ที่มา: sanook

ก่อนที่สยามจะเริ่มมีการใช้เพลงชาติเป็นเพลงของชาติอย่างเป็นทางการนั้น สยามได้ใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงหลักที่แสดงความเป็นองค์แทนหรือตัวแทนของความเป็นชาติผ่านสถาบันพระมหากษัตริย์มาก่อน (ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างปัจจุบันนั้น

พระมหากษัตริย์ชาติสยามทุกพระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีพระราชอำนาจสูงสุดในประเทศ ดังนั้นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงเป็นบทเพลงสำหรับใช้บรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์นั่นเอง) โดยใช้บรรเลงถวายความเคารพตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๑

ahr0cdovl3blms5pc2fub29rlmnvbs9ucy8wl3vklzqxny8ymdg3odmwlzquanbn

ในส่วนของเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันที่พวกเราชาวไทยต่างรู้จักกันดีนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้นิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้มีการบรรเลงเป็นครั้งแรก ณ ศาลายุทธนาธิการในปี พ.ศ. ๒๔๓๑

ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่

โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

2_1477026764

3_1477026764

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๖)

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน

นบพระภูมิบาล บุญดิเรก

เอกบรมจักริน พระสยามินทร์

พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล

ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์

ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด

จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย

ดุจถวายชัย ชโย

เรื่องน่าสนใจ