บางครั้ง เมื่อเราส่องกระจกดูหน้าเรา อย่าลืมลองสังเกตสีของดวงตา ไม่ว่าจะเป็นรอบดวงตา บริเวณตาขาว และตาดำเพราะสีบนดวงตาเหล่านี้กำลังบ่งบอกถึงโรคที่คุณกำลังเป็นอยู่ ลองตรวจเช็คสุขภาพกันดูนะ
โรคภูมิแพ้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และโรคภูมิแพ้ชนิดตลอดปี อาการที่มักพบอยู่เสมอในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ได้แก่ จาม คัดจมูก ตา หู และลำคอ มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาบ่อยๆ รู้สึกคัดจมูก ตาแดง และมีน้ำตาไหล นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือปวดบริเวณคาง และหน้าผากร่วมด้วย
โรคไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากเชื้อแบคทีเรีย (acute bacterial rhinosinusitis-ABRS) ในผู้ใหญ่ที่เกิดตามหลังไข้หวัดพบได้ประมาณร้อยละ 0.5-2 และในเด็กพบประมาณร้อยละ 5-10 โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลงได้และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดที่รุนแรงเช่น ฝีในสมอง,ตาบอด และชนิดที่ไม่รุนแรงเช่น หูชั้นกลางอักเสบ,การได้ยินลดลง,ริดสีดวงจมูก ฯลฯ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ไขมันในเลือด ได้แก่ คลอเลสเตอรอล LDL สูง คลอเลสเตอรอล HDL ต่ำ และไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ล้วนเป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงตีบ (Atherosclerosis) ไขมันเหล่านี้ไม่ได้มาจากอาหารโดยตรงเท่านั้น แต่ร่างกายสร้างขึ้นใหม่จากไขมันที่กินเข้าไป โดยมีปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดอาหาร ปริมาณอาหาร การออกกำลังกาย บุหรี่ สุรา และพันธุกรรม ซึ่งนอกจากพันธุกรรมแล้ว ปัจจัยอื่นที่สามารถดัดแปลงให้ไขมันในเลือดใกล้เคียงปกติหรือเป็นปกติได้
โรคเยื่อบุตาอักเสบ (โรคตาแดง) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เยื่อบุตา ทำให้ตาเกิดการอักเสบ และมีเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว มักระบาดในช่วงปลายฤดูหนาว พบได้ในทุกวัยต่อต่อง่ายโดยเฉพาะเด็กวัยเรียน
โรคต้อกระจก เป็นโรคที่ทำให้สายตามัว พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ โดยเกิดจากความขุ่นของเลนส์ตา ซึ่งปกติจะมีความใส แต่เมื่อเกิดต้อกระจก เลนส์ตาจะขุ่นทำให้แสงผ่านเลนส์ตาไปยังจอประสาทตาน้อยลง ทำให้การมองเห็นลดลงเกิดอาการตามัวขึ้น
โรคต้อหิน คือ โรคหรือภาวะที่เกิดจากความดันภายในลูกตาสูงผิดปกติ หรือในบางกรณีความดันอาจปกติร่วมกับมีการถูกทำลายของใยประสาทตา ขั้วประสาทตา ทำให้ลานสายตาแคบลงเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยไม่มีอาการตามัว ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค หากไม่ได้รับการรักษาเพื่อควบคุมโรคจะทำให้ประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ตาบอดในที่สุด ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินจึงควรได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการอย่างสม่ำเสมอ