเทิร์น อีเลเฟนท์ ซีล, แคร็บอีทติ้ง ซีล หลั่งไหลกันเข้ามาจับปูยักษ์กินเป็นอาหาร สุดท้ายจะทำให้ระบบนิเวศบริเวณดังกล่าวเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

ปัญหาสำหรับนักวิชาการด้านชีววิทยา สภาพนิเวศวิทยาบริเวณไหล่ทวีปแอนตาร์กติก ไม่เหมือนสภาพนิเวศใต้ทะเลอื่นใดในโลกนี้ เพราะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 40 ล้านปีที่แล้วกี่มากน้อย และยังมีความลับของสิ่งมีชีวิตในบริเวณดังกล่าวที่ยังไม่ได้ศึกษาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อมนุษย์ ตัวอย่างเช่น เพรียงหัวหอมแอนตาร์กติก ที่เชื่อว่ามีสรรพคุณทางยารักษามะเร็ง ซึ่งจะสูญหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศดังกล่าวด้วย

นอกเหนือจากความหลากหลายทางชีวภาพบนโลกจะหายไปอีกมหาศาลเช่นกัน

เรื่องน่าสนใจ