โบท็อกซ์ทำงานอย่างไร จึงสามารถยับยั้งรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้ ในยุคสมัยที่แนวโน้มของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น คนจะมีอายุยืนยาวด้วยวิทยาการความก้าวหน้า ทางการแพทย์ บวกกับวิทยาการด้านการเสริมความงามที่ก้าวหน้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแพทย์ จึงทําให้คนที่แม้จะมีวัยสูงอายุมากขึ้น แต่กลับมีใบหน้าที่สวยใส เต่งตึง ไม่ต่างจากวัยรุ่น จนเกือบจะกลายเป็นสังคมสาวสองพันปี ที่ไม่มีวันแก่ไปตามวัย และที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งอาจมาจากนวัตกรรมท่ีชื่อว่า โบท็อกซ์
โบท็อกซ์ คือ สารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า โบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin) เป็นสารพิษที่สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) โดยจะสร้างขึ้นเฉพาะช่วงที่มีการสร้างสปอร์ และจะเกิดในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเท่านั้น สารพิษชนิดนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (neurotoxin) โดยจะไปรบกวนการทํางานของระบบประสาท ทําให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราว
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารพิษโบทูลินัม ท็อกซิน เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2487 โดยได้มีการสกัดแยก สารโบทูลินัม ท็อกซิน เพื่อศึกษากลไกการทํางานของสารพิษชนิดนี้ โดยพบว่าสารพิษจะไปสกัดกั้นการหลั่งของสารสื่อประสาทอะซิทิลโคลีน (acetylcholine) จากปลายประสาทในกล้ามเนื้อลาย เนื่องจากในภาวะปกติ กล้ามเนื้อจะทํางานตามการสั่งงานจากเซลล์ประสาท แต่เมื่อเซลล์ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ กล้ามเนื้อจึงขาดการรับรู้การสั่งงานจากเซลล์ประสาท ทําให้กล้ามเนื้อไม่มีการหดตัว เกิดการคลายตัว หรือเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อส่วนนั้น
โดยทั่วไป การฉีดโบท็อกซ์เพื่อความงาม จะนิยมทําในสามส่วน คือ ส่วนเหนือคิ้ว (Upper third
treatment) ส่วนบริเวณตีนกา (Mid and lower thirds treatment) และส่วนด้านล่างของปากและลําคอ (Lower third and neck)
โบท็อกซ์เป็นสารที่มีความปลอดภัยในด้านความสวยความงาม หากมีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่บางครั้งอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลังการฉีด เช่น รอยช้ำ ปวดหัว หรือผิวหนังแห้งในบริเวณที่ดี บางครั้งอาจมีอาการเปลือกตาหย่อน เปลือกตาล่างแบะออก ตาสองข้างมองไปคนละทิศ และการที่กล้ามเนื้อติดกันหรือคิ้วผิดตําแหน่ง
……………………………………………………………
หลังจากที่มีการศึกษาจนทราบกลไกการทํางานของสารโบทูลินัม ท็อกซิน จึงเริ่มมีความพยามยามที่ จะใช้สารชนิดนี้ในการรักษาทางการแพทย์ โดยในครั้งแรก มีความพยายามนํามาใช้ในการรักษาภาวะผิดปกติในกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อตา ซึ่งทําให้เกิดอาการตาเหล่ ตาเข และ โรคไข้แหงน (dystonia) ซึ่งเป็นอาการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ ทําให้อวัยวะผิดรูป ในปี พ.ศ. 2535 จึงได้มีการนํามารักษาโรคอื่นๆ เช่น โรค เหงื่อออกมากผิดปกติ โรคไมเกรน และอาการปวดหลังส่วนล่าง
เนื้อหาโดย Dodeden.com
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่