ที่มา: dodeden

ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า  หลังจาก  เกิดกรณี ดราม่า วิจารณ์ยับ  “เก่ง ธชย” คนญี่ปุ่น อึ้งเสื้อผ้า แต่งชุดไทยแบบนี้ไปโชว์ งาน “Asia Music Festival 2017” ณ เมืองฮามามัตสึ

โดยในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์เนื้อหา จากโดดเด่นดอทคอม ไปตามกระทู้ และ เว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้จะพบว่ามีนักวิชาการออกมาแนะนำ เรื่องดีๆ เพื่อให้ถูกแบบ แต่ก็โดนดราม่า ทำให้ครู และ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่อยากออกตัวมากนัก แต่จะเป็นลักษณะการพูดคุยในกลุ่มนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศมากกว่า ซึ่งทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่ไม่ใช่การโต้ข่าวแน่นอน

สำหรับเนื้อหาข่าวจากโดดเด่นดอทคอม ระบุว่า  “เก่ง ธชย” ที่ได้รับเชิญไปร่วมโชว์ฝีไม้ลายมือในงาน “Asia Music Festival 2017” เทศกาลดนตรีเอเชียที่เมืองฮามามัตสึ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันอาทิตย์ที่  7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในฐานะ “ตัวแทนศิลปินนักร้องชาวไทย” ที่ครั้งนี้เตรียมตัวไปแบบเต็มเหนี่ยวเหมือนเคย ทั้งโชว์ทั้งชุด ต่างๆ

“สำหรับ Asia Music Festival 2017 เป็นงานเทศกาลดนตรีที่จัดขึ้นที่เมืองฮามามัตสึที่อยู่ในจังหวัดชิซึโอกะประเทศญี่ปุ่นครับ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ภายในงานก็จะมีศิลปินมากมายจากหลากหลายประเทศในเอเชียมาร่วมสร้างสีสัน

ซึ่งปีนี้เก่งมีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ก็รู้สึกดีใจมากครับ และมาคราวนี้ใช้เวลา เตรียมตัวค่อนข้างนาน เพราะไม่ได้มาคนเดียว แต่เอาวงดนตรีมาด้วยหมดเลย ก็จะมีทั้งเครื่องดนตรีไทย สากล มาประยุกต์เล่นด้วยกันตามสไตล์ของของเก่ง  เราสัมผัสได้ว่าพวกเค้าตั้งใจมาดูเรา เอาใจช่วยเรา ส่งยิ้มบ้าง ปรบมือ โบกมือมาให้เรา

เราก็ไม่กังวลแล้วทีนี้จัดเต็มเลยครับ พอลงมาก็มาขอลายเซ็นต์ขอถ่ายรูปด้วยทั้งวงเลย อาจจะสะดุดตาตรงเสื้อผ้าที่เตรียมไปให้นักดนตรีใส่ด้วย ( เก่งหัวเราะ ) ดีต่อใจครับขอบคุณครับ”

อย่างไรก็ตาม “เก่ง ธชย” ได้รับเชิญไปร่วมโชว์ฝีไม้ลายมือในงาน “Asia Music Festival 2017” ในฐานะ “ตัวแทนศิลปินนักร้องชาวไทย” ทำให้มีคนมาวิพากษ์วิจารณ์ชุดที่สวมใส่ว่ามีความเป็นไทยตรงไหน ? แม้จะนำเอาเอกลักษณ์บางอย่างมาตกแต่ง แต่ก็ดูผิดรูปแบบไปไกลมาก ซึ่งเนื้อหาข่าวไม่ได้เอ่ยชื่อแหล่งข่าว 

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า วันนี้ ( 9 พฤษภาคม 2560 ) อาจารย์สรพล ถีระวงษ์ หรือ อ.อ๊อฟ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี พ.ศ.2560 สาขา พัสตราภรณ์โบราณ ผู้ดูแลประสานงานด้านศิลปวัฒนธรรมและ กลุ่มมรดกสยาม  ได้กล่าวว่า  กรณี  “เก่ง ธชย”  และวงดนตรี นำเอา เครื่องดนตรีไทย สากล มาประยุกต์เล่นด้วยกันตามสไตล์ของเก่งนั้น ตนขอบอกว่าทำได้ และ ต้องย้ำว่า สามารถกระทำได้แน่นอน

แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะตนเป็นกรรมการ กลุ่มมรดกสยาม นั้นอยากจะบอกว่า การนำเอานาฏศิลป์ไทยที่เป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรีของไทย เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขนมาประยุกต์ ในตัวของ “เก่ง ธชย”  ต้องบอกว่า ไม่ถูกแบบ ย้ำว่าไม่ถูกแบบ ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง เพราะเก่งไปในฐานะ “ตัวแทนศิลปินนักร้องชาวไทย ย่อมมีการวิพากษ์วิจารณ์ได้

