ที่มา: dodeden

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ได้ระบุเกี่ยวกับ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นพิธีโบราณราชประเพณีที่สืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน   

15049815_1036438079799141_154221356_n

จากการสอบถามทาง อาจารย์อ๊อฟ สรพล ถีระวงษ์ กรรมการบริหารสมาคมนิยมไทย กลุ่มมรดกสยาม และอาจารย์พิเศษ ม.ธรรมศาสตร์ ลูกหลานของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สืบเชื้อสายราชสกุล อภัยวงศ์ ผู้ดูแลประสานงานด้านศิลปวัฒนธรรมและมรดก ได้ให้ข้อมูลกับโดดเด่นดอทคอมว่า

จากการสืบค้นข้อมูล หากย้อนกลับไปในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อแต่งหนังสือนี้ได้พบหมายกำหนดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 5 ครั้งปีมะโรง พุทธศักราช 2411 กลับทางอธิบายรายการต่างๆปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุบ้าง

ไปถามได้ความจากผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องในการพระราชพิธีครั้งนั้นบ้าง ปรากฏว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ส่งกำหนดรายการตามระเบียบแบบอย่าง ซึ่งพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งไว้

แต่รายการนั้นบางอย่างทรงตั้งเมื่อครั้งบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 4 บางอย่างทรงตั้งขึ้นต่อภายหลัง เพิ่งจะได้เข้าในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 5 เป็นครั้งแรก จึงเห็นสมควรจะกล่าวถึงระเบียบการที่แก้ไขเมื่อรัชกาลที่ 4 ไว้ในหนังสือนี้ด้วย

14997215_1036433556466260_1470087462_n

15033695_1036433543132928_1731518738_n

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 5 ครั้งปีมะโรง พุทธศักราช 2411

อันการที่ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ว่าที่แท้เป็น 2 พิธี คือพิธีราชาภิเษก (เฉลิมพระยศ) พิธีหนึ่งเฉลิมพระราชมนเทียร (เสด็จขึ้นประทับพระราชมนเทียรสถาน) พิธีหนึ่งทั้ง 2 พิธีนี้ไม่จำต้องทำด้วยกัน และปรากฏมาในเรื่องพงศาวดารว่า เคยทำห่างกันเป็น 2 คราวก็มี

ดังเช่นเมื่อสมเด็จพระมเหศวรมหาราชเสด็จผ่านพิภพก็ดี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จผ่านพิภพก็ดี หรือ เมื่อพระเจ้าบรมโกศเสด็จผ่านพิภพก็ดีก็ทำแต่พิธีราชาภิเษกอย่างเดียว เพราะคงเสด็จประทับอยู่วังจันทรเกษมต่อมาอีกหลายปีทั้ง 3 พระองค์

จนเมื่อเสด็จไปประทับพระราชวังหลวง จึงได้ทำพิธีเฉลิมพระราชมนเทียร แต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นโดยมาก เสด็จขึ้นประทับพระราชมนเทียรในคราวเดียวกับราชาภิเษก การพิธีทั้ง 2 จึงทำเหมือนเช่นเป็นพระราชพิธีอันเดียวกัน ลักษณะการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ( เรื่องตำนานพิธีราชาภิเษกได้พรรณนาไว้โดยพิสดารอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ที่ข้าพเจ้าแต่ง )

ตำรานี้ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ 1 เมื่อทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 พร้อมกับสมโภชพระนคร ซึ่งทรงสร้างสำเร็จในปีมะเส็งพุทธศักราช 2328 สันนิษฐานว่าในครั้งนั้นพิธีส่วนราชาภิเษกเห็นจะทำที่พระมหาปราสาท และทำเป็นพิธีพราหมณ์ ส่วนพิธีเฉลิมพระราชมนเทียรทำที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน อันเป็นที่เสด็จประทับ ทำเป็นพิธีสงฆ์

