แผลเป็นคีลอยด์ เชื่อว่าในชีวิตนี้คงไม่มีใครอยากเป็นแน่นอน เพราะนอกจากจะรักษาให้หายได้ยากแล้ว ยังทำให้รอยแผลดูน่าเกลียด ทำเอาหมดความมั่นใจไปซะดื้อๆ
ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีวิธีที่จะทำให้รอยแผลเป็นชนิดนี้ หายไปได้อย่างถาวร ทำได้เพียงแค่ดูดีขึ้นเท่านั้น ว่าแต่แผลเป็นชนิดนี้เกิดจากอะไร และเราสามารถป้องกันได้ไหม? มาหาคำตอบกันค่ะ
จริงๆ ก็ยังไม่ทราบสาเหตุของแผลเป็นคีลอยด์ แต่พบว่ามักจะเกิดในผู้ป่วยที่มีผิวสีเข้ม ในตําแหน่งที่เกิดได้บ่อย ได้แก่ หัวไหล่ ติ่งหู และกลางหน้าอก ส่วนหนึ่งพบในผู้ป่วยที่มีประวัติทางพันธุกรรม คือ มีประวัติการเกิดคีลอยด์ในพ่อหรือแม่ แผลเป็นคีลอยด์นี้เชื่อว่าเกิดจากการที่แผลเป็นมีการสร้างสารที่เรียกว่าคอลลาเจนมากเกินกว่าปกติ จนทำให้เกิดแผลนูนออกมานั่นเอง
การป้องกันการเกิดแผลเป็น เป็นเรื่องสําคัญ โดยเฉพาะการที่มีแผลใหม่ๆ เราควรจะเริ่มโดยการนวด หรือการกดบริเวณนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว การนวดอย่างสม่ำเสมอในระยะประมาณ 3-6 เดือนแรก เป็นเรื่องสําคัญค่ะ เพราะในช่วงระยะแรกที่แผลเป็นมีการอักเสบอยู่ การนวดก็จะช่วยลดไม่ให้แผลเป็นมีการขยายใหญ่โตได้ หรือในบางครั้ง ที่แผลเป็นมีขนาดใหญ่กว้าง เช่น แผลเป็นที่เกิดจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก อาจจําเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษ หรือผ้ารัด ที่จะต้องสวมใส่ เพื่อรัดบริเวณที่เกิดแผลเป็น เช่น ใบหน้า ลําตัว แขน ขา ในช่วงระยะประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปีแรก หลังจากได้รับอุบัติเหตุ
หากพบว่ามีแผลเป็นเกิดขึ้นแล้ว จะเริ่มจากการรักษาโดย
••••••••••••••••••••••••
การรักษาแผลเป็นนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาดูว่า แผลเป็นนั้น เป็นแผลเป็นนูนชนิดใด หากเป็นแผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ จะต้องพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะอาจจะมีแผลเป็นใหญ่โตเกินกว่าขนาดเดิมได้ โดยทั่วไปแล้ว แผลเป็นมักจะสามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้น หากเรารู้จักวิธีการดูแลรักษา ภายหลังจากที่ได้รับแผลเป็นใหม่ๆ ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้แผลเป็นนั้นนูนเกิน หรือเป็นคีลอยด์ได้ในอนาคต
เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com