วันนี้โดดเด่นนำ เกร็ดน่ารู้ที่ควรทราบ เกี่ยวกับการศัลยกรรม “เสริมจมูกด้วยซิลิโคนแท่ง” มาฝากกัน เริ่มจากที่เราต้องทราบความต้องการของตัวเองก่อนว่าจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณอยากจะเสริมจมูกขึ้นมานั้น เพราะอะไร ?
คงไม่ใช่ว่า เห็นคนอื่นทำแล้วดูดี เลยอยากทำบ้าง เพราะโครงหน้าแต่ละคนไม่มีทางที่จะเหมือนกัน หรือทำเลียนแบบกันแล้วได้ผลที่ดูดีเสมอไป แต่การที่หน้าของคุณจะดูดีขึ้น ในมุมมองของคนส่วนใหญ่ (ไม่ใช่ว่าฉันชอบของฉัน แต่ทำไมเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนอื่น) ควรจะประกอบด้วย
สำคัญมากอีกข้อคือ มีผิวหนังบาง อยากได้โด่งมากๆ ก็เสี่ยงต่อการทะลุ หรือจับผิวหนังก็ยังดูเหลือ น่าจะใส่เพิ่มได้อีก ลองนึกถึงถุงบาง ๆ ยัดของเข้าไปมาก ๆ ต่อให้ถุงไม่ขาดก็ตามที แต่ขอบสันของ ของที่ใส่อยู่ในถุงก็ดันเนื้อออกมา คือ เห็นเป็นขอบสันของซิลิโคน
เมื่อทราบจุดบกพร่องของโครงสร้างเดิมแล้ว ก็มา”เติมเต็ม” ส่วนที่ขาดหายไป ย้ำไว้ว่าไม่ใช่ใส่จนล้น จมูกที่เสริมเกินสัดส่วนที่เหมาะสมจะทำให้ดูเด่นก็จริง แต่จะเป็นในทางลบมากกว่า
ภาพจาก bbbeautycenter
เริ่มจากการปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ถึงรายละเอียดที่คุณต้องการ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ๆ ปัญหาหลายเรื่องเริ่มที่ตรงนี้ คือ ขาดการสื่อสารให้เข้าใจกัน เพราะเรื่องความสวยงามเป็นเรื่องของมุมมอง มีความคิดแตกต่างกันได้ และสามารถเลือกได้หลากหลายแบบ ไม่ใช่กฏกติกาตายตัว เลือกแพทย์ที่เข้าใจสิ่งที่คุณต้องการ และสามารถให้การดูแลหลังทำได้ เพราะ ซิลิโคนยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด สำหรับการเพิ่มความโด่งของจมูก เนื่องจาก
ป้องกันด้วยการเลือกรูปทรงให้พอเหมาะกับผิวหนัง เหลาซิลิโคนให้มีความสมมาตร และพอดีกับฐานกระดูกจมูก และการที่จะผ่อนปัญหาที่พร้อมจะหนักให้เป็นเบาได้ คือ ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเป็นระยะ หรือรีบพบแพทย์เมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติ เช่น เห็นขอบซิลิโคนเด่นมากขึ้น เป็นต้น
หากปล่อยจนผิวหนังบางมาก หรือทะลุแล้ว จะสูญเสียสภาพที่ดีของรูปทรงปลายจมูก หรือเกิดแผลเป็น หรือแผลหดรั้ง บางรายแผลรั้งจนจมูกเชิด แก้ไขซับซ้อน และคาดหวังผลหลังการแก้ไขลำบาก
หากเกิดการติดเชื้อในโพรงที่ใส่ซิลิโคน ควรรีบเอาซิลิโคนออก แล้วรอให้ร่างกายเก็บขยะทำความสะอาดโพรงที่ใส่ซิลิโคนเรียบร้อยก่อน อย่างน้อยสามเดือนหรือหนึ่งปีขึ้นไป จึงจะพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อใส่ซิลิโคนใหม่
การพยายามรั้งรอ ไม่อยากถอดออก แล้วไม่ไปพบแพทย์เพราะกลัวว่าแพทย์จะให้เอาซิลิโคนออก เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีทางที่การติดเชื้อจะหายไปได้เมื่อยังมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ จากปัญหาที่แก้ไขได้ง่ายแค่นำซิลิโคนออก อาจจะกลายเป็นการทะลุตามมา เพราะเนื้อเยื่อ พึงสังวรณ์ รีบเอาออก จะได้เริ่มนับเวลาใหม่ เพื่อใส่อันใหม่ดีกว่า
ทั้งหมดทั้งปวง เป็นผลที่สามารถป้องกันที่เหตุได้ ถ้าแพทย์และผู้มารับการเสริมซิลิโคน มีความระมัดระวังอยู่ก่อน โอกาสที่จะเกิดผลเสียต่างๆก็เกิดน้อยลง หรือถ้าเกิดผลข้างเคียง จะเป็นผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แก้ไขได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ไม่มีอะไรที่ร้อยเปอร์เซนต์ การรู้ก่อนที่จะทำ เพื่อนำข้อมูลไปไตร่ตรอง เพราะเรื่องสวยงามไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ทำเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อตัดสินใจทำแล้ว หากเกิดปัญหาขึ้น จะได้มีสติ ไม่ใช่มัวแต่ฟูมฟายว่า รู้อย่างนี้ไม่ทำดีกว่า แต่คุณควรทราบก่อนทำ หากคิดว่าไม่สามารถตั้งรับกับผลข้างเคียงได้ ก็ไม่ควรทำ เมื่อไม่ทำคือ ไม่เกิดผลข้างเคียง
เหตุที่ซิลิโคนแท่ง ยังคงเป็นที่นิยมนำมาเสริมจมูกจนถึงปัจจุบันเพราะ ?
