ที่มา: springnews

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองราชธานีเก่าแก่ของไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี และยังคงเหลือโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญ รุ่งเรือง และ อัจฉริยภาพของบรรพบุรุษของชาวกรุงศรีอยุธยา โดยประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 2534

33

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,810 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา เขตเทศบาลเมือง พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือ ตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 3,000 ไร่

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

โบราณสถานเท่าที่สำรวจพบแล้ว ทั้งภายในเมือง และนอกกำแพงเมืองมี 425 แห่ง ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโบราณสถานสำคัญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในเกาะเมือง และพื้นที่ด้านทิศเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมือง มีโบราณสถานที่สำรวจพบแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 95 แห่ง ประกอบด้วย

  1.  พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง
    พระราชวังโบราณตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ริมแม่น้ำลพบุรี ปัจจุบันเหลือแต่เพียงฐานรากพระที่นั่งองค์ต่างๆ เนื่องจากถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๒ พระราชวังโบราณนี้สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อทรง อุทิศที่ตั้งของพระราชมณเทียรเดิมที่สร้างไว้ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ให้เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์
  2. วัดพระศรีสรรเพชญ์
    เป็นวัดที่สำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยา โดยแต่เดิมสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงสร้างพระราชมณเทียรขึ้นที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงอุทิศบริเวณพระราชมณเทียรให้เป็นวัด ในเขตพระราชวัง สำหรับเป็นที่ประกอบพระราชพิธีที่สำคัญ และเป็นที่เสด็จออกบำเพ็ญพระราชกุศล
  3. วัดราชบูรณะ
    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๖๗ ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพ เจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้ง ๒ พระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์เนื่องจากการสู้รบแย่งชิงราชสมบัติ
  4. วิหารพระมงคลบพิตร
    พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปสำริด องค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งสันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้บูรณะวิหารพระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

060809_9_1

96017cb60dccf3ecd432f1122d0d3217

IMG_8720_Cover-620x392

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร” ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลก เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

ข้อมูลจาก wikipedia, kanchanapisek

ภาพจาก edtguide,mglobemall,

เรื่องน่าสนใจ