ฝังเข็ม รักษาอาการ ปวดหลัง ปวดไหล่ เท้าชา มือชา เป็นวิธีการรักษาด้วยวิธีทางธรรมชาติ ด้วยการฝังเข็มตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ร่วมกับ กายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี กระตุ้นการทำงานของระบบปลายประสาท
ทำให้ฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆสู่ภาวะปกติ และยังช่วยสลายกรดยูริก อันเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดต่างๆอีกด้วย รวมถึงโภชนาการที่เหมาะกับแต่ละบุคคลตามธาตุ ดังนั้นระยะเวลาและผลของการรักษาจึงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล คนไข้จึงควรเข้ามาตรวจและปรึกษากับคุณหมอเบื้องต้นด้วยนะค่ะ
อาการปวดหลัง ปวดเอว
โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง (Musculotendinous strain) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง (Back pain) พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเป็นต้นไป แต่อาการปวดหลัง ปวดเอว ซึ่งเป็นปัญหากับหลายๆคน โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคน ถ้าปวดหลัง ปวดเอวจากกล้ามเนื้อ จะเป็นภาวะที่ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก่อให้เกิดความเจ็บ ปวด และอาจเป็นอาการปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรังได้
โดยอาการปวดจะแสดงในลักษณะต่าง เช่น บางรายอาจปวดเฉพาะบริเวณหลังหรือกระเบนเหน็บ
บางรายอาจปวดหลังและร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างและมีอาการชาร่วมด้วยจนเดินไม่ได้ก็มี บางรายอาจมีอาการปวดเอว แล้วก็มีอาการตึงมาทางหน้าท้อง
สาเหตุของอาการปวดหลัง ปวดเอว แบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลัก
1.ปวดหลังจากไตอักเสบ หรืออาจมีนิ่วที่ไต มักจะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะอาจมีแสบ ขัด ขุ่น ถ้าเคาะเบาๆ ที่เอวด้านที่ปวดจะเจ็บมากจนสะดุ้ง
2.ปวดหลังจากกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังที่เอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท มักพบในคนเลยวัยกลางคนแล้ว คนที่ต้องแบกของหนักเสมอ หรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่บริเวณหลัง บางรายเท้าจะอ่อนแรง ยกปลายเท้าไม่ขึ้น อาการอาจค่อยเป็นค่อยไป บางรายก้มยกของหนัก แล้วหมอนรองกระดูกก็เคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ทำให้ปวดกะทันหันก็มี
3.ปวดหลัง ปวดเอว จากกล้ามเนื้อหลัง มักเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป นั่งเล่นเกมส์หรือทำงานนานเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง จึงเกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง คนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดหลังได้
และที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้น เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อหลัง เอว หน้าท้อง จะมีอาการหดเกร็งหรือเกิดอาการตึง เรียกว่า “กษัยเส้น”
จะทราบได้อย่างไรว่าปวดหลัง ปวดเอว จากสาเหตุใด ให้ทดลองดังนี้
วิธีแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว ที่ปวดจากกล้ามเนื้อหลัง ต้องดูว่าอิริยาบถเป็นอย่างไร
ถ้ามีอาการปวดหลัง ปวดเอว ในส่วนของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น ควรรับประทาน ยากษัยเส้น ร่วมกับการ ฝังเข็ม บางท่าน กล้ามเนื้อหลังอาจตึงมาก ทำให้ปวดหลัง ปวดเอว เรื้อรัง ควรนวดโดยท่านที่ชำนาญร่วมด้วย
ส่วนประกอบของหลัง
หลังของเราประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 24 ชิ้นที่เรียกว่า vertebrae
โดยเรียงซ้อนกันตั้งแต่กระดูกสะโพกถึงกะโหลกศีรษะ ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีหมอนรองกระดูกขั้นกลาง เพื่อรับแรงกระแทกของกระดูก และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
กระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกาย กระดูกจะถูกยึดติดเป็นแนวโดยอาศัยกล้ามเนื้อและเอ็น การหดเกร็งกล้ามเนื้อหลังจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
การรักษา
การรักษาอาการทั้งปวดหลัง, ปวดไหล่, ปวดคอ สามารถทำได้ทั้งการฝังเข็ม, ครอบแก้ว (มังกรไฟ), กระตุ้นไฟฟ้า, การถ่ายโอนพลังชี่ (เครื่องส้ม), การรม, การนวดรีดเส้น, การนวดจีน
ขอขอบคุณ ไป๋เฉ่าคลินิก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-391-9343, 088-666-3008