กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 12 เน้น “สุขภาพจิตสู่คุณค่าความเป็นมนุษย์” รองรับผู้ป่วยสุขภาพจิตปีละไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านราย เร่งนำทีมหมอครอบครัวร่วมช่วยแก้ปัญหา เน้นคุณค่าความเป็นมนุษย์ มั่นใจผลสำเร็จการรักษาสูงขึ้น
วันนี้(15 มิถุนายน 2558) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 12 ประจำปี 2558 ภายใต้แนวคิด “สุขภาพจิตสู่คุณค่าความเป็นมนุษย์” จัดโดยกรมสุขภาพจิต ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2558 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ทักษะและเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช มีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 1,000 คน ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการภาครัฐและเอกชนด้านสุขภาพจิต สุขภาพจิตเด็ก วิกฤตสุขภาพจิต ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจาก 19 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย บังคลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา แคนาดา จีน อังกฤษ ฟินแลนด์ เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา เวียดนาม และประเทศไทย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์รัชตะ กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนเจ็บป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น แต่ละปีมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคจิต มีบางส่วนไม่ไปรับบริการเพราะอายที่ต้องพบจิตแพทย์ อีกทั้งสังคมยังมีอคติต่อผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ขาดความรู้ความเข้าใจว่าสามารถรักษาหายได้ กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ ได้ผลักดันพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ เน้นเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา อยู่ร่วมบ้าน ร่วมชุมชนและสังคมได้อย่างปลอดภัย
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โรงพยาบาลเปิดหอผู้ป่วยจิตเวชหรือเตียงฉุกเฉินผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เพิ่มขึ้นร้อยละ 67 จากเดิมร้อยละ 58 ผู้ป่วยจิตเวชรับยารักษาต่อเนื่องได้ที่คลินิกจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชน ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทเข้าถึงบริการรักษาร้อยละ 42 โรคซึมเศร้าร้อยละ 38 และผู้ป่วยติดสารเสพติดที่ได้รับการรักษาและไม่กลับไปติดซ้ำร้อยละ 80
จากนโยบาย “ทีมหมอครอบครัว” ซึ่งจะเพิ่มเป็น 60,000 ทีมในปลายปีนี้ ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ จะมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตครัวเรือนในพื้นที่อย่าง ใกล้ชิด เสมือนเป็นเพื่อนสนิทหรือญาติของครอบครัว ที่สำคัญคือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่ามีที่พึ่งยามเจ็บป่วย ซึ่งจะทำงานร่วมกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันเยี่ยมให้กำลังใจ รักษาพยาบาลทั้งสุขภาพกายและใจ รวมทั้งจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีกำลังใจ เห็นคุณค่าในตนเอง และกลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณค่า มั่นใจว่าจะทำให้ผู้ป่วยทุกราย ทุกครอบครัว ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง กินยาต่อเนื่อง ผลสำเร็จการรักษาสูงขึ้น ประชาชนทุกคนมั่นใจความปลอดภัย
นาย แพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การประชุมวิชาการสุขภาพจิตฯ ครั้งนี้ เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ด้านสุขภาพจิตระดับนานาชาติ เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สมศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งทุกภาคส่วนสามารถร่วมมือกันปกป้องการถูกลิดรอนสิทธิความเป็นมนุษย์ได้โดย