หลากทางแก้กับรอยหลุมแผลเป็น Depressed scars ที่เป็นหลุม เป็นแอ่ง ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นบนใบหน้า หรือตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ล้วนเป็นรอยที่น่าปวดใจ เพราะใครล่ะจะอยากมีรอยปรุทำให้หน้าตาไม่เรียบเนียน ถึงแม้จะแผลเป็นหลุมลึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ถ้าไม่ได้อยู่ใต้ร่มผ้าก็ไม่กล้าโชว์อยู่ดี จริงไหม? มาหยุดปัญหาน่าปวดหัวกับหลากทางแก้หลุมแผลเป็นกันค่ะ

 

หลากทางแก้กับรอยหลุมแผลเป็น Depressed scars
ภาพจาก tmbcosmeticsurgery.com

 

หลากทางแก้กับรอยหลุมแผลเป็น Depressed scars

สาเหตุที่ทําให้เกิดรอยหลุม

การเกิดหลุมแผลเป็น มาจากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อ เช่นเชื้อไวรัส ทําให้เป็นอีสุกอีใส เชื้อแบคทีเรีย ทําเกิดเป็นฝีหนอง หรือเชื้อโรคบางชนิด ที่ทําให้เกิดแผลจากรอยสิว จากอุบัติเหตุ รวมถึงแผลเป็นจากรอยเย็บที่ดูเป็นเส้นตรง แต่จะเห็นว่าต้นแผลบุ๋มลงไปเพราะพังผืดที่ดึงรั้งอยู่ด้านใน

ประเภทของรอยหลุม

  • หลุมแผลเป็นที่เป็นแหลมลึกลงไป เหมือนรูปตัว V 
  • หลุมแผลเป็นที่มีฐานกว้าง เหมือนรูปตัวยู ไม่มีผังพืดดึงรั้งที่ก้นแผล (เมื่อดึงแผลเป็นให้ตึง แผลจะเต็มขึ้นมาได้)
  • หลุมแผลเป็นที่มีฐานกว้าง เหมือนรูปตัวยู แต่มีพังผืดดึงรั้งตรงก้นแผล (เมื่อดึงแผลเป็นให้ตึง แผลจะไม่เพิ่มขึ้นมา)
หลากทางแก้กับรอยหลุมแผลเป็น Depressed scars
ภาพจาก lovethatface.com

แนวทางการรักษา

ใช้ยาทา
การใช้ยาทา สามารถทําได้ แต่เห็นผลค่อนข้างช้า โดยเฉพาะแผลเป็นเก่า อาจจะดีขึ้นแค่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นท์เท่านั้น แต่ถ้าเป็นแผลเป็นใหม่ที่ยังไม่มีพังผืดดึงรั้ง การทายาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อาจจะทําให้ผิวเต็มเต็มขึ้นมาได้ 100% ยาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ยาในกลุ่มของกรดวิตามิน A ซึ่งจะช่วยในการจัดเรียงและกระตุ้นคอลลาเจนใหม่ให้ผิวหนัง และผลัดเซลล์เท่าที่ไม่ดีออกไป เพราะคอลลาเจนที่จัดเรียงกันไม่ถูกวิธี ทําให้เกิดแผลเป็นหลุมได้ , ยาในกลุ่มของ AHA ซึ่งช่วยในการจัดเรียงและกระตุ้นคอลลาเจนใหม่ ผลัดเซลล์ชั้นหนังกําพร้า ยกและกระตุ้นเซลล์ชั้นหนังแท้ใหม่ๆ ขึ้นมา , กรดวิตามินซี ซึ่งมีประโยชน์ในการสร้างคอลลาเจนใหม่

 

หลากทางแก้กับรอยหลุมแผลเป็น Depressed scars
ภาพจาก The Aesthetic Channel

 

การใช้สารเคมีในการผลัดเซลล์ผิวหนัง
คือการใช้สารกลุ่มของ AHA, BHA และกลุ่มของกรด Trichloroacetic Acid ซึ่งจะช่วยผลัดลอกเซลล์ผิวหนังชั้นบนออก และกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังด้านล่างขึ้นมาแทน ข้อดีของรักษาด้วยวิธีนี้ คือสะดวกและรวดเร็ว ส่วนข้อเสียคือ เห็นผลช้า ต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง (ทําทุกๆ 2 อาทิตย์ อย่างน้อย 6 ครั้ง) ขณะทําาควรหลีกเลี่ยงแสงแดด หากทาแล้วเกิดสะเก็ด การแกะสะเก็ดจะทําให้เกิดแผลเป็นได้

 

หลากทางแก้กับรอยหลุมแผลเป็น Depressed scars
ภาพจาก PakeezaBeauty

 

การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเครื่องเลเซอร์
เลเซอร์ที่ใช้กันอยู่ในการรักษาหลุมแผลเป็น แบ่งออก
เป็น 3 ประเภท คือ กลุ่มเลเซอร์ที่ทําให้เกิดแผลใหม่ (Ablative Laser) กลุ่มเลเซอร์และลําแสงที่ทําไม่ให้เกิดแผลใหม่ (Non-Ablative Photorejuvenation) และ Fractional Laser

••••••••••••••••••••

การรักษาหลุมแผลเป็น จะเลือกวิธีการใด ต้องดูตามเนื้อผ้า ถ้าหลุมไม่ได้ลึกมาก เช่น หลุมสิว หลุมแผลเป็นอีสุกอีใสเล็กๆ ใช้วิธีการใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเลเซอร์หรือการฉีดฟิลเลอร์ บางคนก็ยังใช้ยาทาร่วมด้วย การใช้ยาทา จะช่วยเสริมให้เกิดคอลลาเจนใหม่ทดแทนส่วนที่ตายไปได้บ้าง แต่ถ้าหลุมลึกมาก การใช้เลเซอร์ไม่มีทางที่จะเต็มได้ ก็อาจจะต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วย เช่น อาจต้องทําเลเซอร์ร่วมกับการฉีดฟิลเลอร์ เป็นต้น แต่สิ่งที่อยากแนะนําคือ การรักษาไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด ทั้งก่อนการรักษา (ประมาณ 1 อาทิตย์ และระหว่างการรักษา (ยกเว้นการฉีดฟิลเลอร์) เพราะเซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นมา จะโดนทําร้ายและทําให้ผิวของเราคล้ำได้

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