ครั้นถึงรัชกาลที่ 2 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะทำที่พระมหาปราสาทอย่างแต่ก่อนไม่ได้ ด้วยพระบรมศพประดิษฐานอยู่ที่นั่น จึงย้ายมาที่ทำการพิธีราชาภิเษก ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ แต่ส่วนพิธีเฉลิมพระราชมนเทียรคงทำในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานอย่างเดิม (พระบาทสมเด็จฯพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังเป็นกรม ได้ทรงแต่งโครงลิลิตพรรณนารายการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ทำครั้งรัชกาลที่ 2 ถี่ถ้วนทุกอย่าง หนังสือพิมพ์แล้วเรียกว่า โครงลิลิตยอพระเกียรติ)

คือมีสวดมนตร์ เลี้ยงพระ 3 วัน จัดที่สวดมนต์เป็น 2 แห่งพระราชาคณะหมู่ใหญ่ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน สวดมนต์ในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ด้านตะวันตก ทางองค์ด้านตะวันออกซึ่งเป็นที่พระบรรทมนั้น พระสงฆ์วัดราชสิทธิ์ 4 รูป สมเด็จพระวันรัตนนั่งปรก สวดภาณวารบนพระแท่นที่พระบรรทม แต่เลี้ยงพระรวมกันทางด้านตะวันตก

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับทรงสดับสวดภาณวารที่ในที่ทั้ง 3 วัน ส่วนพิธีราชาภิเษกนั้น ปลูกมณฑลพระกระยาสนานที่ศาลาหลังพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางด้านตะวันออก ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณตั้งพระแท่นมณฑล พระที่นั่งอัฐทิศ พระที่นั่งภัทรบิฐและตู้เทียนชัย มีการพิธีแต่สมเด็จพระสังฆราชจุดเทียนชัยเมื่อวันแรก

(ลักษณะการพิธี มีเทียนชัยเช่นพิธีตรุษเป็นต้น ตามแบบโบราณพระเจ้าแผ่นดินทรงจุดเอง สมเด็จพระสังฆราชเป็นแต่ผู้กำกับ ทำนองจะมีหน้าที่บอกคาถาให้ทรงบริกรรม แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแต่ทรงจุดเทียนชนวนและทรงอธิษฐาน แล้วให้สมเด็จพระสังฆราชจุดเทียนชัย จะบัญญัติแต่รัชกาลไหนหาทราบไม่) และพราหมณ์ถวายน้ำสังข์ใบสมิธ

สำหรับพระเคราะห์ในวันต่อๆมา แล้วทำพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 3 ส่วนพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยนั้นไม่มีการพิธีอันใด จัดไว้แต่เป็นที่เสด็จออกรับราชสมบัติเมื่อราชาภิเษกแล้วอย่างเดียว ถึงรัชกาลที่ 3 การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมราชมนเทียร ไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด

( มีคำกล่าวกันมาว่า พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงมหามงกุฎเลยจนตลอดรัชกาล แต่ในโคลงลิลิตปรากฎว่าเครื่องราชกกุธภัณฑ์และราชูปโภคซึ่งพระครูพราหมณ์ถวายนั้น พระบาทสมเด็จฯ พุทธเลิศหล้านภาลัยทรงรับด้วยพระหัตถ์แต่พระมหามงกุฎ แล้วเอาวางไว้ข้างพระองค์ สิ่งอื่นพระครูพราหมณ์จัดตั้งถวาย เพราะฉะนั้นที่พระบาทสมเด็จฯ  พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพระมหามงกุฏเป็นแต่ตามอย่าง)

แต่มาถึงรัชกาลที่ 4 ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริแก้ไขและตั้งแบบแผนเพิ่มเติมหลายอย่าง

king_rama_ix_being_presented_with_regalia_at_coronation

king_bhumibol_coronation_2

ภาพจากวิกิพีเดีย : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

เรื่องน่าสนใจ