อาการแพ้ยาชา เป็นภาวะอันตรายที่เรามักจะพบเจอในข่าวอยู่บ่อยๆ ซึ่งหลายคนก็อาจจะสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วเราล่ะ? มีโอกาสแพ้ยาชาเหมือนอย่างเขาบ้างมั้ยนะ? บทความนี้ โดดเด่นดอทคอมจะพาคุณไปหาคำตอบกันค่ะ

 

อาการแพ้ยาชา
ภาพจาก health.harvard.edu

 

ยาชา (Local Anesthetics) เป็นยาที่ใช้ระงับความรู้สึก เพื่อให้เราไม่มีความรู้สึกในบริเวณที่ต้องการ เพื่อรักษาบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งยาฉีด ยาพ่น และยาทา

 

คุณหมอใช้ยาชาอย่างไร?
ยาชาจะถูกพ่น ทา หรือฉีดเข้าไปบริเวณที่ต้องการ (คนละอย่างกับการดมยาสลบ) ซึ่งมันจะส่งผลให้ผิวหนังบริเวณหมดความรู้สึกไปเพียงชั่วครู่เท่านั้น (ประมาณ 45 นาที -1 ชั่วโมง)

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาชา มีอะไรบ้าง?
ในรายที่ไม่มีอาการของการแพ้ยาชา ก็อาจจะมีรอยช้ำ หรือเจ็บปวดเล็กน้อยในขณะที่ถูกฉีดยาชา ซึ่งจะหายไปเมื่อยาชาหมดฤทธิ์ แต่ในรายที่เป็นข่าวจากการแพ้ยาชานั้น ก็จะมี effects ที่รุนแรงตามมามากขึ้น เช่น เริ่มมีอาการปวดหัว มึนหัว สายตาพร่ามัว เริ่มมีผดผื่นคัน ตัวบวม กล้ามเนื้อกระตุก จนเริ่มหายใจติดขัดและหัวใจหยุดเต้นตามมาในที่สุด

การแพ้ยาชา มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?
ส่วนใหญ่แล้ว เปอร์เซ็นต์การแพ้ยาชานั้นมีน้อยมาก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน หากตัวคนไข้มีประวัติแพ้ยาอยู่แล้ว (นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ก่อนทำศัลยกรรม ทำไมเราจึงควรแจ้งประวัติการแพ้ยา “ทุกชนิด” ให้แพทย์ทราบ) หรืออีกทางหนึ่ง ก็อาจจะเกิดจากการใช้ยาชาในระดับที่มีความเข้มข้นสูง หรืออาจจะแพ้สารที่ผสมในยาชา จนทำให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อเป็นพิษ จนทำให้ความดันโลหิตต่ำ เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง และเมื่อเลวร้ายที่สุด ก็จะเข้าสู่ภาวะเลือดเป็นกรด จนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ และหายใจล้มเหลว

นอกจากนี้ ในคนที่อายุมาก เป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ความดันโลหิตต่ำ ก็เป็นประเภทบุคคลที่ต้องระมัดระวังในการใช้ยาชาให้มาก เพราะอาจเกิดโอกาสแพ้ยาชาสูงกว่าคนทั่วไป

 

ปริมาณมากสุดของยาชา ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย (maximum safe dose)
และค่าความเข้มข้นของยาชาในกระแสเลือด ที่ก่อให้เกิดภาวะพิษ (toxicity)

อาการแพ้ยาชา

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราแพ้ยาชา?
อย่างที่บอกว่าประวัติการแพ้ยานั้นเป็นสิ่งสำคัญ ปฎิเสธไม่ได้ว่ายังมีผู้คนบางกลุ่มที่ไม่ค่อยใส่ใจกับอาการแพ้ของตัวเองนัก เพราะคิดว่าไม่สำคัญและไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่หารู้ไม่ว่า ประวัติการแพ้ยาทุกชนิด จะเป็นตัวช่วยให้คุณหมอสามารถวิเคราะห์โอกาสเสี่ยงของเราได้ หากใครที่รู้ว่าตัวเองแพ้ยาชา หรือสงสัยว่าอาจจะแพ้ยาชา ควรปรึกษากับคุณหมอให้ดีค่ะ

ใช้ยาชาอย่างไร ถึงจะปลอดภัยกับตัวเรา?
คุณหมอจะต้องใช้ยาชาในปริมาณที่น้อยที่สุด ซึ่งอาจจะผสมยา epinephrine เข้าไปด้วย และฉีดยาครั้งละน้อย เพื่อสังเกตการเพิ่มขึ้นของความดันเลือด , อัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งยาตัวดังกล่าว จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดบริเวณใกล้เคียงหดตัว ส่งผลให้การดูดซึมยาชาเข้าสู่หลอดเลือดช้าลงด้วย

อาการแพ้ยาชา
ภาพจาก alchetron.com
lipid emulsion

 

หากเกิดภาวะแพ้ยาชา จนช็อค แพทย์จะช่วยเหลือเราอย่างไร?
เมื่อเกิดภาวะที่สุ่งเสี่ยงขึ้น แพทย์จะต้องหยุดฉีดยาชาทันที และขอความช่วยเหลือพร้อมทั้งรถฉุกเฉินและอุปกรณ์ช่วยชีวิต เริ่มให้อ็อกซิเจน 100 เปอร์เซ็นต์ หากเริ่มมีอาการชัก แพทย์ก็จะเริ่มให้ยาในกลุ่ม benzodiazepine และหากผู้ป่วยเริ่มมีอาการหัวใจหยุดเต้น แพทย์ก็จะให้ lipid emulsion ในปริมาณ 20% เพื่อให้ไปจับตัวกับยาชาที่อยู่ในกระแสเลือด และทำให้ยาชาหมดฤทธิ์ หลังจากนั้นก็จะทำการกระตุ้นหัวใจ

•••••••••••••••••••••••••••

เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญก็คือ เราจะต้องใส่ใจตัวเอง และหัดสังเกตว่าตัวเราเองนั้นแพ้ยาชา หรือมีโอกาสที่จะแพ้ยาชาหรือไม่ ควรแจ้งประวัติการแพ้ยาอย่างละเอียดให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง รวมไปถึงแพทย์ผู้ทำศัลยกรรมให้เรา ก็จะต้องมีความพร้อมและมีความรู้ที่สามารถช่วยชีวิตเราได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมก่อนทำศัลยกรรม เราจึงต้องเลือกคลินิก โรงพยาบาล และหมอที่มีความพร้อมเท่านั้นค่ะ 🙂

 

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

 

ป้ายกำกับ: |

เรื่องน่าสนใจ