ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

รอง เลขา อย. แจง มาตรการแก้ปัญหานมโรงเรียนบูด เร่งตรวจโรงงาน 40 จังหวัด ตั้งแต่เดือน ต.ค.- พ.ย. 58 พร้อมเก็บตัวอย่างส่งตรวจกรมวิทย์ฯ เพื่อเรียกความเชื่อมั่น พร้อมสั่งงดผลิตในโรงงานที่มีปัญหา จนกว่าจะได้รับการแก้ไข …

EyWwB5WU57MYnKOuXobVzcDHsPBWV7ImudS8wUQAZFMpP2XyPrIxVK

เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 58 หลังจากที่ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีความเป็นห่วงปัญหาที่พบนมโรงเรียนบูดหลายแห่ง ช่วงที่ผ่านมา จึงได้เร่งรัดให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข แก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเด็กนักเรียน

ล่าสุด นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ เกี่ยวกับมาตราการในการแก้ปัญหานมโรงเรียนบูด ว่า “มาตราการทั่วไปของ อย. จะทำงานร่วมกันกับสาธารณสุขจังหวัด รวมถึงปศุสัตว์จังหวัด โดนจะดำเนินการตรวจโรงงานหรือที่เรียกกันว่า GMP (Good Manufacturing Practice) ปีละ 2 ครั้ง จากนั้นจะเก็บผลิตภัณฑ์หรือตัวอย่าง ทั้งนมพาสเจอร์ไรส์ และยูเอชที ไปส่งตรวจ หากมีเรื่องร้องเรียน ทาง อย. จะมีมาตรกาารเพิ่มเติม โดยทางจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเข้าไปตรวจสอบ แต่ภาพรวมของทั้งประเทศ หน่วยงานที่จะรับเรื่องคือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)

จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทางกระทรวงสาธารณสุข จึงมีมาตราการที่เข้มข้นขึ้น โดย อย. จะร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด รวมไปถึงหน่วยงานของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าตรวจโรงงานใน 40 จังหวัด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งปกติมีเพียงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าไปดูแล โดยมีกำหนดระยะเวลาไว้ตั้งแต่เดือน ต.ค.-พ.ย. 58 หลังจากนั้นจะเก็บตรวจตัวอย่างทุกโรงงาน เพื่อส่งไปตรวจยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้จะส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มเก็บผลิตภัณฑ์นำไปตรวจสอบทุกเดือน เพื่อเรียกความมั่นใจให้ผู้ปกครอง ว่าบุตรหลานของท่านจะได้ดื่มนมปลอดภัยอย่างแน่นอน” นายแพทย์ไพศาล กล่าว

ส่วนบริษัทที่มีปัญหา รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า เจ้าหน้าที่ได้ลงไปตรวจสอบโรงงานเรียบร้อยแล้ว พบว่า มีปัญหาในเรื่องของกระบวนการฆ่าเชื้อ เนื่องจากผลวิเคราะห์ระบุชัดเจนว่า มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ส่งผลให้นมบูด เราจึงสั่งงดผลิตจนกว่าจะปรับปรุง ซึ่งทาง อย. จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจซ้ำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผลการตรวจจะผ่านหรือไม่ หากผ่านโรงงานก็จะเปิดดำเนินงานได้ตามปกติ แต่หากไม่ผ่านก็ต้องปิด ส่วนทางกฎหมายก็มีบทลงโทษระบุไว้อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากท่านผู้ปกครองมีข้อสงสัย สามารถแจ้งได้ที่อย. หรือโทรมาที่สายด่วน 1556 หรือเว็บไซต์ของ อย.

เรื่องน่าสนใจ