หลังการผ่าตัดเสริมเต้านม อาจเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับเราได้บ้าง ? เพราะเป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้ว ที่การผ่าตัดทุกชนิดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ได้ ไม่ว่าจะทำโดยผู้ที่มีความชำนาญแค่ไหน การผ่าตัดเสริมเต้านมก็เช่นกัน เมื่อคิดจะเสริมเต้านม ควรทราบก่อนว่ามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แบบไหนที่จะเกิดขึ้นได้บ้าง จะได้เตรียมใจและเตรียมรับมือได้ถูกต้องกันนะคะ
นอกจากภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดโดยตรงแล้ว ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ หรือการให้ยาระงับความรู้สึกได้อีกด้วย ในลักษณะเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ ที่ทำภายใต้การดมยาสลบ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีภาวะแทรกซ้อนมากมายที่อาจเกิดได้จากการเสริมเต้านม แม้จะทำด้วยเทคนิคมาตรฐาน ด้วยเต้านมเทียมมาตรฐาน และทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ตาม
ลองคิดดูว่า ถ้าหากเรานำเต้านมเทียมที่ไม่มาตรฐาน ซิลิโคนที่ไม่ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา อะไรจะเกิดขึ้น? ผลแทรกซ้อนที่เกิดอาจมากมายถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็ง หรือผลเสียที่ร้ายแรงกว่านั้นได้ ดังนั้น การตัดสินใจเลือกศัลยแพทย์ผ่าตัดที่มีความรู้ความชำนาญจึงสำคัญมาก เนื่องจากการผ่าตัดด้วยเทคนิคที่ถูกต้องโดยศัลยแพทย์ที่ชำนาญ ไม่เพียงลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนให้ต่ำที่สุดแล้ว ศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ยังสามารถจัดการปัญหาได้ทันท่วงที เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นอีกด้วย
แพทย์ที่จะสามารถผ่าตัดเสริมเต้านมให้เราได้อย่างปลอดภัยนั้น ต้องได้ผ่านการฝึกอบรมในสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง และเสริมสร้างมาอย่างถูกต้อง จนได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขา “ศัลยศาสตร์ตกแต่ง (Plastic Surgery)” ข้อนี้เป็นมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ เพราะศัลยแพทย์ตกแต่งที่ผ่านการฝึกอบรมมานานถึง 5 ปี กว่าจะมาผ่าตัดเสริมเต้านมได้นั้น ต้องได้รับการเรียน และฝึกฝนจนมีความรู้ความสามารถในการผ่าตัดเสริมเต้านมได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมเต้านมแบบใช้ถุงซิลิโคน หรือการเสริมสร้างโดยใช้เนื้อเยื่อตนเอง และยังเป็นผู้ที่ต้องรู้ และสามารถแก้ไขภาวะแทรกซ้อนได้ดี ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมในสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่งเต็มหลักสูตร เช่น อาศัยการดูงานไม่กี่เดือน จะไม่สามารถทำได้ค่ะ
การผ่าตัดในโรงพยาบาล มีต้นทุนต่างๆ ที่มากกว่าการผ่าตัดที่คลินิก แต่ระบบความปลอดภัยสำหรับการผ่าตัดในโรงพยาบาลย่อมมีมากกว่า เช่น ระบบการปรับอากาศ ความชื้น และความสะอาดในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลดีกว่าห้องผ่าตัดในคลินิก จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลมีมากกว่า เครื่องมือทางการแพทย์ รวมทั้งกรณีฉุกเฉินถึงชีวิต ทางโรงพยาบาลมีความพร้อมมากกว่า ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลสำหรับการผ่าตัดเสริมเต้านมจึงสูงกว่า
ต้องเข้าใจก่อนว่า เต้านมเทียมนั้นมีองค์ประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญ คือตัวถุง และสารที่อยู่ในถุง (สารที่บรรจุอยู่ในถุงนั้น เมื่อก่อนใช้ซิลิโคนเหลว liquid silicone แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเปลี่ยนมาเป็นซิลิโคนเจลที่เรียกว่า cohesive silicone gel กันหมดแล้ว ซิลิโคนเจลแบบปัจจุบัน จะไม่เหลวไหลออกจากที่ เพราะมีคุณสมบัติจับตัวกันเอง) ซึ่งต้องขอบอกว่า ตัวถุงเต้านมเทียมทุกยี่ห้อนั้น มีโอกาสที่จะเกิดการแตกรั่วได้ โดยอัตราการเกิดการรั่วนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 7 % ใน 10 ปี (ข้อมูลจากการวิจัยโดยใช้ถุงนมที่ได้มาตราฐาน สำหรับถุงเต้านมเทียมที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นจะมีอัตราการรั่วมากกว่านี้) และเมื่อเกิดการรั่ว แล้วร่างกายจะมีปฏิกิริยากับสารที่รั่วออกมาอย่างไร
สิ่งสำคัญที่สุด ก่อนการผ่าตัดศัลยกรรมทุกอย่าง คือการสื่อสาร ทำความเข้าใจกับแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดในทุกด้าน และควรมีความรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงที่มีโอกาสเกิดขึ้น ตกลงแนวทางการแก้ไข รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือกทำนะคะ 🙂
เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com