เบาหวานกับการออกกำลัง เป็นเรื่องสำคัญ เพราะที่จริงๆ แล้ว การออกกําลังกายจะส่งผลต่อกลไกต่างๆ ของร่างกายอย่างมหัศจรรย์ ดังคํากล่าว “กีฬาเป็นยาวิเศษ” การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้น นอกจากการควบคุมอาหารแล้ว การออกกําลังกายที่เหมาะสม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยได้เป็นอย่างดี
การออกกําลังกายนั้น มีประโยชน์มากมายสําหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุการตายในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอันดับต้นๆ แล้ว ยังช่วยลดน้ำหนักของร่างกาย ทําให้คุมน้ำตาลได้ง่ายขึ้น การออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอยังเพิ่มประสิทธิภาพในการนํา Insulin ไปใช้ ช่วยให้ร่างกายนําพลังงานมาใช้ ดังนั้น การลดน้ำหนักที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง
การออกกําลังกาย จะเพิ่มความสามารถในการส่งน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ ทําให้สามารถลดยาฉีด Insulin หรือยากินได้ ลดภาวะระดับไขมันที่ไม่ดี แต่เพิ่ม ระดับไขมันในเลือดของเรา ช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารให้เกิดความสุข และช่วยให้คลายเครียด สามารถลดอัตราการเสียชีวิต และการภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี
ออกกําลังกายอย่างไรดี
ระยะเวลาในการออกกําลังกาย 20-30 นาทีต่อครั้ง 3-51 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยก่อนออกกําลังกาย ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย จะเริ่มจากการเดินอยู่กับที่ หรือเดินช้าๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ ใช้เวลา 5-10 นาที หลังจากนั้น ออกกําลังกายอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาที ระยะต่อมาค่อยๆ ลดความเร็วลง และก่อนสิ้นสุดการออกกําลังกาย จะต้องอบอุ่นร่างกาย โดยการเดินช้าๆ อีก 5-10 นาที หากหยุดทันที จะเป็นลมหรือตะคริวได้ ระหว่างออกกําลังกาย หากมีอาการผิดปกติ เหนื่อยจนพูดไม่เป็นคํา เจ็บหน้าอก รู้สึกจะเป็นลม ให้หยุดการออกกําลังกาย
คนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ จะเลือกออกกําลังกายอย่างไรดี?
คนที่มีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้า หรือเท้า ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การวิ่ง กระโดดเชือก ควรจะออกกําลังกายโดยการว่ายน้ำ เดินในน้ำ รํามวยจีน หรือทํากายบริหารในท่านั่งหรือยืน คนที่เป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาเท้า ไม่ควรที่จะวิ่งหรือกระโดด ควรจะออกกําลังกายโดยการขี่จักรยาน คนที่เป็นเบาหวานขึ้นตา ให้หลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่ใช้แรงมาก เช่น การยกน้ำหนักหรือโยคะบางท่า ในรายที่มีโรคหัวใจแทรก ควรจะพบแพทย์ก่อนออกกําลังกาย ต้องระมัดระวังไม่ให้ออกกําลังกายมากเกินไป จะต้องหยุดทันทีเมื่อรู้สึกเหนื่อย หรือเจ็บแน่นหน้าอก การออกกําลังกายไม่ควรจะออกแบบออกแรงมากเช่นกัน
อาการอะไรบ้างที่ถือว่าผิดปกติ ต้องหยุดออกกําลังกาย
ตื่นเต้น กระสับกระส่าย มือสั่น ใจสั่น เหงื่อออกมากผิดปกติ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ตาพร่า หิว เจ็บแน่นหน้าอก เจ็บที่หน้าอกร้าวไปที่แขน คอ ขากรรไกร หายใจหอบมากกว่าปกติ ถ้ามีอาการดังกล่าว จะต้องหยุดการออกกําลังกาย และเรียกขอความช่วยเหลือทันที หรือถ้าอาการไม่ดีขึ้น ต้องรีบมาที่โรงพยาบาล
คนที่เป็นเบาหวานที่ไม่ควรออกกําลังกาย คือคนที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ คือมากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมีการติดเชื้อในร่างกาย คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต ให้ระวังการปรับตัวต่ออุณหภูมิ และการขาดน้ำ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตเพิ่ม ควรได้รับการแก้ไขอาการต่างๆ ดังกล่าว ก่อนจนอาการเข้าสู่ภาวะปกติ แล้วจึงวางแผนในเรื่องการออกกําลังกายในภายหลัง
…………………………………………………………..
สิ่งที่ช่วยให้คนที่เป็นเบาหวานออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอได้ ก็คือการที่คนในครอบครัวสนับสนุนให้กําลังใจ หรือการที่มีคนรอบข้างหรือเพื่อนฝูงไปออกกําลังกายพร้อมๆ กับตัวเอง
เนื้อหาโดย Dodeden.com