โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เนื่องจากเนื้อกระดูกบางลง เป็นสาเหตุของกระดูกหัก หรือยุบตัวได้ง่าย ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพสําคัญที่พบบ่อย และเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะชาวเอเชียและคนผิวขาว ที่มีการเริ่มต้นสูญเสียเนื้อกระดูกเร็วกว่าชาวผิวดํา
นอกจากนี้ โรคกระดูกพรุน ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดประจําเดือน เนื่องจากที่การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูก หักได้บ่อย ดังนั้น สตรีวัยหมดประจําเดือนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวร่วมด้วย น่าจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนมากที่สุด
โรคกระดูกพรุน เป็นปัญหาโรคเรื้อรัง 3 อันดับแรก ที่สมควรได้รับการพิจารณาว่ามีความสําคัญ เนื่องจากเป็นโรคที่บั่นทอนสุขภาพ ทําให้คุณภาพชีวิตด้อยลง และเสียชีวิตเร็วกว่าที่ควรจะเป็น เพราะกระดูก เป็นอวัยวะที่สําคัญมีทําหน้าที่หลัก คือ เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ทําให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ ช่วยป้องกันอวัยวะภายในร่างกายที่สําคัญ เช่น ปอด สมอง เป็นต้น และยังเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดชนิดต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บสะสมและปล่อยแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสเฟต
เนื้อกระดูก ประกอบด้วยแร่ธาตุชนิดต่างๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นธาตุแคลเซี่ยมประมาณร้อยละ 90 นอกจากนั้น ประกอบด้วยโปรตีน และน้ำ ดังนั้น แคลเซี่ยมจึงเป็นแหล่งแร่ธาตุที่สําคัญที่จําเป็นต่อสุขภาพของกระดูก กระดูกทั่วร่างกายจําแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ กระดูกเนื้อแน่น (compact) เป็นกระดูกห่อหุ้มอยู่ด้านนอก ลักษณะแน่น มีหน้าที่รับน้ำหนัก และ กระดูกเนื้อโปร่ง (trabecular) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านใน มีลักษณะ โปร่ง ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญของกระดูก โดยทั่วไปแล้วกระดูกทั่วร่างกายทั้งหมด ประกอบด้วย กระดูกเนื้อแน่นประมาณร้อยละ 80 ถึง 85 และกระดูกเนื้อโปร่งประมาณร้อยละ 15 ถึง 20 นอกจากนี้แล้วกระดูกยังประกอบด้วยเซลล์จํานวนมากมาย และมีความสําคัญในการทําหน้าที่ต่างๆ เช่น เซลล์ออสทีโอบลาส เป็นเซลล์หลักของกระดูกในการทําหน้าที่สร้างกระดูก และเซลล์ออสทีโอคลาส มีหน้าที่ทําลายกระดูก เป็นต้น
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจําเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง ทําให้วงจรการทําลายและสร้างกระดูกเกิดบ่อยขึ้น โดยเซลล์ทําลายกระดูกจะทําหน้าที่มาก กว่าเซลล์สร้างกระดูก ทําให้มีการสูญเสียเนื้อกระดูกในอัตรารวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ พบว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน จะยับยั้งไม่ให้วงจรการทําลายและสร้างกระดูกเกิดบ่อยเกินไป และรักษาสมดุลในการทําหน้าที่ของเซลล์ทําลายเนื้อกระดูกและเซลล์สร้างกระดูก ดังนั้น การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยหมดประจําเดือน จึงมีส่วนสําคัญในการทําลายกระดูก โดยเฉพาะกระดูกเนื้อโปร่ง ซึ่งมีความไวต่อการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยที่ตําแหน่งของกระดูกในแต่ละที่จะมีปริมาณกระดูกเนื้อแน่น และกระดูกเนื้อโปร่งแตกต่างกัน เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อสะโพก และกระดูกข้อมือ เป็นต้น จะมีปริมาณกระดูกเนื้อโปร่งมากกว่าตําแหน่งอื่น ซึ่งกระดูกเนื้อโปร่ง จะมีการสลายได้ง่าย และมากกว่ากระดูกเนื้อแน่น จึงทําให้กระดูกส่วนต่างๆ ดังกล่าวเปราะบาง เกิดภาวะกระดูกทรุดตัว ยุบตัวลง และเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักง่าย ซึ่งความหนาแน่นของเนื้อกระดูกมีความสําคัญมาก ที่ช่วยบ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกระดูก โดยความหนาแน่นของเนื้อกระดูก และการเกิดโรคกระดูกพรุนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย และทุกกลุ่มอายุ แต่ลักษณะการเกิดโรคกระดูกพรุนจะมีความแตกต่างกันไป
