เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม
เถาวัลย์เปรียง เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแกมสีเทา เปลือกเถาอาจมีร่องหรือคลื่นตามยาว มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เนื้อไม้สีออกน้ำตาลอ่อนๆ เห็นรอยวงปีไม่ชัดเจน เนื้อไม้มีรูพรุนตรงกลาง รสเฝื่อน เป็นยาสมุนไพรที่คนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์มาเนิ่นนาน เป็นสมุนไพรที่พบทั่วไปทุกภาค
สรรพคุณของยาที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์คือแก้อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว บำรุงกำลัง จึงมักนำมาต้มดื่มหรือนำมาดองเหล้า คนเฒ่าคนแก่ คนที่ทำงานแบกหามหนัก หรือชาวไร่ชาวนา จึงมักมีเถาวัลย์เปรียงติดบ้านไว้ต้ม แต่ส่วนมากมักจะเน้นทางยาดองเหล้ามากกว่าเพื่อใช้แก้ไขอาการปวดเมื่อยจากการ ทำงาน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการวิจัยสมุนไพรตัวนี้จนสำเร็จ และพบว่า สรรพคุณตามที่ได้วิจัยพบนั้น สอดรับกับภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านที่ใช้ ประโยชน์ในการแก้อาการปวดเมื่อย แก้การอักเสบของกล้ามเนื้อ ผลการทดลองยังระบุว่า สารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบแผนปัจจุบันได้ ที่สำคัญไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบันที่มีสารสเตียรอยด์ ถือเป็นยาสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง
ผลพลอยได้จากงานวิจัยในครั้งนี้ยังพบว่า เถาวัลย์เปรียงมีสรรพคุณช่วยเพิ่ม ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดขาว รักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งสามารถต่อยอดนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ได้ด้วย
ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง
ข้อห้าม
เถาวัลย์เปรียงได้ถูกจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทันทีที่มีการวิจัยเสร็จในปี 2550 ทำให้มันถูกนำมาสกัดเป็นยาในรูปแคปซูลเพื่อใช้รักษา ทั้งนี้เถาวัลย์เปรียงอยู่ในตระกูลพืชประเภทเถาวัลย์ พบมากตามป่า แต่สามารถนำมาปลูกได้ นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการวิจัยสมุนไพรไทยภายหลังจากที่ใช้เวลาศึกษาและทดลองนายหลายปี
ใครที่ต้องการหามารับประทาน โดดเด่นแนะนำว่าขอให้ศึกษาให้ดีก่อนนะคะ เพื่อจะได้มีผลดีต่อสุขภาพ บางครั้ง เราอาจจะแพ้สมุนไพรบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ หรือหากมีอาการของผลข้างเคียงควรหยุดใช้ทันที
ภาพและข้อมูลจาก : คณะเภสัช มหาวิยาลัยอุบลราชธานี, สมุนไพรอภัยภูเบศร, kapook, herbdd,