ศัลยกรรมปลูกเล็บ เติมเต็มความเพอร์เฟ็ค ให้กับมือคู่สวย โดยเฉพาะสาวๆ คงไม่พลาดที่อยากจะแต่งแต้มสีสัน หรือวาดลวดลายลงบนเล็บให้สวยสุดยิ่งขึ้น เมื่อต้องออกงานสังสรรค์ ทว่าในชีวิตประจําวัน มนุษย์ต้องใช้มือในการหยิบ จับ หรือดําเนินกิจกรรมต่างๆ อยู่ตลอดเวลา อาจทําให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับมือและนิ้วอยู่บ่อยครั้ง บางคราวอาจรุนแรง เช่น นิ้วถูกกระแทก จนถึงขั้นที่ทําให้เล็บฉีกขาด หรือหลุดออก สําหรับคนที่คิดว่าขอเพียงแค่รักษาให้นิ้วกลับมาใช้งานได้เป็นปกติก็เพียงพอ หากต้องการเท่านี้ การรักษาโดยทั่วไปก็สามารถทําได้ โดยไม่มีความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงแต่อย่างใด
แต่หากผู้ที่ต้องการให้นิ้วมือกลับมาสวยดังเดิม ต้องการปลูกเล็บขึ้นมาใหม่ ก็สามารถทําได้เช่นเดียวกัน แต่อาจมีอัตราความเสี่ยงที่ควรรู้ไว้ก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งโดดเด่นดอทคอมของเรา มีข้อคิดสําหรับผู้ที่ต้องการปลูกเล็บใหม่ รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของเล็บไว้ว่า กายวิภาคของเล็บประกอบด้วยหลายส่วน ดังนี้ค่ะ
Eponychium
คือบริเวณผิวหนังที่อยู่ติดกับเล็บส่วนต้น
Paronychium
คือบริเวณผิวหนังที่อยู่ล้อมรอบสองฝั่งของเล็บ
Hyponychium
คือบริเวณใต้เล็บ
Nail Plate
คือส่วนใสๆ ของเล็บทั้งหมด
Nail Bed
คือส่วนใต้ของเล็บที่ติดแน่นอยู่กับผิวหนัง
Lunula
คือบริเวณสีขาวขุ่นโค้งๆ ที่อยู่ตอนต้นของเล็บ
รากเล็บ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Sterile Nail Matrix คือรากเล็บส่วนที่คลุมอยู่ข้างใต้เล็บ และ Germinal Nail Matrix คือ รากเล็บส่วนที่อยู่เหนือเล็บขึ้นไป (มีขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร)
กลไกการสร้างเล็บ เกิดจากเซลล์ของรากเล็บส่วนที่อยู่เหนือเล็บขึ้นไป หรือส่วนที่เรียกว่า Germinal Nail Matrix ซึ่งเป็นตัวสร้างให้เล็บออกมาคลุมไว้ และส่วนของรากเล็บที่คลุมอยู่ใต้เล็บ หรือ Sterile Nail Matrix เป็นตัวซึ่งทําให้เล็บหนาและแข็งขึ้นมา ทั้ง 2 ส่วนนี้ เป็นองค์ประกอบสําคัญในการปลูกเล็บใหม่ การรักษาจึงต้องดูความเสียหาย ของสองส่วนนี้ควบคู่ไปด้วย
กรณีที่คนไข้ได้รับอุบัติเหตุ หรือได้รับการผ่าตัดบริเวณเล็บ โดยที่รากเล็บเสียหายไปบางส่วน สามารถใช้รากเล็บจากบริเวณหัวแม่เท้าบางส่วน มาทําการวางลงบนส่วนที่ขาดหายไปของเล็บมือ ด้วยการปลูกถ่ายเล็บเท้าแบบธรรมดา เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายผิวหนังทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คนไข้จะเอาเล็บเก่าที่ขาดหายไปมาคลุมไว้ และคอยให้รากเล็บสร้างตัวมันเองใหม่ขึ้นมา กรณีแบบนี้ ถือเป็นการสร้างรากเล็บแบบง่าย โดยคนไข้สูญเสียเล็บบริเวณผิวหนังที่อยู่ติดกับเล็บส่วนต้น (Ebonychium) ไปบางส่วน หรือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
กรณีที่สอง คนไข้ทําการผ่าตัดเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเล็บ ส่งผลให้เล็บตรงกลางเสียหาย ทันทีที่เล็บงอกออกมาใหม่ จะไม่สวยดังเดิม วิธีรักษาก็คือ การเอาเล็บส่วนที่เป็น Sterile Nail Matrix จากนิ้วหัวแม่เท้ามาทํานั่นเอง ซึ่งในกรณีนี้ อาจจะได้ผลไม่แน่นอนมากนัก
กรณีที่สาม
คนไข้ที่เล็บหายไปครึ่งหนึ่ง ส่งผลให้เล็บที่เหลืองอลง พร้อมกับปลายนิ้วที่งอตาม หรือที่เรียกกันว่า Hooked Nail เล็บจึง สั้นและดูไม่สวยงาม รวมไปถึงคนไข้ที่เนื้อบริเวณเล็บหายไปประมาณหนึ่งข้อ แต่ยังมีกระดูกอยู่ (สมัยก่อนจะเอาเนื้อส่วนท้องมาทํา ซึ่งจะดูไม่สวยงาม และไม่มีเล็บ) ต้องทําการผ่าตัดลอกโดยการลอกรากเล็บ ลอกหนังเท้า ลอกกระดูก จนไปถึงเส้นเลือดดําและเส้นเลือดแดงของนิ้วหัวแม่เท้าบางส่วน ขึ้นมาคลุมบริเวณกระดูก โดยเชื่อมต่อเส้นเลือด ด้วยวิธี จุลศัลยกรรม (Micro Surgery) ในกรณีนี้ อัตราความเสี่ยงที่จะไม่สําเร็จแม้ไม่สูงมากในแพทย์ที่มีประสบการณ์ แต่ความเสี่ยงจากการสูญ เสียบางส่วนของนิ้วเท้า ก็เป็นสิ่งที่ควรชั่งใจก่อนทํา หรือแม้การต่อจะประสบความสําเร็จ ก็จะมีแผลเป็นบริเวณนิ้วมือยาวมาถึงโคนนิ้ว เพื่อต่อเส้นเลือด ซึ่งการเข้ารับการรักษาเพื่อทําการปลูกเล็บ หรือนิ้วมือใหม่ นิ้วเท้าจะได้รับความเสียหายมากน้อย ขึ้นอยู่กับในแต่ละกรณีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
•••••••••••••••••••••••••••
การปลูกเล็บในกรณีที่คนไข้ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย ก็พอจะสามารถรักษาให้เห็นผลได้ แต่ในกรณีที่ได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก จนเล็บหายไปทั้งเล็บ เป็น Hooked Nail หรือนิ้วหายไปหนึ่งข้อ ควรใช้นิ้วปลอมดีกว่า เพราะการรักษาด้วย Micro Surgery มีอัตราความเสี่ยงที่อาจต่อไม่สําเร็จ อาจต้องมีการตกแต่งรอยแผลเป็น ที่เกิดจากการหาตําแหน่งเพื่อต่อเส้นเลือด ควรเน้นในเรื่องของการใช้งานดีกว่าค่ะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com