การผ่าตัดเสริมจมูกด้วยซิลิโคนแท่ง ส่วนใหญ่สามารถทำด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ หลังผ่าตัดสามารถกลับไปดูแลที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องพักค้างที่โรงพยาบาล ในรายที่มีการใช้ยากดระบบประสาทเพื่อให้เคลิ้มหลับระหว่างผ่าตัด อาจต้องพักดูอาการหลังทำก่อนที่จะให้กลับบ้าน
การดูแลหลังเสริมจมูก ควรนั่งศีรษะอยู่ระดับสูง เพื่อลดอาการบวม ประคบเย็นจะช่วยให้เลือดที่ซึมในโพรงที่มีซิลิโคนอยู่ออกน้อยลง และทำให้ปฏิกิริยาการอักเสบหลังการผ่าตัดเกิดน้อย การประคบควรทำต่อเนื่องจนกว่าจะยุบบวม ในรายที่มีร่องรอยเขียวช้ำ สามารถประคบอุ่น เพื่อให้เลือดที่คั่งค้างอยู่กระจายหายได้เร็วขึ้น
ควรทำความสะอาดในโพรงจมูกด้วยน้ำสบู่ที่อาบน้ำล้างหน้า และล้างหน้าตามปกติ เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมของเชื้อโรคในบริเวณผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง
อย่าลืมพบแพทย์ตามนัด ถ้าแพทย์ลืมนัด ก็ควรถามว่าจะให้มาตรวจอย่างไรบ้าง แพทย์ส่วนใหญ่ชอบที่จะติดตามผลงานที่ตัวเองทำไว้ รายละเอียดต่าง ๆ ของรูปทรงจมูก จะเข้าที่ครบใช้เวลาหลายเดือนถึงปี ดังนั้นบางส่วนต้องให้เวลากับร่างกายในการปรับสภาพเยื่อพังผืดที่หุ้มอยู่โดยรอบซิลิโคน ยกตัวอย่าง ผิวหนังส่วนใดของจมูกที่มีความหนา จะใช้เวลาในการหดรัดรูปช้ากว่าผิวหนังบริเวณที่บาง เป็นต้น
การที่แพทย์ได้เห็นผลในระยะยาว นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่รับการเสริมจมูกไปแล้ว ยังเป็นการช่วยให้แพทย์ได้ประเมินผลงานที่ทำไป และสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาผลงานให้ดีมากยิ่งขึ้น
โดยรวมก็เป็นเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ควรจะทราบเบื้องต้น หากมีคำถามเพิ่มเติมอย่างไร สามารถสอบถามจากแพทย์ที่คุณจะไปรับการผ่าตัดได้ แพทย์แต่ละท่านอาจจะมีความแตกต่างกันในการให้ข้อมูล ในการเลือกวิธีผ่าตัด และแตกต่างในรายละเอียดของการดูแลอยู่บ้าง เมื่อวางใจให้แพทย์ท่านใดทำผ่าตัดให้แล้ว ก็ควรจะรับฟัง และปฏิบัติตามแนวทางของแพทย์ท่านนั้น ๆ อย่าสับสนหรือรับข้อมูลหลายด้านที่ขัดแย้งจนงง เพราะทุกแนวทางย่อมต้องมีเหตุผลทางการแพทย์รองรับอยู่
แพทย์ที่เป็นผู้ผ่าตัดให้จะมีข้อมูลการตรวจของคุณตั้งแต่ก่อนทำ รู้รายละเอียดระหว่างทำมากกว่าแพทย์ท่านอื่น และทราบผลหลังทำ จึงควรที่จะไปพบเพื่อดูแลผลต่อเนื่อง เมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตาม ควรกลับไปพบแพทย์ที่ทำให้ก่อน เพราะจะเป็นผู้ที่สามารถให้คำตอบ คำแนะนำเบื้องต้นได้
อย่างไรก็ตาม ถ้าปัญหาซับซ้อนและไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย สามารถที่จะขอความเห็นเพิ่มเติมจากแพทย์ท่านอื่นได้เช่นกัน