ทพญ.อรฤดี สุรัตนสุรางค์ อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหิดล คงมีหลายคนเข้าใจว่า สุขภาพฟันที่ดีนั้นน่าจะเป็นเพียงฟันไม่ผุ แต่จริงๆ แล้ว เรื่องสุขภาพฟันมีมากกว่านั้น โดยเฉพาะ สิ่งที่เรามองไม่เห็นอย่าง “รากฟัน”

การรักษารากฟันคืออะไรและมีขั้นตอนอย่างไร  การรักษารากฟัน (Root canal treatment) คือการตัดเส้นประสาทฟันที่มีการติดเชื้อ อักเสบหรือถูกทำลายในโพรงประสาทหรือคลองรากฟันที่อยู่ใจกลางฟันซี่นั้นออกภายใต้ยาชาเฉพาะที่และใช้เครื่องมือที่คล้ายตะไบ น้ำยาฆ่าเชื้อและใส่ยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดและแต่งรูปร่างโพรงฟัน

11.jpg

 

หลังจากนั้นจะอุดคลองรากฟันโดยใช้วัสดุคล้ายยางเป็นแท่งเล็กๆเติมลงไปที่คลองรากฟัน และปิดด้วยซีเมนต์เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้อีก ทำให้ฟันซี่นั้นสามารถคงอยู่และใช้งานในช่องปากได้ต่อไป

การรักษารากฟันสำคัญหรือไม่  ทำไมต้องรักษารากฟัน

จุดประสงค์ในการรักษารากฟันคือเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคในโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อให้น้อยลงจนถึงระดับที่ร่างกายทำให้เกิดการหายอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณปลายรากฟันรวมทั้งเพื่อตัดเส้นประสาทที่ติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันในอดีตฟันที่มีโพรงประสาทฟันอักเสบจะต้องถูกถอนออก แต่ในปัจจุบัน การรักษารากฟันจะช่วยเก็บรักษาฟันไว้ได้

ฟันประเภทไหนที่ต้องรักษารากฟัน

-ฟันที่ผุลึกทะลุโพรงประสาทฟัน (deepdental caries)

-ฟันที่บิ่นหรือแตกขนาดใหญ่จากแรงในการบดเคี้ยวที่ผิดปกติหรืออุบัติเหตุ(Toothfracture)

-ฟันที่ตายหรือเปลี่ยนสีอันเนื่องมาจากแรงจากการเคลื่อนฟัน หรือได้รับแรงกระแทกอุบัติเหตุ (Traumatictooth)

วิธีปฏิบัติตนหลังรักษารากฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ภายหลังรักษารากฟันแล้วเนื่องจากฟันซี่ดังกล่าวจะถูกกรอเปิดเป็นโพรง ทำให้ปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่น้อยอาจต้องใส่เดือยฟัน และต้องบูรณะฟันซี่นั้นด้วยครอบฟันหรือวัสดุบูรณะที่มีลักษณะคลุมยอดปุ่มฟันทั้งหมด (cuspalcoverage restoration) เพื่อป้องกันฟันแตกหักในอนาคต และเพื่อรักษารูปร่างของฟันให้สวยงามและใช้งานได้เหมือนเดิม

ที่มา www.khaosod.co.th

 

เรื่องน่าสนใจ