ที่มา: dodeden

 

14936928_1028002360642713_749426181_n

ความรู้ในเรื่องของ เครื่องราชศิราภรณ์ เป็นสิ่งสำคัญมาก  ทั้งนี้ อาจารย์อ๊อฟ-สรพล ถีระวงษ์ กรรมการบริหารสมาคมนิยมไทย และกลุ่มมรดกสยาม  กล่าวถึงพระราชศิราภรณ์ว่า “ในชั้นต้นไทยเราคงไว้ผมสูงโพกผ้าแล้วมีพวงดอกไม้สวมผม

10999088_690666134376339_7152712577266641333_n

อาจารย์อ๊อฟ-สรพล ถีระวงษ์ กรรมการบริหารสมาคมนิยมไทย และกลุ่มมรดกสยาม

ต่อเมื่อไว้ผมสั้นลงก็ทำผ้าโพกให้เป็นรูปกระโจมอย่างเดิม ซึ่งเรียกกันว่า “ลอมพอก” ใช้สวมศีรษะแทนการโพกผ้า แล้วเอาดอกไม้นั้นไปสวมลอมพอกที่เคยสวมผมมาแต่ก่อน

ครั้นเมื่อมีหมวกใช้กันขึ้น ก็เอาพวงดอกไม้ไปสวมรอบหมวก พวงดอกไม้ที่กล่าวนั้นเล่า เรียกกันว่า “มาลา” มาลาหมายถึงพวงดอกไม้ ที่สวมรอบหมวกอย่างผ้าพันหมวกปัจจุบันนี้ การเอาดอกไม้สดไปสวมลอมพอก และสวมหมวกต้องทำกันบ่อยๆ

14877912_1028002370642712_1711161250_n

เพราะดอกไม้สดย่อมเหี่ยวง่ายต้องหาไปเปลี่ยนใหม่เสมอ จึงคิดเปลี่ยนพวงดอกไม้นั้นทำด้วยวัสดุโลหะ เช่นเงินหรือทองคำ ขึ้นมาแทนพวงดอกไม้สด พวงดอกไม้ที่ทำจากโลหะ สวมลอมพอก หรือหมวกนั้นก็ตาม ลวดลายมาจากพวงดอกไม้ของเดิมซึ่งร้อยเอาปลายทั้งสองเกี้ยวต่อกัน จึงเรียกย่อๆว่า “เกี้ยว” ลอมพอก นั้น

ต่อมาก็วิวัฒนาการ ทำด้วยโลหะเช่นทองคำ และทองคำลงยาระดับเพชรเรียกว่า “ชฎา” ซึ่งแปลว่า “ยุ่ง” หรือ “รก” ซึ่งหมายถึงการไว้ผมมีโหย่งอย่างเดิมคือ “ชฎิล” นั่นเอง

14958831_1028002390642710_1335287619_n

พวงดอกไม้โลหะที่เรียกว่า “เกี้ยว” ซึ่งเคยสวมต่างหากอย่างแต่ก่อน ก็เลยเป็นของติดประจำอยู่คงที่ทีเดียว ฉะนั้นชฎาย่อมมีรูปเกี้ยวคือ “มาลา” หรือ “พวงดอกไม้” ติดปรากฏอยู่ ชฎาจึงเป็นราชศิราภรณ์ มาจากศัพท์ ศิระ+อาภรณ์ คือเครื่องสวมศีรษะอันแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์

นับเป็นสิ่งสำคัญชิ้นหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในกระบวน เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับประดับเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดิน” อาจารย์อ๊อฟ-สรพล กล่าวในที่สุด

14936991_1028002393976043_1911082935_n

14886269_1028002377309378_2037393917_n

14877007_1028002343976048_2001043755_n

14877115_1028002350642714_918848127_n

เรื่องน่าสนใจ