ที่มา: Tnamcot

แท็กซี่มิเตอร์เพิ่มความสะดวกการสัญจร ในราคาที่เป็นธรรม แต่มีบางคนแชร์กันว่าให้ดูไฟบนมิเตอร์ ถ้ากระพริบพร้อมกัน 2 ดวง แสดงว่าโดนโกงมิเตอร์แล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่? 

ไปถามกันชัดๆ ที่กรมการขนส่งทางบก ถ้าไฟกระพริบ 2 ดวงพร้อมกันแสดงว่าโดนโกงจริงไหม นายณันทพงศ์ เชิดชู ผอ.สำนักงานขนส่ง กทม.พื้นที่ 5 กล่าวว่าอันนี้ไม่จริงบางส่วน เพราะแท็กซี่มิเตอร์รุ่นเดิมที่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน เขาจะกระพริบสลับกัน แต่รุ่นใหม่ถ้าเกิดแท็กซี่ออกเดินรถแล้วทั้ง 2 ส่วนคือไฟกระพริบเวลาและไฟกระพริบระยะทางจะต้องกระพริบพร้อมกัน

01

มิเตอร์แท็กซี่มีอยู่ 3 ช่อง คือ ช่องระยะเวลา ช่องระยะทาง และช่องค่าโดยสาร แบ่งเป็น 2 รุ่น ตั้งแต่ 4 มกราคม 2553 เป็นต้นไปมิเตอร์ที่ติดในรถที่ติดในแท็กซี่มิเตอร์จะเป็นแบบมีใบเสร็จ ก่อนหน้านั้นเป็นแบบไม่มีใบเสร็จ

มิเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่มีเครื่องพิมพ์ใบเสร็จ ถ้าไฟในช่องเวลาและระยะทางกระพริบพร้อมกันอาจมีปัญหาจริง แต่ในจำนวนแท็กซี่ 110,000 คัน ที่วิ่งในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นมิเตอร์รุ่นใหม่ที่มีเครื่องพิมพ์ใบเสร็จกันแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นใหม่เกือบทั้งหมดรถที่จดทะเบียนมาประมาณ 5 ปี จะต้องมีใบเสร็จรับเงินพร้อมกับมิเตอร์ด้วย รุ่นนี้ไฟแสดงสถานะจะต้องกระพริบพร้อมกัน

02

มาที่จุดตรวจสอบมิเตอร์ ตัวบนนี้คือมิเตอร์รุ่นเก่า ตัวล่างคือมิเตอร์รุ่นใหม่ จะเห็นได้ว่าไฟของตัวใหม่กระพริบทั้งในช่องเวลาและระยะทาง มิเตอร์ทุกตัวก่อนใช้ต้องมาให้ตรวจที่นี่ หากผ่านก็จะปั๊มตะกั่วป้องกันการแอบเปิดแก้เองในภายหลัง

03

มิเตอร์นี้โดยปกติจะซีลตะกั่วเพื่อป้องกันการเข้าไปแก้ไขวงจรภายใน ซึ่งเป็นการป้องกันในระดับหนึ่งแล้วส่วนเทคนิคที่ใช้จะต้องอาศัยการตรวจสอบ เช่น การเปลี่ยนรออยากให้เล็กลง รวมทั้งการติดตั้งสวิตช์ที่มีคลื่นไปรบกวนการทำงานของมิเตอร์ แต่คงมองเห็นได้ยาก เพราะต้องแอบต้องซ่อน แต่ถ้ามาตรวจที่การตรวจสภาพรถ หากพบก็ถือว่าเป็นความผิดในการแก้ไขดัดแปลง

แท็กซี่ใหม่จะต้องมาตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง รถเก่าเกิน 7 ปี ปีละ 3 ครั้ง โกงมิเตอร์โทษปรับ 1,000 บาท หากผิดซ้ำอาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับได้

04

สำหรับคนที่กังวลนี่คือวิธีสังเกตแท็กซี่ที่ส่อแววโกงมิเตอร์ ผอ.สำนักงานขนส่ง กทม.พื้นที่ 5 แนะนำว่าเวลาขึ้นแท็กซี่ควรสังเกตตั้งแต่เริ่มต้นว่าบัตรติดหน้ารถตรงกับบุคลิกลักษณะของคนขับหรือไม่ ดูกาลซีลตะกั่วของมิเตอร์ดู ก.ท ย่อ ที่ประตูดูตารางค่าโดยสาร ซึ่งจะเทียบกับค่าโดยสารบนมิเตอร์ได้ นอกจากนี้ ดูอากัปกิริยาของคนขับว่าไปสัมผัสปุ่มแปลกๆ ที่ไม่สมควรจะปรับหรือเปล่า

เรื่องน่าสนใจ