โดย การแต่งกายของ “เก่ง ธชย”  ตนมองว่าลวดลายความเป็นไทยไม่ชัดเจน   เพราะการแต่งกายประยุกต์ชุดต่างๆ ให้ร่วมสมัยจะต้องทำให้มีน้ำหนัก เอกลักษณ์ ความอ้อนช้อย เหมาะสมที่ชัดเจน

สำหรับ ในส่วนของชุดนักดนตรีนั้น อาจารย์สรพล กล่าวว่า การประดิษฐ์เครื่องศิราภรณ์และหัวโขน ขั้นตอนแรกก่อนจะลงรักปิดทองนั้น เมื่อขึ้นโครงสร้างแล้วจะต้องกระแหนะยางรักประดับลวดลายจนเสร็จ หรือภาษาช่างเรียกว่าหัวครูดำ

“การแต่งกายของนักดนตรี ดูไม่ชัดเจนในการสื่อของความเป็นไทย เราจะไม่ใช้คำว่า การแต่งกายแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ ? ซึ่งไม่มีผิดถูก แต่จะใช้คำว่า การแต่งกายของนักดนตรี มันดูผิดแบบ ถึงแม้จะบอกว่าประยุกต์ตามสไตส์ที่เห็นๆ กันมาก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่ต้องเน้นสร้างสรรค์ในเชิงเข้าใจ มิฉะนั้น จะถูกมองว่าเอาแนวความคิดการแต่งกายของชาติอื่นมาทำให้เด่นเกินไปกว่าไทย

ผมมองว่าทำได้ และ ย้ำว่าทำได้ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้  ซึ่งก่อนหน้านี้ ครูนาฏศิลป์ไทย ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เคยออกมาพูดกันหมดแล้ว และ บางท่านก็ไม่อยากพูดอีก ทำได้แต่มองเฉยๆ ซึ่งผมอยากแนะนำเรื่องดีๆ เพราะหวังดี เนื่องจากสมัยโบราณก็มีการนำเอานาฏศิลป์ไทยมาประยุกต์เหมือนกัน และ หากตอนนี้เก่งจะทำบ้าง ก็ทำได้เลย แต่อยาก ให้คิดก่อนทำ และปฏิบัติออกมาในเชิงสร้างสรรค์”

ทั้งนี้ ในอดีต  “อาจารย์อ๊อฟ สรพล”  เคยทำงาน กลุ่ม นาฏศิลป์ ฝ่ายพัสตราภรณ์และเครื่องโรง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ที่มีพรสวรรค์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ได้ริเริ่มให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแต่งชุดไทยกับบรรดาดารา นายแบบ นางแบบ นักแสดงชื่อดัง โดยมีผลงานมากมาย

เช่น  ละครอำแดงเหมือนกับนายริด ที่คว้ารางวัลละครโทรทัศน์แห่งปี ซึ่งอ๊อฟ-สรพล ได้ดูแลเรื่องวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 4 , ละครเวทีของพ่ออี๊ด -สุประวัติ ปัทมสูต และ พ่อรอง เค้ามูลคดี เรื่อง “อลหม่าน บ้าน พ่อแผน”  ฯลฯ

รวมทั้งที่ฮือฮาคือ เมื่อวันที่ 5 เมษายน อาจารย์อ๊อฟ สรพล”  ได้เป็นครูนาฏศิลป์ให้กับ น้องน้ำตาล ชลิตา ส่วนเสน่ห์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2016 รำถวายสักการะและขอพรท่านท้าวมหาพรหม ที่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท

ซึ่งอาจารย์อ๊อฟ สรพลได้ให้น้ำตาล ชลิตา แต่งกายชุดนางในแบบอยุธยาตอนปลาย รำถวายพระพรในเพลงตระนิมิตร มีวงปี่พาทย์เล่นสดประกอบ ด้านหน้าท้าวมหาพรหมด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ โดย อาจารย์อ๊อฟ สรพล ดูแลการแต่งกาย นาฏศิลป์ไทย ตลอดจนการรำหมู่ ซึ่งรำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียงกันอย่างถูกแบบ

อาจารย์อ๊อฟ-สรพล ถีระวงษ์ ดูแลเครื่องแต่งกายให้กับ ม้า อรนภา กฤษฎี โดยชุดไทยนั้น ม้า อรนภา ระบุว่าช่างงดงาม ปราณีต

เรื่องน่าสนใจ