โรคกระดูกพรุนไม่แสดงอาการแบบทันทีทันใด อาการแสดงจะเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ อาการแสดงในระยะแรกของโรคกระดูกพรุนนั้น เนื้อกระดูกจะเริ่มเปราะบางลง อาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น อาการแสดงต่างๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเนื้อกระดูกลดลงไปมาก จนกระทั่งกระดูกขาดความแข็งแรงและทนทาน เกิดการแตกหัก และยุบตัวลง จึงจะปรากฏอาการให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถประเมินได้จากอาการแสดงของโรคกระดูกพรุนได้ดังนี้
กระดูกหัก
เป็นอาการสําคัญ กระดูกจะหักบริเวณส่วนที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ เป็นต้น
อาการปวด
เป็นอาการสําคัญที่พบบ่อย คือ อาการปวดบริเวณที่มีความผิดปกติ มักเกิดกับกระดูกที่ต้องรับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อสะโพก เป็นต้น อาการของกระดูกพรุนบริเวณกระดูกสันหลังปวด ไม่มีตําแหน่งชัดเจน สามารถอธิบายจากการปวดกล้ามเนื้อ ปวด เอ็น ทําให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง
กระดูกส่วนต่างๆ ผิดรูปร่าง
ได้แก่ การทรุดตัวของกระดูกสันหลัง ทําให้เกิดหลังค่อม มีอาการจุ่มงอของกระดูกสันหลังส่วนบน ทําให้เกิดเป็นสันนูน และส่วนสูงลดลง ทําให้เกิดอาการแน่นท้อง หรือท้องผูก และการทํางานของปอดไม่ปกติ เพราะอาการหลังค่อมทําให้ทรวงอกสั้นลง และแคบ ทําให้พื้นที่ในช่องท้องลดลง จึงเกิดอาการต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งอาการแสดงของโรคกระดูกพรุนจะสามารถทราบได้ชัดเจนเมื่อมีการสูญเสียเนื้อกระดูกมากแล้ว แต่สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้อย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกที่ยังไม่เกิดอาการ หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
บริโภคเคลเซียมสูง
เนื่องจากแคลเซี่ยม เป็นส่วนประกอบที่สําคัญในการสร้างเนื้อกระดูก และป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูก เราจึงควรบริโภคแคลเซียมสูงปริมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม เช่น นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต ไอศกรีม เป็นต้น ซึ่งในน้ำนมจะมีปริมาณแคลเซียมสูง และอยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที นอกจากนี้ อาหารจำพวก ปลาเล็กปลาน้อย ปลาไส้ตัน กุ้งฝอย กุ้งแห้ง เต้าหู ถั่วเหลือง งาดํา ผักคะน้า มะเขือพวง และบล็อกเคอรี่ ก็ยังมีแคลเซี่ยม ในปริมาณมากอีกด้วย
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์จํานวนมาก
เนื่องจากสารกลูคากอน ที่เกิดจากการเผาผลาญจากสารอาหารโปรตีน จะทําให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น การทานอาหารเหล่านี้จํานวนมาก จึงทําให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด
เนื่องจากอาหารรสเค็มมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อร่างกายได้รับโซเดียม จะทําให้ร่างกายขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้น และขับแคลเซี่ยมตามออกมาด้วย จึงทําให้การสูญเสียแคลเซี่ยมจากร่างกายทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
เนื่องจากน้ำชา และกาแฟ มีส่วนประกอบของคาเฟอีน ซึ่งคาเฟอีนจะทําให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
••••••••••••••••••••••••••••••
นอกจากนี้ การออกกําลังกาย หรือการทํางานใช้แรง และถูกแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้กระดูกดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น สามารถชะลอการสูญเสียเนื้อกระดูก ช่วยในการสร้างเนื้อกระดูก เพิ่มการดูดซึมแคลเซี่ยมจากอาหาร และเพิ่มการสะสมของแคลเซียมในกระดูก ทําให้กระดูกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น อย่าลืมออกกําลังกายเป็นประจำ และเลือกให้เหมาะสมกับวัย เพื่อความแข็งแร็งของกระดูกและสุขภาพที่ดีค่ะ 🙂
เนื้อหาโดย Dodeden.com