เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศกฎกระทรวง 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ฉบับแรกว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 โดยมีการกำหนดให้
1. ค่าจ้างบรรทุกค่าโดยสารให้กำหนดโดยถือระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ไม่เกิน 50 บาท กิโลเมตรต่อไป กิโลเมตรละไม่เกิน 12 บาท กรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ อัตรานาทีละ 3 บาท
2. ส่วนค่าบริการอื่น กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารหรือระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ของ ผู้รับจ้างไม่เกิน 50 บาท
3. กรณีการจ้างจากท่าอากาศยานหรือจุดที่กำหนดให้จอดรอผู้โดยสารเป็นการเฉพาะไม่ เกิน 100 บาท
4. รถแท็กซี่ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 กุภาพันธ์ 2544-25 ธันวาคม 2548 ให้มีอายุการใช้งาน 12 ปี นับแต่วันที่่จดทะเบียนครั้งแรก รวมทั้งรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2548-25 ธันวาคม 2551 ให้มีอายุการใช้งานไปได้จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2560
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้เว็บไซต์ราชกิจจานุเยกษายังประกาศกฎกระทรวง ว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2558 ทั้งหมด 18 ข้อ ข้อ 12 กำหนดให้กรณีที่ผู้ขับรถแท็กซี่ไม่ประสงค์จะรับจ้างบรรทุกคนในช่วงระยะเวลา ใด ให้แสดงเครื่องหมาย “งดรับจ้าง” ไว้หน้ารถด้านซ้ายของผู้ขับ โดยให้มองเห็นชัดเจนจากนอกรถ
อัตราการให้บริการตามข้อ 14 ให้กำหนดเกณฑ์ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ไม่เกิน 100 บาท กิโลเมตรต่อไปไม่เกินกิโลเมตรละ 20 บาท กรณีไม่สามารถเคลื่อนที่ อัตรานาทีละ 5 บาท ส่วนค่าบริการอื่น กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารหรือระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ของ ผู้รับจ้างไม่เกิน 50 บาท
กรณีการจ้างจากท่าอากาศยานหรือจอดรอคนโดยสารที่จัดไว้เป็นจุดเฉพาะ กำหนดให้ไม่เกิน 150 บาท กรณีจ้างในเวลากลางคืน กำหนดได้ไม่เกิน 100 บาท ส่วนหลักเกณฑ์การจดทะเบียน ให้รถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2546-25 ธันวาคม 2548 มีอายุการใช้งาน 12 ปี ตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก รถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2548-25 ธันวาคม 2551 มีอายุการใช้งานถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2560 ลงชื่อผู้ออกประกาศ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงท้ายของประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ด คน ที่จดทะเบียนในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2558 ระบุว่า เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้คือ เนื่องด้วยในปัจจุบันอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงและไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของผู้ประกอบอาชีพขับ รถยนต์รับจ้าง และมีการจ้างรถยนต์รับจ้างผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมจากการ จ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสาร
ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนใน จังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าว