เบาหวานก็กินได้ 4 เคล็ดลับเลือกอาหารให้อร่อย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ถึงแม้ว่าจะหายยาก แต่เราสามารถควบคุมได้ด้วยการทานอาหาร โดยรู้จักควบคุมชนิดและปริมาณของอาหารที่กินในแต่ละมื้อ ผู้ที่เป็นเบาหวานที่ยังไม่มีโรคแทรกซ้อน จําเป็นที่จะต้องควบคุมระดับนํ้าตาลไม่ให้สูงเกินไป จนก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ การควบคุมนํ้าตาลนั้นทําได้ด้วยการควบคุมอาหารเป็นหลักโดยควบคุมชนิดของอาหารและปริมาณการกิน ลองมาดูกันว่าจะปรับตัวในเรื่องของการกินยังไงถึงจะเหมาะสมดี
ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานสามารถเลือกรับกินอาหารต่างๆ ได้เช่นเดียวกับคนปกติ แต่จําเป็นตองเรียนรู้ว่า จะรับประทานอาหารได้มากน้อยเพียงใดจึงจะไม่ทําให้นํ้าตาลในเลือดสูง โดยมีหลักการง่ายๆ ต่อไปนี้ค่ะ
ควบคุมชนิดและปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่กิน
โดยใช้หลักการอาหารแลกเปลี่ยนรายการอาหารแลกเปลี่ยน หมายถึงรายการอาหารที่แบ่งออกเป็น 6 หมวด โดยยึดคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และพลังงานเป็นเกณฑ์ อาหารที่อยู่ในหมวดเดียวกันจะให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน โดยเฉลี่ยใกล้เคียงกัน สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในหมวดเดียวกัน และช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานกินอาหารได้หลากหลายชนิด ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานสามารถกินอาหารในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับคนปกติ ไม่จําเป็นต้องงดหรือจํากัดมากเกินไป เพราะข้าวเป็นแหล่งของพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้เพื่อการทํากิจกรรมต่างๆ ส่วนจะกินได้เท่าไรนั้นขึ้นกับ อายุ นํ้าหนักตัว และกิจกรรมหรือแรงงานที่ผู้ป่วยทําในแต่ละวัน เช่น ผู้ป่วยที่อ้วน กินข้าวได้มื้อละ 2 ทัพพี ถ้าไม่อ้วนก็กินข้าวได้มื้อละ 2 -3 ทัพพี เมื่อเลือกกินก๋วยเตี๋ยวหรือขนมปังแล้วต้องงด หรือลดข้าวในมื้อนั้นลงเท่านั้นเอง
หมวดผลไม้ต่างๆ
ผลไม้ทุกชนิดมีนํ้าตาลเป็นส่วนประกอบ แม้จะมีใยอาหารแต่หากกินมากกว่าปริมาณที่กําหนด จะทําให้นํ้าตาลในเลือดสูงได้ ถึงแม้จะกินผลไม้ที่รสไม่หวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้งหลังอาหาร ควรหลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ละมุด หรือผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน ผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง และหลีกเลี่ยงเครื่องจิ้ม เช่น นํ้าปลาหวาน หรือนํ้าตาล-พริก-เกลือ
ผักชนิดต่างๆ
อาหารกลุ่มนี้ มีวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารมาก ผู้ป่วยเบาหวานควรกินให้มากขึ้นในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะผักใบสีเขียวสดหรือสุก กินได้ตามต้องการ ถ้านําผักมาคั้นเป็นนํ้า ควรกินกากด้วย เพื่อจะได้ใยอาหาร ใยอาหารจะช่วยลดการดูดซึมนํ้าตาลและไขมันในอาหาร ทําให้ระดับนํ้าตาลและไขมันในเลือดลดลง ผู้ป่วยเบาหวานควรรับกินผักวันละ 6 ทัพพี(2-3 ถ้วยตวง) ทั้งผักสดและผักสุกค่ะ
เนื้อสัตว์ต่างๆ และผลิตภัณฑ์
อาหารกลุ่มนี้ให้โปรตีนเป็นหลัก ผู้ป่วยควรได้รับทุกมื้อ มื้อละ 2-4 ช้อน กินข้าวพูนน้อยๆ และควรเลือกเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันและหนัง ควรกินปลานึ่ง/ต้ม และเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
…………………………………………………..
ในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ ที่มีขนมและสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้กิน ผู้ป่วยควรควบคุมนํ้าตาลในเลือด ไม่ควรงดข้าวทั้งหมด และกินขนมแทน เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกไม่อิ่ม ซึ่งจะทําให้ได้รับอาหารมากกว่าปริมาณที่กําหนดเป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ และที่สำคัญที่สุดผู้ป่วยไม่ควรกินขนมบ่อยด้วยค่ะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com