ที่มา: tnnthailand

สดร.ชวนชาวไทยชมฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ คืนวันแม่ 12 ส.ค.นี้ ชมได้ชัดเจนด้วยตาเปล่าหลังเที่ยงคืนจนถึงรุ่งเช้า

00b08bภาพจากแฟ้มข่าว tnnthailand

วันนี้(8ส.ค.58)นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)หรือสดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในคืนวันที่ 12สิงหาคม จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม 2558 ตามเวลาในประเทศไทยจะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั่วทุกภูมิภาคของประเทศบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจุดศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอุส (Perseus)

ทั้งนี้ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์มีสีสันสวยงามสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 กรกฏาคม – 24สิงหาคมของทุกปี โดยในช่วงประมาณวันที่ 12- 13 สิงหาคม จะเป็นช่วงที่เกิดฝนดาวตกมากที่สุดอาจมีจำนวนดาวตกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าถึงประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง

สำหรับปีนี้ ช่วงเวลาที่มีอัตราการตกมากที่สุดของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์คือ เวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 13สิงหาคม 2558ซึ่งเป็นเวลากลางวันในประเทศไทยแต่สำหรับช่วงเวลากลางคืนก็ยังสามารถสังเกตเห็นได้แต่อัตราการแต่อาจไม่มากนักผู้ที่สนใจก็ยังสามารถติดตามชมความสวยงามของปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้ในคืนดังกล่าว

Starfield. A double star cluster in Perseus

นายศุภฤกษ์ กล่าวอีกว่าฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศแถบซีกโลกเหนือเนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเป็นช่วงฤดูร้อนแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในเดือนสิงหาคมประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์แต่สำหรับในบางพื้นที่ที่ไม่มีฝนตกก็จะสามารถชื่นชมความสวยงามของฝนดาวตกครั้งนี้ได้ด้วยตาเปล่า

“ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสังเกตฝนดาวตกสำหรับประเทศไทยคือตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไปเนื่องจากเป็นเวลาที่ชีกโลกของเราหันเข้าหาทิศทางที่ดาวตกพุ่งเข้ามาแบบตรงๆในขณะที่เวลาหัวค่ำจนถึงก่อนเที่ยงคืนเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งสวนทางการหมุนรอบตัวเองของโลกเราจะเห็นดาวตกมีความเร็วสูง ทำให้สังเกตได้ยากแต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเวลาใกล้รุ่งจะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก เราจึงเห็นดาวตกวิ่งในอัตราเร็วที่ช้ากว่าจนมีเวลาที่สามารถชี้ชวนกันดูได้และมองเห็นความสวยงามของดาวตกได้ชัดเจนขึ้น” นายศุภฤกษ์กล่าว

สำหรับฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟท์-ทัตเทิล(109P/Swift-Tuttle) เหลือทิ้งไว้ในวงโคจรเมื่อ 20 ปีก่อนเมื่อโลกโคจรผ่านเข้าไปบริเวณที่มีเศษฝุ่นเหล่านี้ จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศสังเกตเห็นฝุ่นของดาวหางลุกไหม้เป็นแสงสว่างวาบ และถึงแม้ว่าเศษฝุ่นของดาวหาง 109P/Swift-Tuttleจะถูกทิ้งไว้เป็นเวลา 20 ปีแล้วแต่เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านี้ก็ยังทำให้ชาวโลกได้สัมผัสความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์นี้เป็นประจำทุกปี

เรื่องน่าสนใจ