โรคเกาต์ เป็นโรคที่พบมากในผู้ชาย ซึ่งจะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า โดยเฉพาะผู้ชายสูงอายุ ซึ่งอาจเกิดจากการบริโภค ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทานเนื้อสัตว์เป็นประจํา ทําให้มีกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานานจนเกิดการตกผลึก ส่วนผู้หญิงก็พบว่ามักจะเป็นหลังจากหมดประจําเดือนเพราะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยให้ได้ขับถ่ายได้ดี อ่านเกริ่นๆ แบบนี้คงสงสัยกันเเล้วใช่ไหมคะ ว่าโรคนี้ร้ายแรงมากมั้ย? ถ้าเป็นเเล้วควรจะดูแลตัวเองอย่างไรดี มาอ่านกันค่ะ 🙂


สารพันคำถามโรคเกาต์
expertbeacon.com

สารพันคำถาม โรคเกาต์ รู้ก่อน ป้องกันได้ก่อน

ถึงแม้ว่าการเป็นโรคเกาต์ จะสามารถควบคุมไม่ให้มีอาการกําเริบ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่รักษาได้ไม่ยาก และผู้ป่วยสามารถมีชีวิตทํางานเหมือนคนปกติทั่วไป แต่ก็จะต้องรู้วิธีการดูแลปฏิบัติรักษาตัวเองด้วยวิธีต่างๆ และรู้ทันโรค หากไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาอย่างไม่ถูกต้อง ก็จะมีโอกาสที่โรคจะดําเนินต่อไปจนมีอาการทางไตได้


สารพันคำถามโรคเกาต์
htv.com.pk

สาเหตุของการเกิดโรคเกาต์

เกิดขึ้นเนื่องจากมีกรดยูริก (Uric Acid) ซึ่งเป็นของเสียในร่างกาย ได้มาจากการสังเคราะห์พิวรีน พิวรีนเป็นส่วนประกอบสําคัญของนิวคลีโอไทด์และดีเอ็นเอในทุกเซลล์ของร่างกายคน สัตว์ พืช เป็นตัวกําหนดลักษณะพันธุกรรมไปสู่ลูกหลาน การที่ร่างกายมีระดับพิวรีนขึ้นสูง จึงส่งผลให้ระดับกรดยูริกสูง ซึ่งปกติร่างกายจะสังเคราะห์พิวรีนวันละ 1.1-1.5 กรัม มีระดับกรดยูริกปกติในเลือด 2.5-7.40 มิลลิกรัมเดซิลิตร เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะมีการตกผลึกเกลือยูเรตเกาะตามข้อต่อ ตามเนื้อเยื่อต่างๆ รอบข้อกระดูกอ่อน ผิวข้อตามเส้นเอ็น ถุงน้ำที่อยู่ใกล้เคียงข้อ กระดูก ผิวหนัง และยังพบผลึกยูเรตได้ในไตผู้ป่วย ในทางเดินปัสสาวะ ในกระดูกอ่อน เช่น ใบหู รามทั้งเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา ดวงตา

และเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น การบาดเจ็บ หรือถึงจุดอิ่มตัวของสาร ก็จะมีการตกผลึกเป็นก้อนโทฟัสขนาดเล็ก (Tophus) ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และเริ่มแสดงอาการอักเสบ ปวด บวม ในบริเวณที่มีการตกผลึก ซึ่งเกิดได้ทุกแห่ง ส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณข้อกระดูก ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผลึกจะมีการสะสมเรื่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นจนทําให้ข้อบวมโต มีการอักเสบทําลายจนถึงทําให้อวัยวะส่วนนั้นพิการ และมองเห็นปุ่มก้อนโต ฟัสนูนขึ้นจนผิวหนังใกล้บริเวณข้อหรือที่ใบหูอักเสบด้วย


สารพันคำถามโรคเกาต์
jointhealthmagazine.com

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเพราะร่างกายมีการสร้างกรดยูริก และการได้รับจากอาหารมากกว่าปกติ หรือเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายขับกรดยูริกทางไตได้น้อยลง และในผู้ป่ายบางรายก็พบว่า เกิดขึ้นมาจากทั้ง 2 สาเหตุ คือ การสร้างกรดยูริกมากกว่าปกติ และการขับถ่ายกรดยูริกออกทางไตน้อยกว่าปกติ

เนื่องจากโรคเกาต์ เป็นโรคปวดเรื้อรังอย่างรุนแรงชนิดหนึ่ง ที่รักษาได้และสามารถควบคุมไม่ให้กําเริบได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักยาที่ดี มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงอยู่นาน หรือเป็นโรคเกาต์นานถึง 10-20 ปี ข้อกระดูกจะถูกทําลาย มีก้อนโทฟัส และผู้ป่วยประมาณ 25 % จะมีนิ่วที่หมวกไต เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด แสบและขัด ไตจะถูกก้อนนิ่วทําลาย การทํางานของไตบกพร่อง จะพบได้ด้วยการเจาะเลือดตรวจ และตรวจปัสสาวะ และถ้ารักษาไม่ดี อาจกลายเป็นไตวาย  นอกจากนี้ยังพบว่า จะมีโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง (ประมาณร้อยละ 4) ไตวายเรื้อรัง (ประมาณร้อยละ 30) โรคหัวใจขาดเลือด (ประมาณร้อยละ 14) เบาหวาน (ประมาณร้อยละ 5)  โรคมะเร็ง (ประมาณร้อยละ 4) และร้อยละ 80 มีใขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันไตรกรีเซอไรด์

หลักการในการรักยาผู้ป่ายโรคเกาต์

ในแผนปัจจุบัน นิยมให้ยาลดอาการปาดตามข้อ ยาลดกรดยูริกตกตะกอน และข้อที่อักเสบ และให้พักผ่อน แต่แนวทางการรักษาที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน  แม้ว่าจะได้ผลดีในด้านบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ แต่จะมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ติดยาแก้ปวด หรือเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาแก้อักเสบ  แสดงให้เห็นว่า การดูแลรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน นอกจากจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก็ยังส่งผลให้เกิดมีอาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วย  บางรายมีผลึกยูเรตไปสะสมที่บริเวณเปลือกตา ม่านตา เยื่อหุ้นตา กระจกตา ทําให้เกิดการอักเสบ ระคายเคือง มองไม่ชัด หรืออาจมีโลหิตจาง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs (ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์) และอาจมีอาการทางตับ เป็นโรคตับแข็ง หรือมีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง

ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ปลาซาดีน ขนมปังหวาน ปู กุ้ง หอย ดอกกระหล่ำ เห็ด หน่อไม้และผักโขม เป็นต้น อย่าลืมควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไป และระวังในเรื่องของการขาดสารอาหาร พลังงานพวกคาร์โบไฮเดรต งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพระจะทำให้การขับถ่ายกรดยูริคน้อยลง ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อย 2-3 ลิตร/วัน  จะช่วยขับถ่ายกรดยูริคและป้องกันการเกิดนิ่วในไตได้ค่ะ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