เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม

เถาเอ็นอ่อน เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น

ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้น มักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แต่ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

Herb_Asclepiadaceae

ตามตำรายาไทยใช้ เถา ต้มดื่มบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้ขัดยอก ทำให้คลายการตึงตัว

เถาเอ็นอ่อนเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพมาก โดยใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น

ประโยชน์ของเถาเอ็นอ่อน

  • ใบ – ใช้ทำเป็นลูกประคบช่วยแก้อาการเมื่อยขบ ช่วยคลายเส้น และแก้อาการปวดเสียวเส้นเอ็น ให้รสเบื่อเอียน
  • เถา – นำมาต้มกิน ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ขัดยอก รวมทั้งแก้เส้นเอ็นพิการ และช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง ให้รสขมเบื่อมัน
  • เมล็ด – ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อในท้อง และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ให้รสขมเมา
  • ใบและเถา – มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเส้นเอ็น แก้อาการปวดเมื่อย ใช้ทำเป็นลูกประคบ ด้วยการนำใบมาโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาห่อกับผ้าทำเป็นลูกประคบแก้เมื่อยขบ แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น ช่วยคลายเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นที่ตึงยืดหย่อน ส่วนเถามีรสขมเบื่อมัน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้อาการปวดบวม ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง แก้ขัดยอก

herb009-091

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรเถาเอ็นอ่อน เนื่องจากเถาเอ็นอ่อนเป็นสมุนไพรที่มีสารซึ่งมีฤทธิ์ต่อการกระตุ้นของหัวใจ ดังนั้น ในการรับประทานจึงไม่ควรรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดให้ใช้ และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป

tcd064_01

เถาเอ็นอ่อนเป็นพืชสมุนไพรไทยที่โดดเด่นเชื่อว่า สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้ดี โดยเฉพาะในสปาที่มีบริการอบผิวด้วยสมุนไพร เพราะสรรพคุณของเถาเอ็นอ่อนนั้นช่วยในเรื่องของการแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็นต่างๆ ของร่างกาย แต่ก่อนจะเข้าไปทำสปา โดดเด่นขอแนะนำว่าให้ทดลองดูก่อนว่า ผิวของเราแพ้สมุนไพรชนิดไหนหรือเปล่านะคะ ไม่งั้นออกมาแทนที่จะหายเมื่อย จะกลายเป็นต้องออกมารักษาผิวที่เกิดจากอาการแพ้แทนค่ะ

ภาพและข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ อุบลราชธานี, เกร็ดความรู้, สรรพคุณสมุนไพร

เรื่องน่าสนใจ