อินูลิน และฟรุคโตโอลิโก แซคคาไรด์ กับเทรนด์ฟื้นฟูสุขภาพที่กำลังมาแรง! เพราะปัจจุบัน ผู้คนต่างให้ความสําคัญ กับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการเลือกทานอาหาร ซึ่งถือเป็นวิธีการดูแลสุขภาพง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทําได้ อาหารเพื่อสุขภาพจึงมีออกมาให้เลือกมากมายในท้องตลาด…แต่ยังมีอาหารเพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่งที่กําลังมาแรง ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้จัก นั่นก็คือ อินนูลินและฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์

 

อินูลิน

อินูลิน และฟรุคโตโอลิโก แซคคาไรด์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ

ฟรุกแตน ประกอบด้วยอินนูลิน และฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ โดยย่อยไม่ได้ และส่วนปลายของอินนูลิน มักจะเชื่อมต่อด้วยน้ำตาลกลูโคส ส่วนฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์นั้นมักเกิดจากการย่อยของอินนูลินจนเกิดเป็นสายสั้นๆ ของน้ำตาลฟรุกโตส ที่เชื่อมต่อกันน้อยกว่า 10 ตัว ซึ่งทั้งอินนูลินและฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรต์นี้จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานต่ำ และมีค่าดัชนีน้ำตาลน้อย

มีประโยชน์อย่างไร?
เป็นสารที่นิยมอย่างมากในการเติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายชนิด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านหลักๆ 2 ด้าน คือ เป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ และเป็นพรีไบโอติก จากการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมสารเหล่านี้ได้ แต่สามารถเกิดการหมักบริเวณลําไส้ใหญ่ ทําให้เกิดสภาวะเป็นกรดอ่อนๆ บริเวณนี้ ซึ่งจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถเจริญเติบโตได้มาก และจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ก็ลดจํานวนลงอย่างมาก มันจึงเป็นตัวช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากใยอาหารทั่วๆ ไป

อินูลิน
ภาพจาก clevelandclinic.org

เพราะฉะนั้น สารทั้งสองจึงได้รับการกล่าวอ้างว่าเป็นสารที่เกิดประโยชนต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น ช่วยในการขับถ่าย ลดอาหารท้องผูก เพิ่มมวลอุจจาระ ช่วยการควบคุมน้ำหนัก ช่วยในการพาสารพิษออกจากร่างกาย เพิ่มการดูดกลับของแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากนั้น ยังมีส่วนช่วยในการลดการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ เนื่องจากช่วยทําให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ และระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้ และมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

แหล่งของฟรุกแตนที่เป็นอินนูลิน
พืชที่เป็นแหล่งของอินนูลินเรียงจากมากไปน้อยตามลําดับ ได้แก่ กระเทียมโทน, กระเทียมจีน, กระเทียมไทย, แก่นตะวัน, หอม และหอมแดง ในขณะที่ปริมาณฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ ที่พบเรียงจากมากไปน้อย คือ แก่นตะวัน, หอม, หอมแดง, กระเทียมจีน, กระเทียมโทน และกระเทียมไทย ตามลําดับ นอกจากนั้นในอาหารชนิดต่างๆ ที่มีการเติมอินนูลิน จํานวน 266 ตัวอย่างพบว่า อาหารที่มีการเติมอินนูลินสูงได้แก่ อาหารควบคุมน้ำหนัก กาแฟผสมสําเร็จรูป เครื่องดื่มผง อาหารสําหรับหญิงตั้งครรภ์ นมถั่วเหลือง และนมผง โดยปริมาณการเติม จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการมุ่งผลต่างๆ ของร่างกาย

จากคุณสมบัติทางโภชนาการ และลักษณะทางกายภาพ ทําให้อินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ ได้รับความนิยมในการนํามาเติมลงในผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสุขภาพอย่างกว้างขวาง เนื่องจากไม่ทําให้รสชาติและเนื้อสัมผัสของอาหารเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้เป็นสารทดแทนไขมัน สารทดแทนน้ำตาล และอาหารที่เสริมใยอาหาร และจากคุณสมบัติของอินนูลินในการเกิดเจลได้, ละลายน้ำได้ง่าย และคุณสมบัติในการยึดเกาะดี อินนูลินจึงถูกนําไปใช้ในอาหารไขมันต่ำ เช่น ซอส ซุป และ ครีมทาขนมปัง นําไปใช้ในขนมแช่แข็ง เช่น ไอศกรีม และนําไปใช้ในการทําขนมธัญพืชแบบแท่ง เป็นต้น

………………………………………………………………………

จะเห็นได้ว่า อินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ เป็นสารสําคัญที่ถูกนําไปใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารหลากหลายชนิด นับเป็นการเปิดโอกาสใหม่ให้กับวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่ต้องการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาหารควบคุมน้ำหนัก อาหารที่ช่วยควบคุมน้ำตาล ไขมัน และอาหารที่ช่วยกระตุ้นจุลชีพในลําไส้ เป็นต้น อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคอีกด้วย

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