อกเล็กอยากใหญ่ มักเป็นปัญหาของคนทั่วไป มากกว่าอาการอกใหญ่อยากเล็ก ศัลยกรรมเพิ่มขนาดทรวงอก จึงเป็นศัลยกรรมความงามยอดฮิต ที่คนนิยมทํากันมาก เรียกว่าเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ เพราะผู้หญิง และสาวประเภทสองส่วนมาก ล้วนอยากมีขนาดหน้าอกที่สวยงาม เต่งตึง กระชับได้รูป ส่วนจะ Up Size ให้ใหญ่ขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคน
อย่างที่ทราบกันดีว่า การผ่าตัดศัลยกรรมทุกอย่างนั้นมีความเสี่ยง แม้จะทําโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ และความชํานาญสูงขนาดไหน เพราะผลข้างเคียงจากการทําศัลยกรรม บางครั้งก็อยู่เหนือการควบคุมของแพทย์ การผ่าตัดเสริมขนาดทรวงอกก็เช่นเดียวกันค่ะ วิธีการที่แพทย์ศัลยกรรมความงามส่วนใหญ่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย นั่นก็คือการเสริมด้วยซิลิโคนเจล (Silicone Gel) ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก ง่าย เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน และรวดเร็ว
ผลข้างเคียงจากการเสริมด้วยวิธีนี้ มีอะไรบ้าง?
สําหรับคอนเทนท์นี้ เราจะพูดถึงภาวะความเสี่ยงในการทําศัลยกรรมเสริมขนาดทรวงอกที่พบได้บ่อย นั่นก็คือ ภาวะการเกิดพังผืดหดรัด Capsular Contracture เพื่อให้สาวๆ ได้พึงระวังก่อนตัดสินใจ ว่าภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีความรุนแรงขนาดไหน
Capsular Contracture เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อมีการใส่ถุงซิลิโคนเจลเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะมีการสร้างพังผืดมาห่อหุ้มบริเวณโดยรอบ มีลักษณะเหมือนแคปซูล แยกเป็นถุงที่อยู่ภายในกับเนื้อเยื่อที่อยู่ภายนอก เป็นกลไกในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมและสารที่เข้าสู่ร่างกาย โดยจะสร้างพังผืดมาล้อมรอบสิ่งแปลกปลอมนั้นไว้ ดังนั้น ถุงซิลิโคนเจลจะถูกล้อมรอบไปด้วยพังผืดนั่นเอง
หลังการผ่าตัด ถ้าพังผืดมีขนาดใหญ่กว่าถุงเต้านม เต้านมก็จะนิ่ม และมีรูปร่างที่เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าพังพืดมีการหดรัด หดตัว และมีความหนาเพิ่มขึ้น ก็จะทําให้เต้านมเริ่มมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง หรือหากพังผืดหดตัวมากขึ้น อาจจะทําให้มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ผิดรูป ไม่เป็นธรรมชาติไปเลยก็มี อาการพังผืดหดรัด เป็นอาการข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดของการผ่าตัดเสริมหน้าอก สามารถเกิดเมื่อไหร่ก็ได้หลังผ่าตัด แต่โดยทั่วไป ถ้าได้เป็นแล้ว มักจะเกิดภายใน 1 ปี หรือเร็วสุด 1-2 เดือน เมื่อเกิดการหดรัด แคปซูลก็จะหดตัวลง และรัดถุงซิลิโคนเจล ทําให้เต้านมมีรูปร่างผิดปกติ มีผลให้เวลาคลำหน้าอก จะแข็งขึ้น และอาจทําให้รูปร่างของถุงซิลิโคนเจลบิดเบี้ยวผิดปกติไปด้วย ยิ่งถ้ามีการหดรัดมากขึ้น พังผืดจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง จนเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก แม้ไม่ได้สัมผัส
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดพังผืด
ระดับของการเกิดพังผืดในการเสริมหน้าอก
มี 4 ระดับ (Baker Classification)
การแก้ไขพังพืดหดรัด
…………………………………………………………………….
ในการทําศัลยกรรมความงาม แพทย์ควรมีความรู้ด้านศัลยกรรมทั่วๆ ไป และยังต้องมีประสบการณ์ มีการฝึกฝน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในด้านความงาม การผ่าตัดทําศัลยกรรม มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้ทุกๆ เวลา และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แพทย์ต้องสามารถควบคุมดูแลรักษาให้ได้มากที่สุด สําหรับเราเอง ก็ควรปฏิบัติตนตามคําแนะนําของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด และแพทย์ควรมีการตรวจสอบติดตามผลการรักษาคนไข้อย่างสม่ำเสมอ
เนื้อหาโดย Dodeden.com