ปัจจุบันกัญชาใน ประเทศไทย ถือเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 โดยห้ามมิให้ผู้ใด ผลิตจำหน่าย,นำเข้า,ส่งออกหรือ มีไว้ในครอบครอ เว้นแต่รมว.สาธารณสุขจะอนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษแต่ด้วยวิวัฒนาการ ทางการแพทย์ทำให้มีผลงานวิจัยหลายฉบับที่ต่างยืนยันกัญชาถือเป็นสมุนไพรที่ให้คุณประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆรวมถึงมะเร็ง
ขอขอบคุณภาพจาก inseeplaza
หนึ่งผู้ค้นคว้า-วิจัย,ศึกษาข้อกฏหมาย มาอย่างยาวนาน อย่างเช่น นพ.สมยศ กิตติมั่นคง ผู้เขียนหนังสือกัญชาคือยารักษามะเร็งได้ประกาศข้อมูลที่สำคัญยิ่งต่อมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันและอนาคต ซึ่งกำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากโรคมะเร็งเพราะยืนยันอย่างชัดเจน“กัญชา คือยารักษามะเร็ง โรคมะเร็งอาจหายได้ด้วยกัญชา ถือเป็นแนวทางใหม่ของการรักษาเพื่อทุกชีวิตไม่สิ้นหวัง” การที่ออกมาพูดเรื่องนี้ไม่มีเจตนาโต้แย้งกับหน่วยงานใดเพียงแต่ต้องการให้ทุกคน ในประเทศไทย มีโอกาสเข้าถึง การรักษาโรคมะเร็ง ที่ยังมีทางเลือกอื่นๆ เรื่องแบบนี้ตรวจสอบไม่ยาก เพราะมีงานวิจัย ในต่างประเทศมานานหลายสิบปี มีขั้นตอนในการทดลองจากสัตว์สู่คน หลายประเทศมีความก้าวหน้าถึงขั้นใช้กัญชารักษาโรคขายเป็นตำรับยาหรือ ขายเป็นดอกๆสำหรับประเทศไทยมีการใช้กัญชารักษามะเร็ง-แบบลับ เพราะกฏหมายบัญญัติให้เป็นสิ่งเสพติดหากเปิดเผย อาจถูกดำเนินคดีทั้งคนรักษาและคนไข้
เพื่อยืนยันวิวัฒนาการทางการแพทย์ ที่ใช้กัญชา รักษามะเร็ง ได้จริง นายแพย์ สมยศได้โพสต์เฟซบุ๊ก โดยแชร์คลิป ของผู้ป่วยหญิง-ชาวออสเตรเลีย วัย 54 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เป็น มะเร็งปอดระยะที่ 4เมื่อตัดชิ้นเนื้อ ไปตรวจสอบ แพทย์ แนะนำ ให้กินยา Traceva แต่ช่วยยืดอายุออกได้ไม่กี่เดือน ทำให้คนไข้ รู้สึก หมดหวังในชีวิ เมื่อกลับมาถึงบ้าน ลูกสาว ได้บอกแม่ถึง ข้อมูล จากอินเตอร์เน็ตที่ อธิบายข้อมูลการใช้ “กัญชา “ รักษามะเร็งจึงทดลองใช้สารสกัดจากกัญชาฉีดเข้าทวารหนัก หรือ Back door หลังจากทดลองเป็นเวลา6เดือนเมื่อกลับไปให้หมอตรวจอีกครั้งด้วยวิธี Pet Scan จึงพบเรื่องน่าแปลกใจ เพราะ ก้อนมะเร็งยุบลง และ หายไปในที่สุด
นายแพทย์สมยศ บอกว่าขณะนี้ต่างประเทศ ได้สกัด กัญชา ออกมาขายในรูปแบบยาสมุนไพรผู้ป่วยมะเร็ง ต้องซื้อมาปรุง ทั้ง วิธีต้มหรือสูบขณะนี้มีหลายประเทศ ที่แก้กฎหมายให้ปลูกกัญชา เพื่อรักษามะเร็ง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา,แคนาดา,สเปน,เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลียและเยอรมนีซึ่งรายหลังนี้กระทรวงสาธารณสุข ประกาศอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้กัญชาในทางการแพทย์ ได้อย่างถูกกฎหมาย มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ช่วงต้นปี 2017 โดยรัฐบาลจะจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตามเภสัชกร สมชาย ปรีชาทวีกิจ รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยืนยันว่า ยังไม่มียาจากกัญชาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยา เนื่องจาก ไม่มีข้อมูลศึกษาวิจัยทางคลินิกในคนอย่างเพียงพอ ที่จะยืนยันประสิทธิผล และ ความปลอดภัย ในการใช้รักษาโรคมะเร็งนอกจากนี้ การเสพกัญชา อย่างต่อเนื่อง อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งในระบบศีรษะและ มะเร็งลำคอ