ที่มา: doctor

เรียบเรียงข่าวโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพ haamor

โรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่พบมากที่สุด ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด จากรายงานของกองกามโรค(ในอดีต) พบว่า ปี 2525 อัตราป่วยโรคหนองในสูงสุดถึงประมาณร้อยละ 60

หลังจากนั้นอัตราป่วยโรคหนองในลดลงอย่างรวดเร็ว จากอัตราป่วย 436 รายต่อแสนประชากร ในปี 2530 ลดลงเหลือ 8.4 รายต่อประชากรแสนราย ในปี 2546 แต่ในปี 2547 กลับมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็น 10.65 รายต่อประชากรแสนราย

หนองในเทียม-01

โดยมีจำนวนผู้ป่วยโรคหนองในทั่วประเทศทั้งสิ้น 6,720 ราย เพิ่มจากปี 2546 ซึ่งมีเพียง 5,288 ราย เป็นจำนวนถึง 1,432 ราย   การเพิ่มของโรคหนองใน นับเป็นสัญญาณอันตราย เพราะผู้ป่วยโรคหนองในมีโอกาสติดเชื้อ HIV ง่ายขึ้น และทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV มากยิ่งขึ้น 

เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม ( www.dodeden.com )  ระบุว่า สาเหตุและปัจจัยที่มีผลทำให้โรคหนองใน มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้น

โดย ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมป้องกันและการระบาดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 1. การเปลี่ยนแปลงลักษณะการให้บริการทางเพศ จากบริการทางเพศตรง มาเป็นการขายบริการแฝง การขายบริการทางเพศอิสระ รวมทั้งปัญหาโสเภณีเด็ก มีผลทำให้การควบคุมและป้องกันทำได้ยากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงลักษณะการมีเพศสัมพันธ์ของประชากรชาย จากการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงขายบริการ มาเป็นมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นมากขึ้น 3. ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น คือ มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น  มีการเปลี่ยนคู่นอนมากขึ้น   มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันมากขึ้น

4. ปัญหาสื่อลามกมีมากและเข้าถึงเยาวชนทุกรูปแบบมากขึ้น 5. ทัศนคติของสังคม  กระแสวัตถุนิยม วัฒนธรรม และค่านิยมที่ โน้มเอียงไปทางตะวันตกมากขึ้น

6. การปฏิรูประบบสาธารณสุข การปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของหน่วยงานทำให้หน่วยงานคลินิก กามโรคที่มีอยู่ทั่วประเทศต้องปิดตัวเองลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริการทางด้านป้องกันและรักษามีความครอบคลุมลดลงไปด้วย

ปัจจัยเหล่านี้กำลังส่งผลให้สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีแนวโน้มกลับเพิ่มขึ้นสูงอีกครั้งเนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์

ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติและยากที่จะควบคุม โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้นหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ค่านิยม เทคโนโลยีที่ทันสมัย การเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น

เพราะฉะนั้น การระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่จำเพาะว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้น และที่สำคัญขึ้นอยู่กับมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอีกด้วย

ส่วน อันตรายของโรคหนองในและความสัมพันธ์กับเอดส์นั้น  โดยโรคหนองใน เกิดจากเชื้อ Neiserria gonorrhoeae   จะอาการในผู้ชาย หลังจากได้รับเชื้อโดยส่วนใหญ่ประมาณ 3-5 วัน ผู้ติดเชื้อจะมีหนองขุ่นข้น ไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ถ้าไม่รักษาปล่อยทิ้งไว้ เชื้ออาจลุกลามสู่อัณฑะ มีโอกาสทำให้เป็นหมันได้

ในผู้หญิง  อาการที่เด่นชัดได้แก่ มีตกขาวเป็นมูกหนอง  ปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด เชื้ออาจลุกลามถึงมดลูก ทำให้เกิดท้องนอกมดลูกได้

เนื่องจากโรคหนองใน มีความสัมพันธ์กับโรคเอดส์ โดยผู้ป่วยหนองในจะมีโอกาสรับเชื้อ HIV ได้ง่ายกว่าคนปกติ

ในขณะเดียวกัน  ผู้ติดเชื้อ HIV ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็สามารถแพร่เชื้อ HIV ให้กับผู้สัมผัส ได้มากกว่าผู้ติดเชื้อHIV ที่ไม่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   พบว่าประมาณร้อยละ 77 ของผู้ติดเชื้อ HIV มีปัจจัยเสี่ยงมาจากการมีเพศสัมพันธ์  ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหนองใน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV

สำหรับ การป้องกันนั้น 1. การปฏิบัติทางเพศอย่างปลอดภัย (Safe sex) ได้แก่ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การร่วมเพศโดยไม่มีการสอดใส่ และการร่วมเพศระหว่างคู่นอนที่ไม่มีเชื้อทั้งคู่ 2. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ 3. รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ

ส่วน การดูแลผู้ป่วย การปฏิบัติตนขณะป่วยและรักษา 1. ควรงดร่วมเพศ รวมทั้งสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค 2. ควรงดดื่มเหล้า-เบียร์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

3. ควรพาคู่นอนไปตรวจโดยเร็วที่สุด 4. รักษาอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ 5. ไม่ควรซื้อยารักษาตนเอง ควรตรวจรักษากับแพทย์เท่านั้น  เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อยารักษาไม่หาย

6. ไปรับการตรวจตามนัดทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 7. ในผู้ชายไม่ควรรีดอวัยวะเพศเพื่อดูหนอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น

เรื่องน่าสนใจ