หลังจากเราได้นำเสนอรายงานพิเศษ เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่จะสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ ในวงการศัลยกรรม และความงามในประเทศไทย หลังจาก “กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” คลอดพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ( ฉบับที่ 4 ) พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้ 21 ธันวาคม 2559 ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมยกระดับระบบบริการสุขภาพ สร้างคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย
หนึ่งในผลงานที่เกิดจากพระราชบัญญัติสถานพยาบาล คือ นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่” ที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่งทั้งรัฐและเอกชนโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก
ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับการดูแลความสะดวกปลอดภัย รวมทั้งแก้ไขในสิ่งที่เป็นข้อกังวล เช่นนิยามผู้ป่วยฉุกเฉิน อัตราค่าบริการ การจ่ายเงิน การดูแลหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ออกอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ได้แก่ 1.การจำแนกประเภทผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่สถานพยาบาลไม่เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลใน 72 ชั่วโมง 2. กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถานพยาบาลในการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินและการส่งต่อผู้ป่วยหากเกินขีดความสามารถเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือภายหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง
นโยบายนี้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในเมืองไทย หลังจากที่รอคอยมายาวนานมากๆ จนทำให้บางคนไม่เชื่อว่าจะทำได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในยุค นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร นั่งเก้าอี้อธิบดี
ต่อไป ในระยะเวลาอันใกล้นี้ อนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ที่จะออกมา เกี่ยวข้องกับ “สถานพยาบาลเสริมความงาม” โดยตรง ทำให้คลินิกเกือบทุกแห่งติดตามข่าวสารความคืบหน้าของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ตลอด ผู้ประกอบการบางรายกังวลใจ และ ยังไม่เข้าใจในหลายๆ ประเด็น เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม www.dodeden.com ได้ทำรายงานพิเศษให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ไปแล้ว ตามลิ้งค์นี้ https://dodeden.com/253916.html
ทีมงาน เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม เราได้ศึกษาหาข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น จากภาครัฐ เอกชน สมาคมต่างๆ เพื่อนำข่าวสารมานำเสนอให้ถูกต้อง ซึ่งต้องยอมรับว่าในช่วงนี้เป็น “รอยต่อ” ที่ต้องค่อยๆ ปรับตัวกันไป ในช่วงนี้เรายังคงยึด พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ขณะนี้ เรารออนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559
นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร
ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด ในส่วนของ “คนไข้” หรือผู้ที่ต้องการเสริมความงาม นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) ได้เน้นย้ำว่าต้องดูแลให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด
ดังนั้น ผู้ที่อยากป้องกันตนเองจากอันตรายที่เกิดจากการเสริมความงาม และการศัลยกรรมที่แพร่หลายเป็นจำนวนมากในตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราต้องมีสติ พิจารณา ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ไม่หลงไปกับการโฆษณาอวดอ้างเกินจริง และราคาที่ถูกจนเกินไป เช่น พวกโปรโมชั่นต่างๆ อยากให้ศึกษาข้อมูลและพิจารณาอย่างรอบคอบจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ดังนั้น หากคุณผู้อ่าน เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม www.dodeden.com ตัดสินใจเลือกคลินิกเสริมความงามแล้ว อย่างแรกเลยต้องพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. มีการแสดงป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาตจำนวน 11 หลักติดไว้ด้านหน้าสถานพยาบาล 2. มีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล 3. แสดงไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ชัดเจน แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี
4.มีแผ่นป้ายสีน้ำเงินแสดงรูปถ่ายแพทย์ ท่านผู้อ่านต้องสังเกตให้ดีว่าคนที่ให้บริการท่านอยู่นั้นตรงกับรูปแพทย์ที่ติดไว้หน้าห้องตรวจหรือไม่
นอกจากนี้ ระหว่างที่ท่านนั่งรอตรวจ หรือ รอคิว ท่านต้องจำชื่อแพทย์ให้ได้ ตัวสะกดต้องถูกต้อง และใช้สมาร์ทโฟนนี่แหละ เข้าไปที่เว็บไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th ตรวจสอบว่าใช่แพทย์จริง หรือ แพทย์เถื่อน
ย้ำว่า นี่คือการตรวจสอบในเบื้องต้นเท่านั้น เพราะหากเป็นแพทย์จริงๆ ตามที่เราเช็คแล้วก็ใช่ว่าจะสบายใจทั้งหมด ซึ่งต่อไปก็เป็นเรื่องของท่านที่จะต้องค้นหา สอบถาม จากผู้รู้ กูรูต่างๆ เพราะแพทย์ที่ทำศัลยกรรมความงามส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ทั่วไปที่จบแพทยศาสตร์ออกมาก็สามารถทำการผ่าตัดได้แล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย
เนื่องจากแพทย์ทั่วไปจะมาทำศัลยกรรมให้กับคนไข้ที่ต้องการเสริมความงามก็ได้ แต่ด้วยความที่แพทย์ทั่วไปไม่ได้จบมาโดยตรง ทำให้บางครั้งก็เกิดเป็นปัญหาในการศัลยกรรมความงามให้กับคนไข้จนทำให้ใบหน้าบิดเบี้ยวถึงขั้นเสียโฉมหรือ ทำแล้วไม่ได้ผล เสียเงินฟรี
เว็บไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th ตรวจสอบว่าใช่แพทย์จริง หรือ แพทย์เถื่อน
เพราะแพทย์แต่ละท่านมีความถนัด ประสบการณ์ ชั่วโมงบินไม่เท่ากัน บางท่านผ่านเคสต่างๆ มาจำนวนมาก เกิดความเชี่ยวชาญจึงทำศัลยกรรมออกมาดี แพทย์บางท่านถนัดทำจมูก ทำตา ทำปาก ทำคาง ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ท่านต้องเช็คให้ดี หรือ สอบถามจากคนที่ท่านเชื่อใจได้จริงๆ
สุดท้ายนี้ อยากฝากไปทางแฟนๆ ชาวเว็บไซต์โดดเด่นดอทคอมว่าอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริง อย่าหลงเชื่อแพทย์ที่ทำเกินขอบเขตความสามารถของตนเอง อย่างที่บอกไปแล้วว่าการเช็คข้อมูลจากแพทยสภาคือข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หมายถึงการเช็คว่าคนๆ นั้นเป็นแพทย์ในระบบจริงๆ แต่การศัลยกรรมต้องมีข้อมูลมากกว่านั้น
หากท่านมีข้อสงสัยหรือพบสถานพยาบาลและหมอเถื่อน สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่เว็บไซต์สารวัตรสถานพยาบาลออนไลน์ และสายด่วน สบส.02-193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือจะแจ้งผ่านสื่อมวลชนที่ไว้ใจได้ โดยสามารถแจ้งเบาะแส สอบถาม ปรึกษา รวมทั้งแจ้งสถานพยาบาลเถื่อนต่างๆ มาได้ โดยกดไลค์เฟสบุ๊คโดดเด่นดอทคอม www.facebook.com/dodeden หรือ เว็บไซต์ www.dodeden.com
เพราะทางเว็บไซต์โดดเด่นดอทคอมมีผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงสาธารณสุขอยู่แล้ว ดังนั้นข้อมูลต่างๆ นักข่าวจะส่งตรงทางไลน์เพื่อเร่งรัดเอาผิดหมอเถื่อนอย่างทันทีเพื่อให้วงการนี้มีแต่หมอดีๆ เพราะเรายึดมั่นในความถูกต้อง และ มีจรรยาบรรณสื่อมวลชนเสมอ
“นาย น.” ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม / รายงานพิเศษ