ต้นปี 2558 ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก (ไคโรแพรคเตอร์) 2 คน จากเมืองวอเตอร์ฟอร์ด รัฐมิชิแกนออกมาเปิดเผยถึงผลการทดลองด้วยการทิ้ง ชีสเบอร์เกอร์ของร้านอาหารดังยี่ห้อหนึ่ง กับ ทาโก้ไก่  ไว้บนโต๊ะที่มีอากาศถ่ายเทเป็นเวลา 2 ปี

558000000373201

ตั้งแต่ วันที่ 8 มกราคม 2556 และ 5 มกราคม 2556 ตามลำดับ ผลปรากฎว่า … สภาพภายนอกของอาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งสองอย่างแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย ไม่มีราขึ้น ไม่มีกลิ่นเน่าเสีย ไม่มีแม้กระทั่งร่องรอยของมด มีเพียงชีสบนเบอร์เกอร์เท่านั้นที่เปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม ขณะที่ผักกาดในทาโก้ก็มีสีเทานิดหน่อย

558000000373202

 

“ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมา หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามันเป็นมัมมี่ไปแล้ว คุณสามารถหยิบมันขึ้นมา เมื่อพลิกดูก็จะเห็นชีส และผักดองในเบอร์เกอร์” ดร.วอห์นกล่าว “และแม้จะเป็นหน้าร้อนที่มดและแมลงออกมาเพ่นพ่าน ก็ไม่เคยเห็นมดแมลงเฉียดกรายเข้ามาหาฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้แต่อย่างใด”

ดร.แจ็กเกอลีน วอห์น เปิดเผยว่าเธอหวังว่าผู้บริโภคจะคิดก่อนกินว่าเอาอะไรใส่เข้าไปในร่างกายของตัวเอง ทั้งนี้เธอตั้งเป้าจะทิ้งอาหารทั้งสองชิ้นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

ขณะที่จาง ย่าฟาน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัยเวห์น สเตท ชี้แจงว่าสารกันเสียที่ใช้ในอาหารฟาสต์ฟู้ดดังกล่าวคือ แคลเซียม โพรบิเนต เพื่อให้อาหารดูสามารถรับประทานได้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามจางระบุว่าสารดังกล่าวไม่มีพิษ และใช้เป็นปกติในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภทเพื่อให้อาหารดูสด เช่น ขนมปัง เค้ก และเนื้อสัตว์แปรรูป

 “สารนี้ปลอดภัยที่จะใช้และรับประทาน ถึงแม้ว่ามีโอกาสที่ผู้บริโภคบางส่วนจะเกิดการอักเสบในกระเพาะได้บ้าง แต่ถ้าไม่ได้กินทุกวันก็ไม่เป็นไร” นักวิทยาศาสตร์การอาหารระบุ

ที่มา ผู้จัดการ

เรื่องน่าสนใจ