ที่มา: มติชน

ไดอานา เกรเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสื่อ บนเว็บไซต์ฮัฟฟิงตันโพสต์ เขียนบทความกล่าวถึงเหตุการณ์การกลั่นแกล้งทางโซเชียลมีเดียโดยเด็กผู้เหญิงอายุ12ปี และ 14 ปี

ซึ่งทำให้ รีเบกกา แอน เซ็ดวิกค์ เด็กหญิงวัย 12 ปี ต้องฆ่าตัว สิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในกรณีนี้คือ อายุของทั้งเหยื่อ และหนึ่งในผู้กระทำในเหตุการณ์ ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะสามารถใช้โซเชียลมีเดียได้

14213014391421301470l

ทั้งนี้ อายุขั้นต่ำที่จะสามารถใช้เปิดบัญชีเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์,อินสตาแกรม และพินเทอเรสต์ อยู่ที่ 13 ปี ขณะที่ยูทูป กำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 18 ปี แต่เด็กวัย 13 ปี สามารถลงทะเบียนได้หากได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง

แต่ถึงแม้จะมีการกำหนดอายุผู้ใช้สื่อเหล่านี้อย่างชัดเจนแต่ก็ยังมีเด็กๆ อายุน้อยกว่า 12 ปี ใช้สื่อออนไลน์เหล่านี้โดยความรับรู้และยินยอมของผู้ปกครอง

จากการสำรวจของเว็บไซต์ knowthenet.org.uk เด็กกว่า 59 เปอร์เซนต์ เริ่มใช้โซเชียลมีเดียตั้งแต่อายุ 10 ปี และผู้เขียนกล่าวว่าเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จำนวนมากใช้เวลาไม่น้อยไปกับการโพสต์ และแชร์รูป เพื่อเรียกยอดไลค์จากเพื่อนๆ

แม้ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียบางรายจะเพิ่มความยุ่งยากในการลงทะเบียนแต่เด็กๆก็ยังสามารถใช้ข้อมูลเท็จและขโมยข้อมูลบางส่วนของผู้ปกครองมาสมัครใช้งานได้อยู่ดีและเธอได้ให้เหตุผล3 ประการที่การจำกัดอายุของผู้ใช้โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนตัวของเด็กตกอยู่ในความเสี่ยง(จากการถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่สมควร) แม้จะมีกฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี

โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแจ้งเตือนและขอความยินยอมจากผู้ปกครองในการเก็บข้อมูลส่วนตัวเช่นชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และชื่อที่ใช้ลงทะเบียนของเด็ก ผู้ให้บริการยังถูกห้ามมิให้เก็บข้อมูลที่บ่งชี้ที่อยู่, ภาพ, วิดีโอ หรือไฟล์เสียง ของเด็ก

แต่กฎหมายฉบับนี้จะไม่ถูกนำมาใช้หากเด็กใช้วันเกิดปลอมในการลงทะเบียน 2.เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ยังไม่พร้อมที่จะตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ผู้เขียนอ้างถึงงานวิจัยว่าสมองของเด็กต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12 ปี ที่จะพัฒนาโครงสร้างเพื่อการเรียนรู้ ที่จะทำให้พวกเขาสามารถตัดสินใจในประเด็นด้านศีลธรรมได้อย่างเหมาะสม

ซึ่งเด็กที่อายุต่ำกว่านั่นยังขาดวิจารณญาณที่ดีพอ ทำให้หลายครั้งการกระทำของผู้เขากระทบต่อผู้อื่น หรือพาตัวเองเข้าไปสู่ห้วงของปัญหา โดยที่พวกเขายังไม่อาจรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้ดีพอ

 3. การโกหกเป็นสิ่งที่ผิด เธอเชื่อในการอยู่ร่วมกันในสังคมอารยะที่คนยอมรับกฎเกณฑ์ และไม่โกหกต่อกัน เธอมองว่าแม้การใช้ข้อมูลวันเกิดที่เป็นเท็จดูจะไม่ใช่เรื่องที่เลวร้าย แต่เธออยากให้ทุกคนยอมรับหลักการเรื่องความสุจริตและความซื่อสัตย์ ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือโลกออนไลน์

เรื่องน่าสนใจ