สารให้ความหวาน แทนน้ำตาล หรือที่เรียกกันว่า น้ำตาลเทียม ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด บางชนิดอนุญาตให้ใช้ได้ในอาหารทั่วไป บางชนิดใช้ได้เฉพาะในเครื่องดื่ม หรือในอาหารสําหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกินน้ำตาลได้ เช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ควรหลีกเลี่ยง หรือลดปริมาณน้ำตาลที่ผลิตจากพืชที่ให้คาร์โบไฮเดรตปกติทั่วไป

 

สารให้ความหวาน

 

สารให้ความหวาน  มีกี่ประเภท มีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง?

จึงได้มีการผลิตสารให้ความหวานขึ้นจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งสารให้ความหวานถูกแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

  • สารให้ความหวานประเภทให้พลังงาน
    หรือที่เรียกว่า น้ำตาลแอลกอฮอลล์ เพราะโครงสร้างทางเคมีเดิมของน้ำตาลกลูโคสนั้น ถูกแทนที่ด้วยหมู่แอลกอฮอล์ (แต่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่อยู่ในเหล้า) ได้แก่ ไซลิทอล ชอบิทอล แมนนทอล มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อย แต่ให้พลังงานต่ำ เพียง 1.5 – 3 แคลอรี่/กรัม ในขณะที่น้ำตาลทราย มีพลังงานสูงถึง 4 แคลอรี่/กรัม ปัจจุบัน นิยมใส่ในอาหารประเภทต่างๆ มากขึ้น เช่น ในขนมขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่ง ซึ่งมักจะระบุในฉลากว่า Sugar free นั่นเอง

 

สารให้ความหวาน
ภาพจาก snapdeal.com
  • สารให้ความหวานประเภทให้พลังงานต่ำ หรือไม่ให้เลย
    เป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่มีโครงสร้างใดใกล้เคียงกับสารอาหารเลย ประโยชน์ก็เพื่อลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารลง ใช้แทนที่น้ำตาลซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานใช้ไม่ได้ เป็นสารที่มีคุณค่าทางการแพทย์ หรือใช้ในผู้ที่ต้องการลดความอ้วน และยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อลดต้นทุนการผลิต ที่ใช้กันแพร่หลายคือ แอสปาเทม เป็นสารธรรมชาติสกัดจากผลไม้บางชนิด มีค่าความหวานกว่าน้ำตาลทราย 180 – 200 เท่า ข้อควรระวังคือ ไม่สามารถนําไปใช้ในการประกอบอาหารร้อนบนเตาได้ และห้ามใช้ในผู้ป่วย

สารให้ความหวานที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป จึงเหมาะสําหรับนํามาใช้ตามแต่วัตถุประสงค์ที่คิดผลิตขึ้นเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

 

สารให้ความหวาน

 

แต่ทั้งนี้ มีงานวิจัยฉบับหนึ่งกล่าวว่า น้ำตาลเทียมทําให้เราอยากอาหารมากขึ้น เพราะคนที่พยายามจะลดน้ำหนัก มักใช้น้ำตาลเทียมหรืออาหารที่ใช้น้ำตาลเทียมเป็นส่วนประกอบ แต่สารให้ความหวานหรือน้ำตาลเทียมดังกล่าว กลับมีผลในทางตรงกันข้าม การศึกษานี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติอย่าง Cell Metabolism ว่าด้วยผลการวิจัยจากการที่นักวิทยาศาสตร์ทดลองให้น้ำตาลธรรมชาติ และยีสต์กับแมลงวันผลไม้ โดยพบว่า แมลงวันผลไม้ซึ่งกินน้ำตาลเทียมที่เกิดจากการย่อยของน้ำตาลธรรมชาติโดยยีสต์ (ชนิดซูคราโลส) เข้าไป ผลปรากฏว่าแมลงวันกลุ่มนั้น กินอาหารมากขึ้นกว่ากลุ่มที่กินน้ำตาลปกติถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และ 2 – 3 วันหลังจากที่ให้อาหารที่ไม่มีซูคราโลสกับแมลงวันผลไม้ พวกมันก็กลับมากินอาหารในปริมาณปกติ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กลุ่มดังกล่าวยังได้ทดลองต่อในหนู ก็พบผลเช่นเดียวกัน

………………………………………………………………….

แสดงให้เห็นว่า น้ำตาลเทียมนั้นมีผลต่อความอยากกินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างหนูเช่นกัน เพราะฉะนั้น คาดว่าแนวโน้มของผลการทดลองกับมนุษย์ก็จะเกิดเช่นเดียวกัน…

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