ที่มา: TNN 24

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ได้เก็บตัวอย่างปลาโอกับปลาแซลมอนในเมนูปลาดิบของร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ที่มีสีสดเกินปกติ นำมาทดสอบโดยการแช่เนื้อปลาในน้ำ ปรากฏว่ามีสีละลายออกมาชัดเจนและเนื้อปลาเปลี่ยนเป็นสีขาวซีด จนเกิดการตั้งข้อสงสัยว่าเนื้อปลาอาจมีการผสมสีลงไปนั้น 

21

ด้านรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เปิดเผยว่า เนื้อปลาดิบจัดอยู่กลุ่มอาหารทั่วไปประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ไม่อนุญาตให้ผสมสีทุกชนิดในเนื้อสัตว์ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจร้านอาหาร 5 แห่ง ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีหลากสาขาในห้างสรรพสินค้า เก็บตัวอย่างมาทดสอบทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อตรวจหาสีและเชื้อจุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดโรคต่อไป คาดว่าจะทราบผลภายใน 1 อาทิตย์ พร้อมแนะนำผู้บริโภคหากจะรับประทานปลาดิบให้สังเกตุจากสี กลิ่นและลักษณะของเนื้อปลา หากพบว่ามีสีสรรจัดกว่าธรรมชาติหรือเนื้อยุ่ยก็ไม่ควรรับประทาน

ทั้งนี้ หากตรวจพบว่ามีการใส่สีผสมอาหาร จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และหากตรวจพบผลิตภัณฑ์มีการใช้สีในอุตสาหกรรมอื่น เช่น สีย้อมผ้า สีย้อมอวน หรือ การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรคจะดำเนินการตามกฏหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เรื่องน่าสนใจ