ฮอร์โมนของสาวๆ มีความสำคัญอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักกัน! เพราะช่วงนี้กระแสดูแลสุขภาพกำลังมาแรง เราเลยแอบอินเทรนด์ขอหยิบยกเรื่องฮอร์โมนของผู้หญิง มาให้ความรู้กันซะเลย เพื่อที่สาวๆ จะได้สังเกตุและสามารถเข้าใจตัวเองได้มากยิ่งขึ้นค่ะ
ฮอร์โมนที่สำคัญของเพศหญิงนั้นจะประกอบไปด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนเปอเจสเตอโรน เมื่อเราย่างเข้าสู่วัยสาว สมองส่วนไฮโปธาลามัส และพิทูอิตารี จะมีการหลั่งฮอร์โมนออกมา เพื่อกระตุ้นการทำงานของรังไข่ ให้เริ่มมีการผลิตเซลล์สืบพันธ์และมีการหลั่งฮอร์โมนเพศออกมา ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับตามรอบประจำเดือนนั่นเอง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน ในร่างกายส่วนใหญ่จะสร้างมาจากรังไข่ มีส่วนน้อยมากที่สร้างมาจากไขมัน ต่อมหมวกไต ตับ โดยที่รังไข่จะเริ่มสร้างเอสโตรเจนเมื่อเข้าสู่วัยสาว จนกระทั่งเมื่อเราถึงวัยหมดประจำเดือน (อายุประมาณ 49–50 ปี) หลังจากนั้นร่างกายของเราก็จะมีเอสโตรเจนลดลงอย่างมาก หากว่าเราได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้างออกไป ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
ซึ่งหน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจน ก็คือ จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของผู้หญิง ทำให้สะโพกผายออก อวัยวะเพศ มดลูก และเต้านมใหญ่ขึ้น มีขนที่รักแร้และอวัยเพศ มีเสียงแหลมเล็ก ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด โดยเอสโตรเจนจะช่วยเพิ่มระดับของโคเลสเตอรอลชั้นดี และลดโคเลสเตอรอลชั้นเลว ทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มกัน จึงไม่ค่อยเป้นโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดสมอง หรือหัวใจอุดตันนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยในเรื่องความจำ การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้เยื่อบุบริเวณทางเดินปัสสาวะแข็งแรง ถ้าหากว่าสาวๆ อย่างเราขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ก็จะทำให้กระเพาะปัสสาวะบางลง ยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้กลั้นปัสสาวะได้ลำบากมากยิ่งขึ้นในการตั้งครรภ์ จะทำให้เยื่อบุมดลูกภายในร่างกายของเราหนาขึ้น และเหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อน ทำให้ท่อนำไข่บีบตัวผลักตัวอ่อนมาฝังอยู่ในตัวมดลูกได้
ฮอร์โมนเปอเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีปริมาณที่สูงมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการตกไข่ (ช่วงสองสัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนจะมา ) มีหน้าที่สนับสนุนการตั้งครรภ์ คือ ทำให้เยื่อบุของโพรงมดลูก เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อน ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น ป้องกันไม่ให้อสุจิเข้ามาผสมกับไข่ที่ได้รับการผสมแล้วอีก ช่วยไม่ให้มดลูกหดรัดตัวระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้ร่างกายของเราผ่อนคลาย ง่วง และเจริญอาหารได้ดีอีกด้วย
ถ้าเรามีฮอร์โมนมากหรือน้อยจนเกินไป จะเป็นยังไงนะ ?
ภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยค่ะ โดยเฉพาะในวัยที่กำลังหมดประจำเดือน จะทำให้มีอาการวูบวาบเหงื่อออก นอนไม่หลับ หงุดหงิด ช่องคลอดแห้ง ผิวพรรณเหี่ยวย่น ส่วนภาวะอื่น จะทำให้ร่างกายขาดเอสโตรเจนได้ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร ออกกำลังกายหนักมากเกินไป ความเครียด และโรคเรื้อรังต่างๆ ค่ะ
………………………………………………………………….
การรักษาฮอร์โมนให้สมดุลได้ง่ายๆ คือ ลดความเครียด ทานอาหารให้เพียงพอ ไม่ออกกำลังกายหนักมากจนเกินไป ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องใช้ยาฮอร์โมนดแทน ก็ต้องอยู่ในความดูแลของแพย์เท่านั้นค่ะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com