อ้วนไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่อันตรายที่ไขมันสะสมในช่องท้อง แต่อันตรายที่ไขมันสะสมในช่องท้อง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ความอ้วนไม่ได้อยู่แค่ “ตัวเลข บนตาชั่ง” หรือน้ําหนักตัว แต่ความอ้วนอยู่ส่วนไหนของ ร่างกายอีกบ้าง? การนําเพียงแค่น้ําหนักตัวมาใช้ประเมินความอ้วนเป็นหลักนั้น อาจบอกผลคลาดเคลื่อนได้ เพราะองค์ประกอบของน้ําหนักตัว ประกอบด้วยกระดูก กล้ามเนื้อ ไขมัน สารน้ําต่าง ๆ จะมีสัดส่วนแตกต่างไปในแต่ละเพศอีก ทั้งสรีระ กลไกการทํางานภายในร่างกายของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนกระดูกใหญ่ บางคนกล้ามใหญ่ บางคนกระดูกเล็ก บางคนบวมน้ํา เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงตัวเลขบนตาชั่งได้
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น นักเพาะกายที่ทั้งตัวมีกล้ามเนื้อมาก แทบจะไม่มีมวลไขมันเลย แต่มีน้ําหนักตัวร้อยกว่ากิโลกรัม กลับถูกประเมินตามเกณฑ์ว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งไม่ใช่ หรือเปรียบเทียบกับผู้หญิงตัวเล็กๆ น้ําหนักตัวอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี แต่เมื่อตรวจสุขภาพโดยละเอียด กลับพบว่ามีสัดส่วนไขมันในร่างกายเยอะมาก เพราะร่างกายไม่มีมวลกล้ามเนื้อเลย ซึ่งกรณีนี้ จริงๆ แล้ว สามารถได้รับการตรวจและวินิจฉัย ว่าเป็นโรคอ้วนได้ เนื่องจากไขมันกระจายสะสมไปได้ทั่วร่างกาย ตามต้นแขน ต้นขา รอบเอว รอบสะโพก
หรือแม้กระทั่งไขมันที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นที่สะสมลึกเข้าไปหลังกล้ามเนื้อหน้าท้อง หรือเรียกว่า “ไขมันสะสมบริเวณรอบอวัยวะในช่องท้อง” (Visceral Fat) ต่างๆ เช่น ตับ ตับอ่อน กระเพาะอาหาร ลําไส้ แม้กระทั่งปอด จากการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ของทอด ของมัน อาหารหวานจัด และขาดการออกกำลังกาย
ภาวะน้ําหนักเกิน และโรคอ้วน ถูกนิยามจากการสะสมของมวลไขมันในร่างกาย ปัจจุบันจึงไม่ได้ใช้ตาชั่ง และค่า BMI เป็นตัวชี้วัดโรคอ้วน อีกแล้ว แต่จะใช้การพิจารณาสัดส่วนมวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน และมวลกระดูกแทน
ปัญหาด้านเมแทบอลิก (Metabolic Consequences)
เมื่ออ้วนขึ้น การเผาผลาญก็ไม่ดี น้ําตาลก็สูงขึ้น หัวใจก็ทํางานหนักขึ้น น้ําตาลสูงก็เหมือนเอาน้ําหวานไปใส่ในเลือด เลือดก็ข้นขึ้น หัวใจที่เหมือนตัวปั๊ม ก็ต้องบีบแรงขึ้น เมื่อบีบแรงขึ้น ก็ทํางานหนักขึ้น ไม่นานก็จะมีโรคตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
เมื่ออ้วนขึ้น ขยับตัวช้าลง เราจะหิวมากขึ้น กินอาหารไม่ดี ออกกําลังน้อย ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก
ปัญหาทางเดินอาหารและตับ (Gastrointestinal Problems)
โรคอ้วน เป็นสาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน ไขมันพอกตับ คอเลสเตอรอลที่สูงขึ้นในน้ําดี ทำให้เกิดโรคถุงน้ําดีอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที
ปัญหาทางเดินหายใจ (Respiratory Complications)
เมื่อน้ําหนักตัวมากเกินเกณฑ์ จะทําให้สมรรถภาพปอดลดลง จนเกิดปัญหาการนอนกรน และมีโอกาสหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ได้ เนื่องมาจากการตีบแคบลงของทางเดินหายใจที่มีไขมันสะสมปริมาณมาก หรือลิ้นไหลย้อนไปปิดทางเดินหายใจ ส่งผลทําให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพไปด้วย การนอนไม่มีคุณภาพ จะทําให้ไม่สดชื่น เซื่องซึม มีอาการอ่อนเพลียในเวลากลางวัน ประสิทธิภาพการทํางานลดลง หรือง่วงขณะขับขี่ยานพาหนะ
เมื่อสุขภาพร่างกาย อวัยวะของคนเรานั้น เกิดความเสียหาย อวัยวะบางชิ้นยังไม่มีอะไหล่ที่ทดแทน แม้รักษาได้ แต่ไม่อาจกลับมามีสภาพดีสมบูรณ์ แข็งแรงได้เหมือนเดิม เพราะ “สุขภาพคือสมบัติที่สําคัญที่สุด” เราจึงต้องดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้อยู่อย่างแข็งแรงยืนยาว อย่างมีคุณภาพกันนะคะ โดยเริ่มสังเกต และสํารวจร่างกายของตัวเองตั้งแต่วันนี้ ว่ามีน้ําหนักเกิน มีไขมันสะสมส่วนไหนมากเกินไปไหม หรือมีความผิดปกติในร่างกายอื่น ๆ หรือเปล่า ถ้าพบ ว่า “มี” แนะนําให้รีบปรับปรุงและแก้ไข อย่าปล่อยให้ “ความอ้วน” คุกคาม